สวนผักในชุมชนคนจนเมือง เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง ให้เป็นสวนผักความมั่นคงทางอาหาร

เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในระหว่างการล็อคดาวน์ที่ผ่านมา 2 – 3 อาทิตย์แล้ว หนึ่งในชุมชนแรกที่ออกมาเรียกร้องถึงการเยียวยา อย่างชุมชน San Roque

ชุมชนนี้ตั้งอยู่ที่ถนน Agham โดยสมาชิกประกอบไปด้วยคนจนเมือง บ้างก็เป็นสมาชิกกลุ่ม Kadamay และ กลุ่ม Save Roque ที่เป็นองค์กรที่เรียกร้องสิทธิที่ก้าวหน้ามากขึ้นในความปลอดภัยของที่อยู่อาศัยของคนไร้บ้าน

อย่างไรก็ตาม แทนที่พวกเขา 21 ชุมชนที่เป็นสมาชิกจะได้รับการเยียวยา พวกเขากลับโดนสั่งให้ต้องกักตัวภายใต้ภาวะฉุกเฉิน

เกือบครบปีแล้วตั้งแต่มีการจับกุมและ ขณะนี้ประเทศได้รับตำแหน่ง “ประเทศที่ล็อกดาวน์ที่ยาวที่สุดในโลก” แต่ชุมชนยังคงต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดจากโรคระบาดใหญ่

แนวทางในการรับมือการแพร่ระบาดอันเข้มงวดมากของประธานาธิบดีดูเตอเต้นั้นส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ และในผลลัพธ์ของมันก็ตกมาสู่คนจน ผู้ซึ่งเป็นแรงงานรายวันที่ต้องพลัดถิ่นมาจากบ้านเกิดของตน

เพือเป็นการตอบสนองต่อการสนับสนุนจากรัฐบาล ชุมชนคนจนเมืองที่นำโดยเหล่าผู้หญิงจากกลุ่ม Kadamay และ กลุ่ม Save Roque ได้มาร่วมกันสร้างสวนผักในเมืองที่ยึดแนวทางแบบอินทรีย์

“สวนผักชุมชนของพวกเราสร้างขึ้นมาเพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับชาวบ้านและให้การสนับสนุนเรื่องอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดอย่างหนักแบบนี้ พวกเราต้องเลี้ยงดูผู้คน แต่เราไม่มีงบประมาณสำหรับทำครัวกลางของชุมชน ดังนั้นพวกเราเลยวางแผนที่จะปลูกผัก ผลิตอาหาร เพียงเพื่อที่จะมีอะไรลงไปในท้อง” Bagasbas ผู้อาศัยใน San Roque และเป็นรองประธานกลุ่ม Kandamay กล่าวในภาษาฟิลิปปินส์

Sitio San Roque ตั้งอยู่ใจกลางเมือง Quezon และประชากรที่อาศัยอยู่ที่นี่มาตั้งแต่ยุค 1980 โดยต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามของการรื้อถอนจากการวางแผนผังเขตธุรกิจของเมือง Quezon มายาวนานมากกว่าทศวรรษ

ในปี 2019 ชาวบ้านเคยรายงานว่า พวกเขาได้รับเสนอให้ย้ายออกจากพื้นที่เพื่อแลกกับเงิน 32,000 ปอนด์ และจะได้เข้าถึงบ้านที่ดีกว่าเดิม แต่สุดท้ายหลังจากเขาทุบบ้านตนเองแล้ว เขาได้รัยเงินเพียง 5000 ปอนด์ และได้รับข้อเสนอให้ย้ายไปสถานที่ใหม่ที่ไม่มีน้ำและไฟฟ้า

นี่คือหนึ่งเหตุผลที่ถึงแม้ว่าจะมีการคุกคามอย่างต่อเนื่อง แต่คนที่อยู่อาศัยก็ยังคงยืนยันสิทธิในการอยู่อาศัยในบ้านของตน

ผู้อยู่อาศัยใน Sitio San Roque ผ่านที่ปรึกษาภายในชุมชนและด้วยทนายความและเหล่าอาสาสมัครได้จัดทำแผนพัฒนาขุมชน ที่อยู่อาศัยในเมืองและในสถานที่ต่าง ๆ

พวกเขายอมรับแผนพัฒนาชุมชน และส่งต่อให้แก่นายกเทศมนตรีของเมือง Joy Belmonte ในการพูดคุยที่ศาลากลางเมื่อเดือนธันวาคมปี 2019 ที่ซึ่งเธอบอกว่า “นี่เป็นการประชุมพูดคุยที่ Fruity มาก ๆ “

