โครงการสวนผักคนเมือง เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการสวนผักคนเมืองขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเพื่อวิถีสุขภาวะและระบบอาหารยั่งยืน

โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ ขอเชิญร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานที่ออกกำลังกาย สถานที่ท่องเที่ยว และสวนสาธารณะที่สนใจการสร้างพื้นที่เกษตรในเมือง ส่งใบสมัครโครงการมาร่วมสร้างพื้นที่สีเขียว(กินได้) ให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร เชื่อมโยงสู่ครัว และส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะในกลุ่มคนเมืองด้วยเกษตรในเมือง  จำนวน 7  พื้นที่

.

1. ที่มา

“สวนผักคนเมือง” ดำเนินงานเมื่อ พ.ศ. 2553 มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ร่วมกับมูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา ศูนย์อบรมเกษตรในเมือง และเครือข่ายสวนผักคนเมือง โดยการสนับสนุนของสสส. ด้วยตระหนักถึงปัญหาของคนเมืองในด้านอาหาร ทั้งเรื่องความปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาด้านสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อมของเมือง เราจึงมุ่งยกระดับการพึ่งตนเองด้านอาหารของคนเมือง ฟื้นฟูทักษะการเป็นผู้ผลิตอาหาร เกษตรกรรมและผนวกเรื่องการปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีและการพึ่งตนเองด้านอื่นๆให้อยู่ในวิถีชีวิตของคนเมือง ยกระดับความคิด สร้างความตระหนักถึงบทบาทของเกษตรในเมืองในฐานะที่มีส่วนช่วยพัฒนาระบบอาหารและวิถีชีวิตทางเลือกที่อยู่บนฐานของการเกื้อกูลระหว่างกัน เชื่อมโยงกับการฟื้นฟูดูแลระบบนิเวศของเมือง ฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับธรรมชาติ เมืองกับชานเมืองและชนบท เพื่อให้ประชาชนได้มีสุขภาวะที่ดี และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายของเมืองที่ให้ความสำคัญกับเกษตรในเมืองในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง

บทเรียนของการทำงานที่ผ่านมา พบว่า สวนผักคนเมืองได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ในเมือง โดยการนำพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารทั้งพื้นที่ของตนเอง พื้นที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่สาธารณะของชุมชนมาสร้างอาหารทั้งการเพาะปลูกพืชผักและการเลี้ยงสัตว์ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ พื้นที่รูปธรรมของเกษตรในเมือง ให้สามารถยกระดับการพึ่งตนเองด้านอาหารของคนเมืองให้เพิ่มขึ้น ขยายพื้นที่อาหารปลอดภัยในเมืองให้เติบโต และสร้างพื้นที่ต้นแบบเกษตรในเมืองที่เชื่อมโยงกับมิติความมั่นคงทางอาหาร การสร้างพื้นที่ความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ของสังคม สวนผักกับการบำบัด การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและผู้คนในสังคม การจัดการขยะอาหาร และอื่นๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและของเมือง ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของเมือง และมีผลงานเชิงประจักษ์ว่า

 “เมื่อเริ่มปลูกผัก คนเมืองได้สัมผัสพื้นดิน  คุณค่า ที่มาของอาหาร และเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมถึงความรักในธรรมชาติ เชื่อมระหว่างคนเมืองกับชนบทได้ ทำให้คนเข้าใจ เข้าถึง วิถีเกษตรกรรมธรรมชาติ มากกว่าการปลูกผัก คือ การปลูกเมือง และปลูกชีวิต คนเมืองรู้ว่า พวกเขาสามารถผลิตอาหารได้ สร้างพื้นที่อาหารได้ และเชื่อมโยงคนหลายกลุ่มเข้าด้วยกัน เพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง และเดินหน้าต่อไปเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของเมืองให้เกิดขึ้นได้

และในปีนี้โครงการสวนผักคนเมือง เล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนการสร้างพื้นที่อาหารจากการทำเกษตรในเมืองในบริบทของความเป็นเมืองที่มีความหลากหลาย และการเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียว(กินได้) จากการมีแหล่งผลิตอาหาร สู่การส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ การเรียนรู้ที่ขยายวงกว้าง เข้าถึงกลุ่มคนเมืองที่หลากหลายมากขึ้น จึงเปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการเพื่อสร้างพื้นที่รูปธรรมของการผลิตอาหารที่เชื่อมโยงสู่ครัว การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ และพื้นที่เรียนรู้ด้านการกิน-อยู่ อย่างยั่งยืน ในกลุ่มร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานที่ออกกำลังกาย สถานที่ท่องเที่ยว และสวนสาธารณะ เพื่อทำให้คนเมืองและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า การทำเกษตรในเมือง การผลิตอาหารของเมืองจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับระบบของเมืองและผู้คนทุกกลุ่มของเมืองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะศักยภาพในการผลิตอาหารของเมือง การใช้ประโยชน์พื้นที่รกร้าง พื้นที่สาธารณะมาสร้างเป็นพื้นที่สีเขียว การหมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ให้คุ้มค่า และการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนจากการทำเกษตรในเมือง จำนวน 7  พื้นที่

.

