รอยยิ้ม และความสุขของชาวสวนผักคนเมือง @สวนผักคนเมืองกลุ่มซาลาเปาสมุนไพร

ในยามวิกฤตที่ผู้คนจำนวนมากมีความกังวลใจด้านสุขภาพกาย & ใจ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

แต่สำหรับสมาชิกในเครือข่ายสวนผักคนเมือง พวกเขายังมีช่วงเวลาของความสุข รอยยิ้ม เสียงหัวเราะที่เกิดขึ้นระหว่างการทำสวนผักในชุมชน
.
ความหวังในชีวิต จากการเฝ้ารอ เฝ้าปลูก เฝ้าดูแล รอคอยผลผลิตในแปลงเติบโตงอกงาม เพื่อเป็นอาหารในยามวิกฤตที่เกิดขึ้นยาวนานนี้
.


ความภาคภูมิใจ ในวันที่เก็บเกี่ยวผลผลิต บริโภคและแบ่งปันระหว่างกันของผู้คนที่ไม่ยอมปล่อยให้วิกฤตลดทอนความมั่นคงของชีวิต จากกลุ่มคน ชุมชนที่มีความเปราะบางด้านอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 วันนี้พวกเขาเรียนรู้และเริ่มลงมือทำ เพื่อจะเปลี่ยนแปลง “ความเปราะบาง”นั้นให้เป็น “ความมั่นคง” ของผู้คน ด้วยพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนเมืองและเกษตรกรรมในเมือง

.

.
เมื่อวันก่อน สมาชิกในเครือข่ายสวนผักคนเมือง เก็บเกี่ยวผลผลิตผักในแปลงรอบที่สองได้จำนวนมาก ซึ่งดูจากภาพเราจะเห็นว่า ผลผลิตของสมาชิกนั้นสวยงาม และสมบูรณ์มาก
.


สมาชิกนำผลผลิตมาจัดแบ่งเป็นชุดๆ และแบ่งปันให้กับสมาชิกในชุมชน โดยเฉพาะในกลุ่มคนเปราะบาง คนตกงาน ผู้สูงอายุได้มีผักนำไปปรุงอาหารทานที่บ้าน ช่วยเหลือด้านการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารในครั้ัวเรือน ให้ในวิกฤตอาหารนี้คนเมือง คนเปราะบางก็ยังสามารถเข้าถึงอาหาร มากกว่า 30 คน โดยเฉพาะในกลุ่มคนเปราะบาง คนตกงาน ผู้สูงอายุได้มีผักนำไปปรุงอาหารทานที่บ้าน ช่วยเหลือด้านการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารในครั้ัวเรือน ให้ในวิกฤตอาหารนี้คนเมือง คนเปราะบางก็ยังสามารถเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะ


.

ผ่านไปหนึ่งวัน กลุ่มคนที่ได้รับผลผลิตผักกลับไปปรุงอาหารที่บ้าน ก็ส่งรูปเมนูอาหารจากผักที่ได้รับ กลับมาให้คนปลูกผักได้ภูมิใจ ยิ้มจนแก้มปริเลยทีเดียว ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า จากผักเพียงแต่ 2 ชนิด คนเมืองสามารถนำกลับไปปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู เราจึงได้สอบถามสูตรอาหารจากสมาชิกในชุมชนมาแบ่งปันให้กับผู้อ่านด้วย
.

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เกษตรในเมือง สวนผักชุมชน ได้นำพาคนเมือง กลุ่มคนเปราะบางเดินทางไปเรียนรู้ว่า “อาหารที่ดี ย่อมมาจากการเพาะปลูกที่ดี เกษตรในเมืองเพื่อการพึ่งตนเองด้านอาหาร และความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชนเมือง ทำให้เราได้ย้อนกับมาดูแล ฟื้นฟู ผืนดิน แหล่งน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีชีวิต เพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญสำหรับการเพาะปลูกให้พืชผักเติบโตอย่างสมบูรณ์ แข็งแรง และกลับมาเป็นอาหารที่ดีมีคุณภาพ มีพลังชีวิต เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตของเรา ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในวิกฤตเช่นนี้ ”

เกษตรในเมืองกับการยกระดับความมั่นคงทางอาหารในเมือง (Urban food security)แนวคิดนี้มองเกษตรในเมืองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะหนุนเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในเมือง กล่าวคือ (1) การมีแหล่งอาหารอยู่ (food available) ซึ่งโยงถึงเรื่องการมีความสามารถในการพึ่งตนเองได้ทางอาหารทั้งยามปกติและยามวิกฤติ (2) การเข้าถึงอาหาร (food accessibility) ซึ่งโยงถึงเรื่องการกระจายอาหาร และ (3) การมีอาหารให้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ (food stability) รวมถึง 4.การใช้ประโยชน์ในอาหาร (food utility) หรือ การได้บริโภคอาหารที่มีโภชนาการ เช่น สด ปลอดภัย มีคุณภาพที่ดี มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย สร้างเสริมสุขภาวะที่ดี และรู้แหล่งที่มา

