Deloitte: A Shock of the food system

การเกิดวิกฤต COVID-19 ได้สร้างผลกระทบต่อระบบอาหารในทุกระดับไปทั่วโลก โครงสร้างระบบอาหารสมัยใหม่ต้องปรับตัวขนานใหญ่ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ภาครัฐและเอกชน การเผชิญวิกฤตในครั้งนี้ทำเราตระหนักได้ว่าเรากำลังเผชิญความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทำให้แผนและนโยบายที่วางไว้ต้องหันกันมาทบทวนกันใหม่ทั้งหมด’

ภาพด้านบนแสดงถึงผู้เล่นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนระบบอาหารในปัจจุบันตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ซึ่งแต่ละภาคส่วนล้วนเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก

COVID-19 กับการเขย่าระบบอาหารรูปแบบใหม่อย่างมโหราฬ

ระบบอาหารรูปแบบใหม่ (modern food system) ที่เราพึ่งพาก่อนวิกฤตโรคระบาดจะเข้ามา ได้เคยถูกยกย่องว่าเป็นระบบอาหารที่­ป้อนอาหารให้แก่พลเมืองโลกไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้อย่างมาก ซึ่งลดการขาดสารอาหารจากร้อยละ 50 ของประชากรโลกในปี 1945 มาอยู่ที่ร้อยละ 10.8 ในปี 2017 ระบบห่วงโซ่อุปทานได้ถูกออกแบบให้มีการกระจายอาหารอย่างรวดเร็วและทันต่อความต้องการของผู้บริโภคตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ด้วยระบบโลจิสติกสที่ทันสมัย อย่างไรก็ตาม อาหารในราคาถูกและสะดวกสบายจากระบบดังกล่าวก็นำมาซึ่งราคาที่ต้องจ่ายจากห่วงโซ่ที่ยาวและซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและค่าใช้จ่ายแอบแฝงที่มากับผลทางจริยธรรม การเข้ามาของโควิดส่งผลห่วงโซ่อุปทานของระบบอาหาร (Modern food system value chain)  ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำดังนี้

