เครือข่ายโรงเรียนชาวนา และกลุ่มฟาร์มฝันปันสุข จ.นครสวรรค์

“ในปี 2547 เรามีสมมติฐานว่า ข้าวที่อยู่ในมือของเกษตรกร มันดีแค่ไหน มันดีหรือยัง ทำไมผลผลิตมันถึงตกต่ำ ก็สุ่มตรวจดู ปรากฏว่า 400 กว่าตัวอย่าง มีดีแค่ประมาณ 4 ตัวอย่างที่เป็นพันธุ์ข้าวได้ ปรากฏว่าพันธุ์ข้าวมันกลายพันธุ์ไว จากหลายปัจจัย เช่น เมล็ดพันธุ์ปน การกลายพันธุ์ใหม่ การทำข้าวเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และก็ไปตั้งจุดเจาะเลือดที่นครสวรรค์ ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้บริโภค ปรากฏว่า น่าจะเกิน 70% ของคนที่มาตรวจเลือดสีดำ ก็คือมีสารเคมีตกค้างในร่างกายเยอะมาก จากหลายๆ ประเด็นปัญหาที่ค้นพบ ต่อมาเลยลงมติกันว่าควรจะสร้างเครือข่ายที่รวมหลายๆ ฝ่ายในการผลิตข้าวเข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน จนกลายเป็นเครือข่ายโรงเรียนชาวนา ซึ่งตอนนี้มี 102 โรงเรียนชาวนาแล้ว

เป้าหมายของโรงเรียนชาวนาคือการ ลด ละ เลิกใช้สารเคมี โดยมีธงสุดท้ายคือ ไม่ใช้สารเคมีเลย รวมถึงมีหลักสูตรการเรียนรู้ เช่น การปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน การคัดพันธุ์ข้าว การจัดการบัญชีรายจ่าย การรวมกลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ คุณจะหยิบหลักสูตรไหนมาใช้ก่อน ขึ้นอยู่กับความถนัดและทุนทางสังคมของเขา ต่อมาเราจึงสร้างพื้นที่ให้ชาวบ้านได้ขาย ได้แลกเปลี่ยนสินค้า จึงเกิดตลาด ‘ฟาร์มฝันปันสุข’ เป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้บริโภคที่อยากกินอาหารปลอดภัย และเป็นที่แสดงสินค้าที่ได้มาตรฐาน PGS นครสวรรค์ ตอนนี้ตลาดเปิดมา 5 ปีแล้ว”

— เครือข่ายโรงเรียนชาวนา และกลุ่มฟาร์มฝันปันสุข จ.นครสวรรค์บอกแบบนั้น ก่อนเสริมว่าในงาน #เทศกาลข้าวใหม่65 ทางกลุ่มมีสินค้ามากมายมานำเสนอ ทั้งข้าว ผัก ผลไม้ ไข่ ขนมครก และไอศกรีมข้าวกล้องทำจากข้าวขาวเกยไชย


.
.
#เทศกาลข้าวใหม่65
15-16 มกราคม 2565
สถานที่: มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ไทรม้า นนทบุรี