เกษตรในเมืองกับการยกระดับอธิปไตยทางอาหาร (food sovereignty) แนวคิดนี้ใส่ใจต่อสิทธิในการเข้าถึงอาหาร (right to food) ของกลุ่มคนจนเมืองและคนชายขอบ เช่น คนป่วย คนชรา และคนพิการเป็นพิเศษ รวมถึงสิทธิในการถึงอาหารปลอดภัยหรืออาหารที่เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของชนชั้นกลาง ซึ่งล้วนได้รับความไม่เป็นธรรมจากระบบการค้าอาหารโลก เช่นจากการเปิดเสรีการค้า และบรรษัทอาหารข้ามชาติ เป็นต้น

เกษตรในเมืองกับการสร้างห่วงโซ่อาหารที่เป็นธรรมของคนเมือง (fair urban food chain) บทบาทของเกษตรในเมืองนับว่ามีความสำคัญในมิตินี้ในแง่ที่ย่นย่อการระยะทางของอาหาร (food miles) และทำให้ห่วงโซ่อาหารทั้งเรื่องการผลิต การขนส่ง การตลาด และการบริโภคสั้นลงและเป็นธรรมมากขึ้น จากการตัดห่วงโซ่ที่ไม่จำเป็นของผู้แสวงหาประโยชน์ (rent seekers) ออกไป อีกทั้งทำให้แต่ละห่วงโซ่มีโอกาสรู้จักกันมากขึ้น

เกษตรในเมืองในการเพิ่มความยืดหยุ่นของเมืองเพื่อการปรับตัวต่อวิกฤติและการเปลี่ยนแปลง (Adaptation to crisis and changes) เกษตรในเมืองสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นของเมืองได้ในหลายลักษณะ เช่น ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเมืองเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อันสืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน กล่าวคือเกษตรในเมืองสามารถช่วยทำให้มีอาหารสำรองที่มีโภชนาการยามฉุกเฉินได้ อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นข่ายความปลอดภัยจากวิกฤติเศรษฐกิจในครัวเรือนที่มักเกิดขึ้นตามมากับภัยพิบัติ นอกจากนี้พื้นที่เกษตรในเมืองยังช่วยลดผลกระทบจากน้ำไหลบ่าจากที่สูง ช่วยกักและชะลอน้ำที่อาจท่วมฉับพลันได้ ที่สำคัญการผลิตอาหารในเมืองยังช่วยลดพลังงานในการขนส่งอาหาร การอุ่น การเก็บรักษา และการบรรจุหีบห่อ อีกทั้งยังเอื้อต่อการจัดการของเสียในเมือง และทำให้เกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่ามากที่สุดเช่นการนำน้ำเสียกลับมาบำบัดใช้ใหม่อีกครั้ง

เกษตรในเมืองกับการพัฒนาเครือข่ายทางสังคม (social network)ฐานสำคัญของเครือข่ายทางสังคมคือเรื่องการขับเคลื่อนร่วมกัน ระหว่างตัวแสดงต่างๆ ในลักษณะที่ต่างฝ่ายต่างมีความอิสระแต่มาพึ่งพาอาศัยกัน ด้วยการมามีส่วนร่วมในการผลักดันกิจกรรมร่วมกัน โดยเกษตรในเมืองจะมุ่งเน้นการพัฒนาเครือข่ายทางสังคม เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายการผลิตและการกระจายอาหารเป็นสำคัญ ซึ่งเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็งก็จะมีส่วนช่วยสร้างความสนิทสนม ความไว้เนื้อเชื่อใจ และการพึ่งพากันให้เกิดขึ้นในสังคม

มาเริ่มต้นปฎิบัติการเพื่อความมั่นคงทางอาหารด้วยตัวคุณเอง!!

สูตรอาหารจากสวนผักคนเมือง

ต้มจับฉ่าย คุณยายนวลจันทร์

ส่วนประกอบ
-ผักจากสวนผักคนเมือง 1 กก
-กระดูกหมูอ่อน 500 กรัม
-หมูสามชั้น 500 กรัม
-เห็ดหอม 10 ดอก

วิธีทำ
1.ลวกกระดูกหมู แล้วนำไปต้ม
2.ล้างผัก หันผัก ลวกน้ำ พักไว้
3.ผัดเห็ดหอม กระเทียม ผัดผัก
4.เทใส่หม้อ ต้มต่อ ปรุงรสตามชอบ

.