  1. ภาคการผลิต (Production) ประกอบด้วยฟาร์ม เกษตรกร ผู้ผลิตอาหาร รวมไปถึงผู้ทำปัจจัยการผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย อาหารสัตว์ เป็นต้น แหล่งผลิตอาหารหลายแห่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาแรงงานจากนอกประเทศ วิกฤตครั้งนี้ทำให้ฟาร์มหลายแห่งขาดแคลนแรงงาน อาทิเช่น ที่เยอรมันและฝรั่งเศสขาดแรงงานไปกว่า 200,000 คน ที่สเปนก็ขาดแรงงานกว่า 150,000 คนเช่นกัน การขาดแคลนแรงงานทำให้ผลผลิตที่จะป้อนสู่ตลาดลดลง รวมไปถึงการควบคุมเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิตก็ลดลงเช่นกัน
  2. ภาคการแปรรูป (Processing) ผู้แปรรูปและโรงงานแปรรูปอาหารก็ขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกับภาคการผลิตเช่นกัน รวมไปถึงขาดแคลนผลผลิตที่จะต้องนำมาแปรรูปเป็นอาหารกระป๋องหรืออาหารแช่แข็ง ที่สหรัฐและบราซิล แรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์เองก็ติดเชื้อโควิดรายหลาย ทำให้โรงงานถูกทางการสั่งปิด ทำให้เนื้อสัตว์มีราคาสูงขึ้นร้อยละ 15 ในปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าโรงงานแปรรูปจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ แต่ราคาสินค้าแปรรูปก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากมาตราการป้องกันโรคและใช้ภาชนะบรรจุอาหารสูงขึ้น
  3. ภาคการกระจายสินค้า (distribution) ได้แก่ ผู้ขนส่ง คลังสินค้า กิจการค้าส่งและค้าปลีก เพื่อลดการระบาดของโรค ภาครัฐจึงต้องเพิ่มความเข้มงวดและจำกัดการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องนำเข้า-ส่งออก รัฐบาลกว่า 29 ประเทศได้ระงับการนำเข้าสินค้าเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศ หรืออาจใช้วิธีเพิ่มภาษีนำเข้าหรือเรียกให้โรงงานกลับมาผลิตอาหารไว้ป้อนคนในประเทศ สินค้านำเข้าหลายรายการจึงขาดแคลนและมีราคาพุ่งสูงขึ้น ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2020 การส่งออกสินค้าของจีนลดลงไปร้อยละ 17.2 ทำให้ปริมาณสินค้าตามท่าเรือต่างๆ จึงลดไปกว่าร้อยละ 20 และอีกหลายประเทศเช่นเวียดนาม ไทย รัสเซีย คาซัคสถาน ก็ลดการส่งออกอาหาร อาทิ ข้าว ไข่ไก่ ธัญพืช และมันฝรั่งเพื่อไว้ใช้บริโภคภายในประเทศ ผลที่ตามมา คือ ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นและเผชิญกับความไม่แน่นอนของปริมาณอาหารที่ผลิตสู่ท้องตลาด อีกทั้งผลกระทบจากการนำเข้า-ส่งออกที่ลดลง ก็ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์นั้นขาดแคลน ห้างร้านต่างๆ หลายแห่งจึงประสบปัญหาไม่มีสินค้ามาจำหน่ายเพียงพอเนื่องจากขาดแคลนรถตู้คอนเทนเนอร์มีไม่เพียงพอต่อการขนส่งภายในประเทศ (ช่วงโควิด ถึงแม้ว่าความต้องการสินค้ามีมากขึ้น แต่ต้นทุนในการบรรทุกสินค้ากระจายไปตามท้องที่มีปริมาณน้อย และ ไม่คุ้มต่อการขนส่งตามที่ต่างๆ)
  4. ภาคการบริโภค (Consumption) โควิดทำให้วิถีการบริโภคเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากมีมาตรการในการลดการเคลื่อนที่และกักตัวอยู่ที่บ้าน ร้านอาหารแบบนั่งทานในร้านจึงได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้โดยตรง ในขณะที่การสั่งซื้อสินค้าแบบส่งถึงบ้าน หรือ ซื้อจากร้านอาหารหรือร้านค้าเพื่อไปทานที่บ้านได้ความนิยมเพิ่มมากขึ้น การเข้ามาของโควิดไม่ได้ทำให้ปริมาณการบริโภคอาหารนั้นลดลง แต่ทำให้วิถีในการทานอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไป นอกจากร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบแล้ว ยังรวมไปถึงร้านขายอาหารตามโรงเรียนและโรงพยาบาลต้องปิดให้บริการ แต่อาหารกลับถูกกระจายไปตามร้านค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้น การบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยกลับลดลง อาทิเช่น ที่เกาหลีใต้ คนหันมาบริโภคสินค้าจำเป็นกันมากขึ้นร้อยละ 10 ในขณะที่การบริโภคสินค้าที่ไม่จำเป็นกลับลดลงถึงร้อยละ 22 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กราฟด้านบนแสดงถึงดัชนีปริมาณการค้าที่คาดการณ์ว่าลดลงในระหว่างปี 2020-2021 โดยแบ่งเป็นกรณีที่โชคดีที่สุด (เส้นที่เขียว) และเลวร้ายที่สุด (เส้นที่ส้ม)
กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้ากลุ่มอาหารตลอดช่วงต้นถึงกลางปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤคโควิดระบาดหนักในช่วงแรกและอยู่ช่วงที่หลายประเทศต้องรับมือการระบาดอย่างไม่ได้ตั้งตัว
กราฟแสดงความผันผวนในการขนส่งสินค้าในภาคอุตสาหกรรทต่างๆ ในหลายประเทศ อาทิ ร้านขายของชำ (grocery) สินค้ากลุ่มยา (pharmacy) ภาคค้าปลีก (retail) และสินค้าฟุ้มเฟือย (recreation)

อนาคตของระบบอาหารจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 

วิกฤตโควิดที่เข้ามาเขย่าวงจรการผลิตอาหารแบบเดิมอย่างมหาศาลและบีบให้ระบบอาหารต้องปรับตัวขนานใหญ่เพื่อรับมือกับการระบาดของโรคครั้งใหญ่และความไม่แน่นอนในห่วงโซ่อุปทานที่อาจเข้ามาอีกในอนาคต โดยได้จำลองสถานการณ์และวิธีการรับไว้ดังนี้

