ปลูกผักเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ สร้างเสริมสุขภาวะพนักงานในองค์กร @ลัคกี้เฟลม

เมื่อเอ่ยชื่อ “ลัคกี้เฟลม” เชื่อได้เลยว่าทุกท่านน่าจะคิดถึง เตาแก๊สคู่ครัวคนไทยมานานกว่า 40 ปี ตามสโลแกน “จุดประกายความสุขทุกครัวเรือน” นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 สวนผักคนเมืองมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับบริษัท ลัคกี้เฟลม จำกัด มากขึ้น ผ่านการได้เร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น วิสัยทัศน์ เป้าหมายของการขับเคลื่อนองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของบุคลากรในกลุ่มวัยทำงานทุกกลุ่ม ด้วยความรักและความผูกพันธ์กับองค์กรของพนักงาน ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่อยู่กับองค์กรมาตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้ง และอีกมากที่อยู่เคียงข้าง/พัฒนาบริษัทร่วมกันมามากกว่า 20 ปี พนักงานในบริษัททุกคนจึงเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว นโยบายสำคัญนอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ยังให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาวะของพนักงานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการสำรวจความปัญหาสุขภาพของพนักงาน จำนวน 353 คน พบว่า ส่วนใหญ่ก็ยังมีปัญหาสุขภาพ อาทิ เกิดภาวะลงพุง คิดเป็น 44% น้ำหนักเกิน คิดเป็น 20.96% โรคอ้วน คิดเป็น 35.69% บริโภคอาหารหวาน,ไขมัน มีความเสี่ยงปานกลาง 53% อาหารเค็ม 73% นอกจากมาตรการมาตรการส่งเสริมสุขภาพสู่พฤติกรรมในการดูแลตัวเองเชิงป้องกัน(ส่วนบุคคล) การสร้างเสริมสุขภาพดีวิถีใหม่ด้วยหลัก 3อ 2ส 1ฟ 1น :อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอที่บริษัทเริ่มดำเนินการมา ก็ยังคงพยายามพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานไปพร้อมกัน เพราะจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อราคาอาหาร ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้พนักงานต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า จะมีพนักงานส่วนหนึ่งเกษียณอายุจากบริษัท

เป้าหมายสำคัญของการเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่อาหารของเมืองเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนเมืองที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงพยายามบูรณาการให้การทำสวนผัก หรือการสร้างพื้นที่อาหารเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างรอบด้าน อาทิ

1.สร้างการเรียนรู้ พัฒนาทักษะชีวิตด้านการพึ่งตนเองด้านอาหาร เพื่อการบริโภคอาหารปลอดภัย การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน การส่งเสริมให้เกิดอาชีพทางเลือก อาชีพของพนักงานวัยเกษียณจากให้มีความรู้ ทักษะเกษตร เตรียมความพร้อมสร้างโอกาสทางอาชีพ และรายได้ตามแนวทางที่สอดคล้องกับการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีใดๆ เพื่อการปลูกผักหลากหลายชนิดและมุ่งเน้นการพึ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิต การพึ่งตนเองด้านอื่นๆ ให้มากที่สุด

2.การทำเกษตร/พื้นที่อาหาร เป็นกิจกรรมการส่งเสริมสถขภาพทางร่างกาย และจิตใจให้กับพนักงาน

3.กิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน การพัฒนาศัยภาพความเป็นผู้นำ การวางแผน บริหารจัดการโครงการให้บรรลุเป้าหมายร่วมของพนักงาน องค์กร และแหล่งทุน

4.พัฒนาและปรับภูมิทัศน์ขององค์กร ให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น จากการใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ และเชื่อมโยงกับการหนุนเวียนทรัพยากรมาใช้ให้เกิดคุณค่ามากขึ้น