2.วัตถุประสงค์

2.1 สนับสนุนการสร้างพื้นที่สร้างพื้นที่สีเขียว(กินได้) ให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร เชื่อมโยงสู่ครัว และส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะในกลุ่มคนเมืองด้วยเกษตรในเมือง 

2.2 ส่งเสริมความรู้ เทคนิคการทำเกษตรในเมือง การกินอยู่อย่างยั่งยืนผ่านพื้นที่รูปธรรมเกษตรในเมืองให้ขยายแนวคิด สร้างการรับรู้สู่กลุ่มคนเมืองที่หลากหลาย

2.3 เพื่อให้คนปลูกผักในเมืองมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของเกษตรในเมืองที่มีบทบาทสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางอาหารของคนเมือง และการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับมิติต่างๆ มีส่วนร่วมพัฒนาระบบอาหารทางเลือกและวิถีชีวิตทางเลือกที่อยู่บนฐานของการเกื้อกูลระหว่างกัน

.

3.กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่เป้าหมาย

3.1ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานที่ออกกำลังกาย สถานที่ท่องเที่ยว และสวนสาธารณะ ที่มีการรวมกลุ่มคนทำงาน ลูกจ้าง หรือสมาชิก อย่างน้อย 5 คนขึ้นไป

3.2 อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และนนทบุรี

3.3 มีความสนใจ หรือเป้าหมายทำเกษตรในเมือง เพื่อพื้นที่สีเขียว(กินได้) มีแหล่งผลิตอาหารคุณภาพ เชื่อมโยงสู่ครัว การปรุงอาหารสู่การส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ และเป็นพื้นที่เรียนรู้ให้กับคนเมืองที่สนใจ

3.4 ร่วมเป็นหุ้นส่วนในการ สร้างพื้นที่สีเขียว(กินได้) ให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร เชื่อมโยงสู่ครัว ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ ขยายแนวคิดการกินอยู่ อย่างยั่งยืนในกลุ่มคนเมือง

.

4.รูปแบบการสนับสนุน **

4.1สนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการทำเกษตรในเมือง การสร้างแหล่งผลิตอาหาร โดยการปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีใดๆ การปลูกผักหลากหลาย โดยเฉพาะผักยืนต้นหรือผักพื้นบ้าน และเน้นส่งเสริมให้การพึ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิต การพึ่งตนเองด้านอื่นๆ ให้มากที่สุด งบประมาณสำหรับวัสดุ อุปกรณ์ ปัจจัยการผลิต (ไม่เกิน 42,500 บาท)

4.2 สนับสนุนความรู้ การเรียนรู้ โดยทีมพี่เลี้ยง/วิทยากรลงพื้นที่ ร่วมออกแบบพื้นที่ จัดอบรมให้ความรู้ ให้คำแนะนำด้านเกษตรในเมือง ให้เกิดพื้นที่สีเขียว(กินได้) ให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร จำนวน 5 ครั้ง/พื้นที่

4.3 สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ workshop และการเรียนรู้อื่นๆ ของโครงการสวนผักคนเมือง

.

5.หลักเกณฑ์การคัดเลือก

5.1 เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมถึงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนตามที่กำหนดไว้ข้างต้น

5.2 มีรายละเอียดของโครงการชัดเจน และครบถ้วนตามหัวข้อในแบบเสนอโครงการ และสะท้อนให้เห็นความเป็นไปได้ ที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน และส่งรายละเอียดโครงการครบถ้วนตามเวลาที่กำหนด

5.3 มีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับกิจกรรมที่ดำเนินการ มีโอกาสที่จะมีความยั่งยืน และต่อเนื่องเมื่อโครงการสิ้นสุดลง  เข้าร่วมกิจกรรม/ขั้นตอนการคัดเลือกโครงการตามที่โครงการสวนผักคนเมืองกำหนดไว้

5.4 เน้นการจัดการขยะอาหาร เปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมัก หมุนเวียนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรเพื่อผลิตอาหาร

5.5 เปิดพื้นที่และโอกาสการเรียนรู้ และแรงบันดาลใจด้านการทำเกษตรในเมือง การกิน-อยู่อย่างยั่งยืน ส่งเสริมการเข้าถึง การบริโภคอาหาเพื่อสุขภาวะให้คนทั่วไปที่สนใจ

.

6.ภาพรวมระยะเวลาการดำเนินงาน

24 มี.ค. – 15 เม.ย.64เปิดรับใบสมัครเข้าร่วมโครงการ
16 เม.ย. – 30 เม.ย.64พิจารณา คัดเลือกใบสมัครโครงการ ประกาศผลการคัดเลือก
1 พ.ค. 64workshop พื้นฐานเกษตรในเมือง และอาหารเป็นยา
1 พ.ค. – 28 ก.พ. 65ดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน
15 ก.ย. 64ส่งรายงานความก้าวหน้า กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ
28 ก.พ. 65ส่งรายงานปิดโครงการ กิจกรรมสรุปบทเรียน

.

7. สมัครเข้าร่วมโครงการ ดาวน์โหลดใบสมัคร ถึงวันที่ 15 เมษายน 64 นี้

ปิดรับสมัครโครงการแล้ว ณ ปัจจุบัน

ติดต่อสอบถาม คุณ บูรฮัน  065-034-4201

ส่งใบสมัคร มาที่  อีเมล์ [email protected]

.