จากบ่อทิ้งขยะสู่พื้นที่อาหารให้คนเชียงใหม่ในภาวะวิกฤต COVID-19

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา World Economic Forum ร่วมกับ Thomson Reuters Foundation หรือสำนักข่าว REUTERS ได้เผยแพร่การพัฒนาพื้นที่บ่อทิ้งขยะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ไปเป็นพื้นที่ผลิตอาหารและปศุสัตว์ให้แก่คนกลุ่มเปราะบางในช่วงวิกฤตโควิด และเป็นที่ต้นแบบในการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ที่ควรค่าแก่การศึกษา

พื้นที่อาหารที่เชียงใหม่นี้อยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 700 กิโลเมตร ซึ่งออกมาเป็นรูปเป็นร่างในระหว่างการปิดเมืองทั่วประเทศเพื่อควบคุมการระบาดของโควิดในปีที่ผ่านมา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายครอบครัวได้สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวไปมหาศาล

สวนผักแห่งนี้ริเริ่มมาจากคุณศุภวัฒน์ บุญมหาธนากร สถาปนิกชุมชน ผู้ที่ทำงานช่วยแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยให้แก่คนไร้บ้านหรือผู้ที่อยู่อาศัยไม่เป็นหลักแหล่งในเมืองเชียงใหม่ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานในหลายภาคส่วนเพื่อวางแผนในการเปลี่ยนบ่อทิ้งขยะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้ไปเป็นสวนผักสำหรับคนที่รายได้น้อย

คุณศุภวัฒน์ ได้บอกกับทีมข่าวไว้ว่า พวกเราได้ทำแผนที่พื้นที่รกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์รอบๆ เมืองเชียงใหม่ไว้หลายๆ พื้นที่ โดยมีแนวคิดที่จะปลูกไม้ยืนต้นสำหรับการบำบัดมลพิษทางอากาศ ซึ่งบ่อทิ้งขยะที่ถูกใช้ประโยชน์มากว่า 20 ปี ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่อยู่ในแผนที่นั้น

­และพบว่า กลุ่มคนยากจนต้องเสียใช้จ่ายกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ไปกับการซื้ออาหาร เมื่อรายได้เค้าลดลง หลายครอบครัวจึงส่งผลปัญหาต่อการดำรงชีวิตและปากท้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สวนผักแผ่งนี้จึงตอบโจทย์ปัญหาที่พวกเค้ากำลังเผชิญอยู่ เราจึงเห็นข้าวโพดและผักบุ้งปลูกในสวนผักหลายๆ แปลง

มาตรการปิดเมืองทั่วโลกกระตุ้นให้คนเมืองหันมาปลูกผักและผลไม้ในพื้นที่หลังบ้านและระเบียงอย่างแพร่หลายมากขึ้น และผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐต้องหันมาพิจารณาให้การทำเกษตรในเมืองเป็นมาตรการในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในเชียงใหม่ หลังจากเทศบาลได้อนุมัติแผนการสร้างสวนผัก ได้มีการรดมบริจาคพืชพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ และปุ๋ยหมักจากคนเมืองผ่านโซเชียลมีเดีย

จากการยืมรถแบคโฮจากเทศบาล ได้ทำการนำขยะมูลฝอยกว่า 5700 ตัน ออกจากพื้นที่ทิ้งขยะ (ขนาด 4800 ตร.ม.) ที่เรียงรายอยู่ตามริมคลองและป่าช้า จากนั้นพื้นที่ได้ถูกยกถมให้สูงขึ้น พื้นที่หน้าดินที่เสื่อมโทรมได้ถูกแทนที่ด้วยดินที่ผ่านการหมักแล้ว จากนั้นสวนผักก็ได้เปิดให้ชุมชนเข้ามาใช้ประโยชน์ในเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา

กลุ่มคนไร้บ้านกว่าครึ่ง นักเรียนจากโรงเรียนรัฐและคนในชุมชนได้มาปลูกมะเขือยาว ข้าวโพด กล้วย มันสำปะหลัง พริก มะเขือเทศ คะน้า และสมุนไพร ซึ่งในเมือง การเชื่อมโยงกับการผลิตอาหารได้หายไปจากสังคมเมือง ดังนั้น ทักษะการผลิตอาหารจึงมีส่วนสำคัญ ซึ่งเกษตรในเมืองอาจไม่สามารถป้อนอาหารให้แก่คนเมืองได้ทั้งหมด แต่การมีสวนผักจะช่วยส่งเสริมภาวะโภชนาการและเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบาง และมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาในภาวะวิกฤต  

มาร่วมมือกัน

จากผลการศึกษาของ Arizona State University ในปี 2018 พบว่า เกษตรในเมืองมีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตอาหารได้มากกว่า 180 ล้านตันต่อปี หรือ ประมาณร้อยละ 10 ของธัญพืชและผักของที่ผลิตจากทั้งโลก โดยสวนผักดาดฟ้า สวนผักแนวตั้ง และสวนผักบนพื้นที่จัดสรร (allotment garden) ยังช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการลดอุณหภูมิไม่ให้สูงขึ้นและลดความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมในเมืองได้

คุณกชกร วรอาคม สถาปนิกภูมิทัศน์ผู้ออกแบบฟาร์มบนดาดฟ้าในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ให้ความเห็นว่า ในขณะที่ที่ดินในเมืองนั้นหายากและมีราคาแพง จะมีก็แต่หลังคาและพื้นที่ว่างๆ ใต้ทางด่วนและสะพานก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเราต้องการความคิดสร้างสรรค์และความยืดหยุ่นมากขึ้นในข้อกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อเปลี่ยนพื้นที่เหล่านี้ให้เป็นพื้นที่เกษตรในเมืองให้ได้ อย่างกรณี สวนผักเชียงใหม่ที่เพียงกระบะทรายก็สามารถแสดงให้เห็นว่าก็สามารถทำได้แม้ในพื้นที่ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด หากรัฐบาลและชุมชนมารวมกัน

สำหรับคุณแอมมี่ ผู้หญิงชนพื้นเมืองอาข่าที่อยู่สวนผักตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เธอได้ปลูกทั้งข้าวโพด เมล่อนและกะหล่ำสำหรับตัวเธอและครอบครัวไว้กินเองและอาจนำไปขายเพื่อหารายได้เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเธอกล่าวว่า สวนผักได้ให้โอกาสแก่ผู้คนเช่นเธอสร้างการพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น พวกเราคิดว่าในเมืองควรมีพื้นที่ผลิตอาหารให้มากขึ้น จากกรณีศึกษาที่เชียงใหม่ การพัฒนาสวนผักชุมชนขึ้นมาจากพื้นที่สาธารณะได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาชนและภาครัฐ ร่วมถึงการศึกษาช่องทางกฎหมายเพื่อหาโอกาสในการพัฒนาการพื้นที่ผลิตอาหารจากพื้นที่สาธารณะต่อไปในอนาคต