ซึ่งการดำเนินงานนี้ เริ่มด้วยแกนนำ 34 คน จาก 8 แผนก (ฝ่ายโรงงาน,ส่วนผลิต,ส่วนวิศวกรรม,แผนกซ่อมบำรุง,ส่วนควบคุมคุณภาพ,ฝ่ายบุคคลและธุรการ,ฝ่ายวิจัยและพัฒนา) มาร่วมกันออกแบบ วางแผนการทำงาน เรียนรู้จากวิทยากร ทีมพี่เลี้ยง และโครงการสวนผักคนเมือง เพื่อนำความรู้ และประสบการณ์ไปลงมือพัฒนาพื้นที่อาหารในองค์กร และถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานอื่นๆ ที่สนใจ โดยเริ่มจาก

  • อาจารย์เติ้ล ชวนวิเคราะห์ลักษณะของพื้นที่ ลักษณะของดิน เพื่อออกแบบการวางผัก รูปแบบการทำแปลง วิธีการปรับปรุงดิน และการเลือกชนิดผักที่เมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งพบว่า ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีโอกาสน้ำท่วมและน้ำใต้ดินซึมขึ้นมา อาจส่งผลทำให้รากเน่า บริเวณรอบข้างเป็นป่าไมยราบ ซึ่งเป็นที่อยู่ของศัตรูพืช เช่น หอย แมลง ลักษณะดินเป็นดินเหนียวปนทราย ดินเปรี้ยวจัด ภาพรวมของการจัดการ จึงควรเป็นควรยกแปลงให้สูงป้องกันรากเน่า ป้องกันวัชพืช และใช้ดินเดิมในพื้นที่ผสมหมักดินใหม่กับวัสดุอินทรีย์ และให้ใส่โดโลไมท์และใส่แกลบดิบผสมหมักไว้ เพื่อปรับปรุงดินเปรี้ยว
  • สมาชิกจึงร่วมกันพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่ระยะเริ่มต้น ขนาด 400 ตามรางเมตร การทำแปลงผักผหลากหลายรูปแบบ ทั้งแปลงยกพื้น แปลงปลูกบนดินจากวัสดุเหลือใช้ ขนาดของแปลง กว้าง 1.2 เมตร x ยาว 2 – 3 เมตร เลือกความยาวตามขนาดที่เหมาะกับพื้นที่แต่ละโซน นอกจากนั้นผสมด้วยการปลูกผักในภาชะ การทำค้างผัก โดยใช้สูตรการปรับปรุงดิน ด้วยดินใบก้ามปู ผสมกับขี้วัว แกลบ มะพร้าวสับ โดยค่อยๆ ทะยอยปรับปรุงพื้นที่ เตรียมแปลง เตรียมดิน เพาะกล้าผัก เตรียมย้ายลงปลูกไปเรื่อยๆ เพื่อให้มีผลผลิตผักให้เก็บเกี่ยวอย่างต่อเนื่อง
  • เรียนรู้เกี่ยวกับการหมุนเวียนชนิดผักที่เหมาะสมกับฤดูการ ลักษณะดิน ผักคู่หู – คู่อริ รวมถึงการทำปัจจัยการปลูกผัก เช่น ดินหมัก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จากทีมวิทยากรที่ลงพื้นที่ไปติดตาม ให้คำแนะนำ โดยสวนผักแห่งนี้เลือกชนิดผักที่หลากหลาย มีการปูลกผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน ผักยืนต้นจำนวนมาก เพื่อลดเวลาในการดูแล ปลูกแล้วสามารถเก็บเกี่ยวได้เรื่อยๆ ดูแลง่าย ทนกับสภาพอากาศ เช่น กล้วย มะละกอ มะเขือเปราะ มะเขือพวง ข่า ตะไคร้ ใบเตย มะกรูด มะม่วงหาวมะนาวโห่ มะม่วง ต้นแค มะขาม ชะอม กะเพรา โหระพา แมงลัก ไชยา ผักปลัง ถั่วฝักยาว ผสมกับผักอายุสั้น ผักกินใบ เช่น ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ผักชี สลัด เป็นต้น