  • สถานการณ์ (Scenario) ซึ่งจำลองผลกระทบจากโรคระบาดและเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ผลกระทบต่ำ (lower impact) โดยที่การระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่สามารถระงับหรือควบคุมการระบาดให้จบได้อย่างรวดเร็วและไม่เกิดการระบาดซ้ำอีก ในทางตรงกันข้าม ผลกระทบรุนแรง (higher impact) ที่การระบาดเกิดขึ้นหลายระลอก และเกิดผลกระทบรุนแรงในทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจ
  • การรับมือ (Response) โดยกำหนดระดับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในระดับตั้งแต่จากชุมชน ประเทศ และไปจนถึงระดับโลก โดยแบ่งเป็น การร่วมมือกันแบบเข้มข้น (significant collaboration) โดยการสร้างทำงานร่วมกันอย่างเอาจริงเอาจังทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยการออกแบบมาตราการรับมือร่วมกันและทุกฝ่ายยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการในการตรวจหรือกักกันโรค หรือ การร่วมมือกันเป็นแบบหลวมๆ (marginal collaboration) แปลง่ายๆ คือ แต่ละประเทศแก้ปัญหาแบบต่างคนต่างทำ ขาดความเชื่อใจ ไม่ไว้ใจกัน ขาดการสื่อสารและประสานงานกันในการควบคุมและป้องกันโรคในแต่ละประเทศ  
แผนภาพการจำลองสถานการณ์ตามปัจจัย 2 แบบ ได้แก่ ระดับผลกระทบจากการระบาด ( impact) และ ระดับของการร่วมมือกันแก่ปัญหาการระบาดระหว่างประเทศ (collaboration)

จากการจำลองสถานการณ์และระดับการรับมือกับวิกฤตการระบาดที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานของระบบอาหาร สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบได้ดังตารางด้านล่าง  

Continued commodification: โดยคาดการณว่าผลกระทบจากโรคระบาดต่ำ แต่ละประเทศให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาเป็นอย่างดี โดยรัฐบาลจัดการปัญหาโรคระบาดอย่างมีประสิทธิภาพและพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวเร็วที่สุด อาทิเช่น มีการยกระดับการป้องกันโรค หรือ การเว้นระยะห่าง ระบบอาหารแบบปัจจุบันจะยังดำรงอยู่ ไม่เปลี่ยนไปเดิม

ภาคการผลิตภาคการแปรรูปภาคการจัดจำหน่ายภาคการบริโภค
รัฐออกมาตรการเยี่ยวยาแก่เกษตรกร หรือช่วยเหลือเกษตรกรให้อยู่รอดจากวิกฤตผู้แปรรูปสินค้าสามารถผลิตสินค้าได้ตามความต้องการสินค้าซื้อที่เพิ่มขึ้น ไม่มีปัญหาสินค้าขาดสต๊อกเกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในช่วยกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคให้ทั่วถึงในช่วงการระบาดผู้บริโภคมีสินค้าไว้บริโภคอย่างเพียงพอ แต่ตัวเลือกอาจน้อยลง
เกษตรกรรายย่อยที่ผลิตสินค้าไม่กี่ชนิด มีการปรับระบบการผลิตสินค้าอื่นๆ ให้หลายชนิดมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่เกิดปัญหาขาดแคลนคนงานในขณะที่ต้องใช้แรงงานผลิตสินค้ามากขึ้น โรงงานจำเป็นต้องเพิ่มค่าแรงเพื่อรักษาคนงานเหล่านั้นไว้ผู้กระจายสินค้ามีการปรับรูปแบบธุรกิจเป็นแบบออนไลน์หรือแบบจัดส่งถึงบ้านช่วงการระบาด มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าในรูปแบบผ่านช่องทางออนไลน์หรือจัดส่งถึงบ้าน
เกษตรกรรายย่อยไม่ได้รับการช่วยเหลือในระดับเดิมและไม่ประสบภาวะยากจนอย่างในช่วงวิกฤตโรงงานแปรรูปขนาดเล็กที่ได้ผลกระทบสามารถฟื้นฟูกิจการตนเองได้ โดยรัฐอาจเข้ามาช่วยเหลือในบางโรงงานหลังจากมาตรการควบคุมโรคผ่อนคลายลง ผู้บริโภคสามารถพฤติกรรมเข้าสู่ภาวะปกติ และสามารถรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ยังตกค้างจากการระบาดได้

