การต่อสู้เพื่อ #พื้นที่ชีวิตกลุ่มคนเย็บผ้า (บางบอน) “จากคนงานที่ถูกเลิกจ้าง มาเป็นคนของกิจการเอง” #กลุ่มคนงานสมานฉันท์

กลุ่มสมานฉันท์   เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนงาน  บริษัท เบด แอนด์ บาธ    ซึ่งถูกเลิกจ้างจากบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์เนมส่งออก  เช่น  ไนกี้  อดิดาส  แก็ป  อัมโบร   รีบอก  ฯ   ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่มีหลักจรรยาบรรณด้านแรงงานและขบวนการผลิตที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด    แต่กระบวนการผลิตกับเอาเปรียบและกดขี่     และสุดท้ายก็ปิดโรงงานลอยแพคนงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชย    ทำให้คนงานลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเองทั่งๆ ที่กฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าสิทธิของคนงานหลังถูกเลิกจ้างควรจะได้รับอะไรบ้าง!

.

กลุ่ม ฯ คนงานต่อสู้กับการใช้แนวทางของกฎหมายที่มีอยู่เป็นเวลาสามเดือนกว่า  ได้ข้อสรุปและยุติการชุมนุมลง คนงานหลายๆ คนเข็ดหลาบและไม่กล้าพอที่จะหันหน้ากลับคืนสู่ประตู่โรงงาน จึงรวมตัวกันจัดตั้งโรงงานของคนงาน ใช้  ชื่อว่า โรงงานกลุ่มสมานฉันท์ Solidarity Group  ภายใต้สโลแกนที่ว่า  “โรงงานของคนงาน โดยคนงาน    เพื่อคนงาน”

.

กลุ่ม ฯ ดำเนินการและล้มลุกคลุกคลานเป็นระยะเวลา 16 ปี ต้องฝันฝ่าอุปสรรค และต่อสู้กับการแข่งขัน สู้กับตลาดเสื้อผ้าราคาถูก จากจีน จากตลาดโบเบ้ บางครั้งก็มีรายได้ บางครั้งก็ไม่มีรายได้   สมาชิกที่ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มรุ่นแรกๆ  ไม่สามารถมีรายได้เพียงพอต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น  จึงแยกย้ายไปทำงานที่อื่น เหลือผู้ร่วมก่อตั้งเพียง 9 คน แต่ด้วยงานที่ผลิตเป็นสิ้นค้าที่มีคุณภาพทำให้เพื่อน ๆ ทั้ง 9 คน สามารถขยายการผลิตและมีสมาชิกเพิ่ม ปัจจุบัน จำนวน 30 คน ( รวม กรรมการ )  ขยายการเช่าตึกเพิ่มพื้นที่ทำการผลิตและทำเป็นที่พักของสมาชิก  โดยการเก็บเฉพาะค่าน้ำ ค่าไฟ เพื่อให้ทุกคนมีรายได้เหลือพอในการส่งให้ครอบครัว

.

การแก้ไขปัญหาในระหว่างการดำเนินงานกลุ่ม  ๆ   มีการลดเงินเดือนบางครั้งที่ไม่มีงาน ก็ช่วยกันลดค่าใช้จ่าย เช่น การปลูกผักกินเอง  แต่ต้องล้มเลิกไปเพราะเจ้าของตึกยกเลิกสัญญาเช่า  พอมีรายได้ก็ส่งเงินไปปลูกข้าวที่ต่างจังหวัด เมื่อได้ข้าวก็ส่งมากินที่กลุ่ม   คัดแยกขยะเพื่อขายเป็นกองทุน  ( เศษผ้า ,ถุงพลาสติก ,ขวด,หลอดด้าย,กระดาษ )

.

สิ่งที่เป็นความคาดหวังของกลุ่ม ฯ คือการทำธุรกิจเพื่อสังคม โดยการคำนึงถึงคุณภาพของงานที่ต้องส่งถึงลูกค้า   สุขภาพของสมาชิก และการกระจายรายได้ให้กับ คนรับงาน  ผู้หญิง ผู้สูงอายุ  และเด็ก ๆ ช่วงปิดเทอม  การใช้เวลาว่างในการสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่ม และชุมชน การใช้กิจกรรมปลูกผักเป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดความเครียด ของคนเย็บผ้า

.

ปัจจุบันนี้ สมาชิกมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม และใช้เป็นพื้นที่แห่งความสุขเพื่อสร้างต้นทุนของชีวิต ต่อยอดรายได้และลมหายใจของคนเย็บผ้า และสร้างพื้นที่ต้นแบบให้กับคนเย็บผ้าในเมืองในการใช้พื้นที่จำกัด (บนดาดฟ้า)

.

สามารถติดตามเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่ชีวิตกลุ่มคนเย็บผ้า (บางบอน) เพิ่มเติมได้ที่.

https://thaicityfarm.com/2020/02/07/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7/

 

#สวนผักคนเมือง

#ปลูกเมืองปลูกชีวิต

#มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนประเทศไทย