กลุ่มเราล้วนมีบรรพบุรุษเป็นชาวนากันอยู่แล้ว

“กลุ่มเราล้วนมีบรรพบุรุษเป็นชาวนากันอยู่แล้ว แต่จากที่เราปลูกข้าวไม่เคยค้นหาคุณค่าทางอาหาร ปลูกข้าวกินเพื่อประทังชีวิต กินมากันเรื่อยๆ จนกระทั่งพบปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน หมอแนะนำให้กินข้าวที่มีสี แต่ด้วยราคามันแพง เราเลยเริ่มคิดว่าปลูกข้าวกินเองจะดีกว่า

พอดีกับได้เจอกับข้าวสายพันธุ์หอมกระดังงา แต่เพราะมันน้ำตาลต่ำรสชาติจึงไม่ถูกปากตลาดเท่าไร เราเลยแบ่งข้าวหอมกระดังงากินกันในกลุ่ม พอกินไปได้พักใหญ่ก็กลับมาสะท้อนกันว่าทุกคนสุขภาพดีขึ้น จากที่เคยไม่มีแรงก็กลายเป็นมีกำลังวังชาขึ้นมา อาการเหน็บชาหายไป เราเลยตั้งโจทย์ว่าจะทำยังไงให้ตลาดเลือกกินข้าวหอมกระดังงา สุดท้ายเลยลองแปรรูปเป็นแป้งข้าว ใช้ทำเป็นเบเกอรี่ต่างๆ และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้”

— เกษตรกรและนักอนุรักษ์สายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน กลุ่มกรีนชินตา จังหวัดตรัง บอกถึงความพิเศษของหนึ่งในสายพันธุ์ข้าวที่ภูมิใจนำเสนอ ก่อนขยายความว่านอกจากนี้ยังมีข้าวอีกหลากชนิดที่พี่น้องเกษตรกรค้นพบว่าพิเศษไม่น้อยไปกว่ากัน อาทิ ข้าวนา อย่างข้าวสังข์หยด หอมเบญจรงค์ ทับทิมชุมแพ ไรซ์เบอรี่ และข้าวไร่ ได้แก่ หอมหัวบอน หอมดอกข่า ดอกพะยอม เมล็ดฝ้าย ทั้งหมดปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ยและยาเคมี พร้อมออกร้านในงาน


.