Regulated harmony: โดยคาดการณว่าผลกระทบจากโรคระบาดสูง แต่หลายประเทศร่วมมือกันแก้ปัญหาการระบาดอย่างจริงจัง ห่วงโซ่อุปทานอาหารสามารถป้อนอาหารให้พลเมืองได้ในภาวะวิกฤตด้วยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน

ภาคการผลิตภาคการแปรรูปภาคการจัดจำหน่ายภาคการบริโภค
ภาคเอกชนและภาครัฐร่วมมือกันสนับสนุนการรวบรวมและขนส่งสินค้าด้วยวิธีแบบใหม่ให้แก่ผู้จัดจำหน่าย เพื่อช่วยลดขยะอาหารในช่วงการใช้มาตรการเว้นระยะห่างที่ส่งผลให้แรงงานขาดแคลน ภาคเอกชนและภาครัฐสามารถกำหนดมาตรการความปลอดภัยในโรงงานร่วมกันเพื่อลดผลกระทบ ดีกว่าการสั่งหยุดการผลิตผู้กระจายสินค้าสามารถตอบสนองความต้องการสินค้าในรูปแบบต่างๆ ได้ อาทิเช่น สินค้าแบบซื้อกลับบ้าน หรือ ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ผู้บริโภคสามารถปรับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าในภาวะวิกฤตได้อย่างดี เช่น มีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ หรือ ปรุงอาหารทานเองมากขึ้น
มีการจัดลำดับความสำคัญใหม่ โดยภาคการผลิตท้องถิ่นได้รับความสำคัญมากขึ้น ภาครัฐและเอกชนหันมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นมากขึ้นโรงงานแปรรูปบางรายที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้า อาจขอให้รัฐผ่อนผันให้วัตถุดิบเหล่านั้นสามารถนำเข้าได้ เพื่อป้อง
กันการขาดแคลนวัตถุดิบ
การค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลมีการเข้ามาจัดการมากขึ้นเพื่อรักษาระดับการนำเข้า-ส่งออกสินค้า แต่ขั้นตอนการผ่านด่านอาจช้าลงบาง เนื่องจากต้องป้องกันโรคระหว่างการขนส่งสินค้ามากขึ้นภาครัฐผสานความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือพลเมืองในกลุ่มเปราะบางที่บ้านและต่างประเทศ
ผู้ผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่มอาจมีขอการเยียวยาผลกระทบจากภาครัฐบ้าง ในขณะที่เกษตรกรรายเล็กก็ยังสามารถปรับตัวในภาวะวิกฤตได้ประเทศที่ต้องพึ่งพาสินค้านำเข้าสามารถรักษาปริมาณสินค้านำเข้าให้มีบริโภคอย่างเพียงพอในภาวะวิกฤตได้

Ascendant corporations: โดยคาดการณ์ว่าการระบาดของโรคไม่รุนแรงมาก แต่ละประเทศจัดการโรคระบาดแบบต่างคนต่างทำ กิจการรายเล็กหรือผู้มีรายได้น้อยจนถึงปานกลางอาจได้รับผลกระทบจากการระบาดไม่เท่ากัน การจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐและเอกชนอาจนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอาหารขึ้นได้