นับตั้งแต่การเริ่มต้นเรียนรู้ ลงมือ ลงแรงปรับปรุง พัฒนาพื้นที่ เตรียมดิน และการเพาะปลูกเมื่อต้นเดือนกันยนยน 2565 เดือนตุลาคมถัดมา สมาชิกก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากพื้นที่อาหารไปแบ่งปันเพื่อนำไปทำอาหารทานที่บ้าน มีกิจกรรมรวมกลุ่มกันช่วงเช้าและเย็น เพื่อรดน้ำ ดูแลแปลงผัก ถอนหญ้าทุกวัน แต่หากเป็นกิจกรรมเตรียมแปลง เตรียมดิน หรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงและเวลาค่อนข้างเยอะ ก็จะมีการนัดรวมพลกันในวันหยุดมาทำกิจกรรมในแปลงด้วยกัน ตลอดจนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ Morning talk,ติดบอร์ด,Line เปิดพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้

ในแต่ละเดือนสมาชิกสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตผักหมุนเวียนไปได้อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 10 ครั้งต่อเดือน แต่ปัญหา/อุปสรรคของการทำเกษตรในเมือง การผลิตอาหารของกลุ่มก็ยังมีเข้ามาต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพที่ยังคงต้องทำอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหาแมลง ศัตรูพืช ซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับนักปลูกมือใหม่ แต่พวกเขาก็ไม่ย่อท้อที่จะเรียนรู้ ทดลอง แก้ไขปัญหา และพัฒนาให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งเรื่องการเพาะปลูก และการบริหารจัดการโครงการไปสู่เป้าหมายแบบเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ของเพื่อนพนักงาน

ซึ่งทางผู้บริหารและฝ่ายนโยบาย ก็เห็นถึงความมุ่งมั่นและผลงานที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ว่าพื้นที่อาหารนี้ได้ช่วยสนับสนุนการสร้างการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะทั้งในด้านการเกษตร การพึ่งนสเองด้านอาหาร และการพัฒนาบุคลากรขององค์กรเป็นอย่างมาก จึงสนับสนุน เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานในการพัฒนางานด้านพื้นที่อาหารอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ที่งบประมาณโครงการไม่สามารถสนับสนุนได้ ช่วยพัฒนาพื้นที่ การใช้ประโยชน์พื้นที่เพิ่มเติม สนับสนุนเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม และการเรียนรู้ร่วมกัน และเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผู้บริหารได้สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เกือบ 2 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า มาเป็นบ่อเลี้ยงปลา จำนวน 3 บ่อ เพื่อให้พนักงานได้ยกระดับการทำเกษตรในเมืองการยกระดับการพึ่งตนเองด้านอาหารที่มากขึ้น ทำให้พนักงานมึวามภาคภูมิใจที่ฝ่ายบริหารเล็กเห็นความสำคัญ และช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนงาน ที่ไม่ได้มองเป็นเพียงแค่โครงการ หรือการปล่อยให้พักงานทำงานกันตามลำพัง แต่การสร้างพื้นที่อาหารกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ฝ่ายบริหารมองเห็นถึงการบูรณาการสู่การพัฒนาศักยภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างแท้จริง จากการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และทักษะชีวิตใหม่ๆ นอกเหนือจากงานและหน้าที่ประจำ ให้พนักงานสามารถรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น และเป็นโอกาสในการลดค่าใช้จ่าย สร้างรายได้ เป็นช่องทางอาชีพในอนาคต ที่สำคัญการทำงานร่วมกัน การมีส่วนร่วมของพนักงานที่ช่วยกันออกแบบ วางแผน บริหารจัดการโครงการที่ดีรับมอบหมาย การแก้ไขปัญหาต่างๆ ยังช่วยสร้างศักยภาพ และเสริมสมรรถนะให้กับพนักงาน ที่จะเป็นกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรอย่างเข้มแข็งอีกด้วย ❤️

#สวนผักคนเมือง#พื้นที่อาหารของเมือง#ปลูกเมืองปลูกชีวิต#สำนักสร้างสรรค์โอกาส