ผัดผักกาดขาวคุณวัทนา

ส่วนประกอบ
ผักกาดขาวจากสวนผักคนเมือง 3 ต้น
ไข่ไก่ 3 ฟอง
ซอสหอยนางรม
น้ำมันพืช
กระเทียม

วิธีทำ
1.ล้างผักให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นพอประมาณ
2.สับกระเทียม
4.ตั้งกะทะ ใส่กระเทียมลงไป เจียวให้หอม แล้วเอาผักลงกะทะ ผัดพอประมาณ
5.ใส่น้ำตาล1ช้อนชา ใส่น้ำมันหอย 1ช้อนชา ชิมรส ตามใจชอบ แล้วใส่ไข่ ลงไป ผัดจนสุก

.

เเกงส้มแกงส้มผักกาดขาว คุณเพ็ญนภา

ส่วนประกอบ
-ผักกาดขาวสวนผักคนเมือง
-ปลาทอด
-พริกแกงส้ม
-น้ำซุป
วิธีทำ
-โขลกพริกแห้งเม็ดใหญ่กับเกลือป่นพอเข้ากันตามด้วยกระชาย หอมแดงและกะปิโขลกให้เข้ากันดี
-ต้มน้ำให้เดือดนำพริงแกงที่โขลกไว้ใส่ลงไปแล้วคนให้พริกแกงแตกตัว
-ปรุงรสด้วยน้ำตามปีบ น้ำปลา น้ำมะขามเปียกคนให้เข้ากัน ปรุงรสตามชอบพอเดือดใส่ผักลงไป
-พอเดือดอีกทีปิดเตา ถ้าชอบเปรี้ยวใส่น้ำมะนาวเพิ่มก็ได้ ตักเสิร์ฟพร้อมปลาทอดค่ะ

.

ต้มผักกาดเขียว ต้มกระดูกหมูอ่อน คุณสุนันทา

ส่วนประกอบ
ผักกาดเขียว 3 ต้น
กระดูกหมูอ่อน 1 กก
น้ำซุป 2 กก

วิธีทำ ไม่ให้ขม มีดังนี้
-ล้างกระดูกอ่อนให้สะอาด แล้วต้มให้ นิ่ม ประมาณ 1 ชั่วโมง
-ล้างผักให้สะอาด นำไปต้มน้ำทิ้งประมาณ 15 นาที นำขึ้นมาล้างน้ำเย็น พักไว้
-ตีกระเทียมเจียวให้หอมแล้วนำผักที่พักไว้ลงผัดกับกระเทียมให้เข้ากัน
-ผัดเข้ากันเสร็จ นำทั้งลงในน้ำต้มกระดูกอ่อน ปรุงรสตามความชอบ ต้มต่ออีก 20 นาที เป็นอันรับประทานได้ กินกับข้าวสวย ร้อน อร่อยมาก ค่ะ
.

ผัดผักกาดขาว คุณแจ่มศิริ

ส่วนประกอบ
ผักกาดขาว 3 ต้น
เนื้อหมู 1 กก
ซอสหอยนางรม ตามชอบ
น้ำมันพืช เล็กน้อย

วิธีทำ
-หมักหมูใส่น้ำมันหอย ซีอิ้วขาว1ช้อนชาทิ้งไว้ 20นาที
-ตั้งกระทะ ใส่กะเทียมเจียวให้หอม
-ใส่หมูทีหมักไม่ต้องนานเดียวหมูจะเหนียวใส
-ใส่ผักกาดขาวลงไปผัดนิดหน่อย ผักจะกรอบอร่อย

.

แกงผักกาดเขียว ใส่ไก่บ้าน คุณจีรนันท์

ส่วนประกอบ
ผักกาดเขียวปลี 3 ต้น
ไก่บ้าน 1 ตัว
เครื่องแกง 100 กรัม
น้ำซุป 1 ลิตร
น้ำมันพืช เล็กน้อย

วิธีทำ
1 นำไก่บ้านมาล้างน้ำเกลือ สับไก่เป็นชิ้น สะเด็ดน้ำไว้
2 นำน้ำมันตั้งกะทะ ใส่พริกแกงเหนือ
3.ผัดพริกพอหอม แล้วใสไก่ ผัดต่อไปจนไก่สุก แล้วนำผักลงไปผัดเล็กน้อย เติมน้ำซุป
4.ปรุงรสด้วยน้ำปลา ตามชอบ เสริฟกับข้าวสวยร้อนๆค่ะ

.