“ฉันพยายามอย่างมากในการรวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน ดังนั้นพวกเราต้องสามารถตกลงในแนวทางการแก้ปัญหาที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้” รายงานนี้เป็นการโควทคำพูดของเธอ

ในระหว่างนี้ และท่ามกลางการแพร่ระบาด ผู้อาศัยใน Sitio San Roque ได้ใช้ที่ดินของพวกเขาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอนนี้พวกเขาก็ยังใช้มันอยู่

พวกผู้หญิงต้องหาเวลาระหว่างการทำงานบ้านและทำมาหากินเพื่อที่จะมาทำความสะอาดที่ดินบริเวณที่บ้านของพวกเขาเคยตั้งอยู่

เหล่าแม่ ๆ ใช้มือเปล่าของพวกเขาในการยกหิน ถางดิน และเก็บขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น พวกผ้าอ้อม ในพื้นที่ออกไป เปรียบเสมือนเป็นการทวงสิทธิในการใช้ที่ดินคืนไปในตัวอีกด้วย

นอกจากงานเคลียร์พื้นที่ที่ต้องใช้กำลังกายอย่างมากแล้วนั้น ชาวบ้านยังต้องมาเจอการคุกคามจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริษัทเอกชนที่มักมาเผชิญหน้าด้วยอีก

” ในตอนแรกเราไม่สามารถแม้กระทั่งจะนำดินไปเททับไปบนหินโดยไม่ถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามากวนเรา และตั้งคำถามกับพวกเรา แต่สิ่งที่เราทำมันก็แค่การปลูกผักง่ายๆเท่านั้น ” Bagasbas กล่าว

ชุมชนได้ขอความช่วยเหลือจาก SAKA เพื่อเสริมความพยายามของชุมชน ซึ่งเป็นพันธมิตรของคนที่ทำงานด้านวัฒนธรรมสำหรับการปฏิรูปที่ดินและความมั่นคงทางอาหาร โดย SAKA ได้มาช่วยเหลือในเรื่องการทำ Workshop สำหรับการทำสวนผักแบบอินทรีย์

โดยชุมชนได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยและสารกำจัดแมลงอินทรีย์ เช่น Oriental Herb สารสกัดสมุนไพรเข้มเข้น, น้ำหมักจากน้ำผลไม้ และ ปุ๋ยหมักจากน้ำผัก

ครอบครัวของ Bagasbas เป็นหนึ่งใน 25 คนแรกที่เริ่มเข้ามาอาศัยอยู่ใน San Roque ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1980 เธอกล่าวว่าตอนนั้นดินแดนตรงนี้ยังคงเป็นทุ่งหญ้า cogon ที่เขียวชอุ่ม

ตินแดนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์มาก ชีวิตตอนนั้นง่ายกว่านี้มากเมื่อฉันเข้ามาต้ังรกรากครั้งแรกตอนนั้นเรายังปลูกและขายพืชผลไม้จำนวนมาก ทั้งเผือก คื่นฉ่าย และหัวหอมเพื่อเลี้ยงชีพ” Bagasbas กล่าว

ย้อนกลับไปในตอนนั้น ฉันเคยใช้ยาฆ่าแมลงเคมีสำหรับพืชผลของฉัน แต่ฉันสังเกตเห็นว่าพวกมันทำให้ดินแข็งตัวและยังทำลายดินอีกด้วย การที่ฉันได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์นั้นมีประโยชน์มาก ไม่เพียงแต่สำหรับตัวฉันเองเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อชุมชนของฉันด้วย เพราะตอนนี้ฉันสามารถสอนผู้อื่นให้ดูแลพืชผลของพวกเขาได้ดีขึ้นด้วย” Bagasbas กล่าวเสริม

“สวนผักออร์แกนิกของเราในปัจจุบันนั้นเป็นวิธีการต่อต้านการรื้อถอนชุมชนในขณะเดียวกันยังส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารด้วย เราหวังว่าพวกคนรวยจะไม่ทำลายพืชผลของเราด้วยการไม่รื้อถอนชุมชนของพวกเรา เรายังหวังอีกด้วยว่าพวกเขาจะรู้ว่าจริงๆ แล้วพวกเรานั้นคนจนแต่เป็นคนจนที่ขยันมาก” Babasgas กล่าวขณะชี้ไปที่สวนที่พวกเขาปลูก