ภาคการผลิตภาดการแปรรูปภาคการจัดจำหน่ายภาคการบริโภค
เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนการผลิตตามปริมาณการส่งออกสินค้าที่ลดลงการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้การค้าได้รับผลกระทบ โรรงานที่พึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าผลิตสินค้าป้อนสู่ตลาดได้ไม่แน่นอนผู้จำหน่ายที่มีสายป่านยาวและใช้ระบบอัตโนมัติปรับตัวเข้ากับความผิดปกติใหม่ได้เร็วผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าที่แพงขึ้น โดยเฉพาะสินค้านำเข้า ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบสูงที่สุด
เกิดการขาดแคลนแรงงานจนผลผลิตที่ป้อนสู่ตลาดลดลง เนื่แงจากเกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือผลิตสินค้าได้ทันผู้ผลิตรายใหญ่มีความได้เปรียบในการกักตุนสต๊อกสินค้าได้มากกว่าผู้ผลิตรายเล็กที่มีทุนน้อยกว่ากิจการที่ต้องอาศัยแรงคนจะปรับตัวเข้ากับภาวะปกติใหม่ได้ช้า ทำให้อุปสงค์และอุปทานของสินค้าถ่างออกจากกันผู้บริโภคหันมาบริโภคสินค้าในประเทศมากขึ้น
บริษัทที่ทำระบบอัตโนมัติและมีทุนสูงฉวยโอกาสเข้ามาผลิตสินค้าเพื่อป้อนสู่ตลาดในภาวะวิกฤตการปิดพรมแดน ทำให้การนำเข้า-ส่งออกสินค้าทำได้ยากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงต้องรับภาระในการบริโภคสินค้าที่มีราคาแพงขึ้นประเทศที่ต้องพึ่งพาสินค้านำเข้าต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหาร

Rise of isolationism: โดยคาดการณ์ว่า เกิดการระบาดอย่างหนักในขณะที่แต่ละประเทศไม่ร่วมมือกันแก้ปัญหา ต่างคนต่างแก้ปัญหาเฉพาะประเทศตัวเอง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นในวงกว้าง ระบบอาหารมีการปรับตัวให้ผลิตในพื้นที่มากขึ้น ในขณะที่ห่วงโซ่อุปทานอาหารสั้นลง

ภาคการผลิตภาคการแปรรูปภาคการจัดจำหน่ายภาคการบริโภค
ผู้ผลิตประสบภาวการณ์ขาดแคลนปัจจัยต่างๆ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการสินค้าของได้รัฐบาลหันมาส่งเสริมโรงงานในท้องถิ่นมากขึ้น โรงงานต้องหันมาจับมือกับผู้ขายวัตถุดิบรายใหม่มากขึ้นผู้จำหน่ายอาหารนำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าเผชิญกับความต้องการสินค้าที่ลดลงเนื่องจากประเทศต้นทางระงับการส่งออกสินค้า เพื่อกักตุนสินค้าไว้บริโภคในประเทศผู้บริโภคหันมาปรุงอาหารทานเองในบ้านและซื้อสินค้าในท้องถิ่นกันมากขึ้น หากสินค้ามีราคาที่แพงขึ้น ก็อาจเลือกบริโภคสินค้าที่คุณภาพต่ำกว่าและราคาถูกลง
เกษตรกรรายย่อยโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ไม่มีเงินทุน ไม่สามารถเข้าถึงปัจจับการผลิตหรือเทคโนโลยีที่จะนำเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าได้สินค้าอาหารสดอาจกระจายไปตามที่ต่างๆ ในประเทศได้กำจัด ฟาร์มบางแห่งสามารถส่งสินค้าได้ตลอดปี ในขณะที่ฟาร์มอื่นๆ ผลิตสินค้าได้แค่ตามฤดูกาล
ประเทศที่ส่งออกอาหาร มีการจำกัดหรือระงับการส่งออกสินค้าเพื่อกักตุนสินค้า ทำให้ประเทศที่ต้องนำเข้าสินค้าต้องได้รับผลกระทบ (โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้น้อย) จนทำให้เกิดภาวะอาหารขาดแคลนและมีราคาแพง

การปรับตัวในระยะสั้น

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิกฤตโควิตสร้างผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่อระบบอาหารนปัจจุบัน ผู้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตในครั้งก็ได้รับผลกระทบทางด้านการเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัยที่แตกต่างกันไปตามสถาณะทางเศรษฐกิจและสังคม ในระยะสั้น แต่ละภาคส่วนควรมีการดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นดังนี้

การปรับปรุงแผนงาน

ในขณะที่สถานการณ์ในช่วงนี้ยังไม่ได้จางหายไปและอนาคตถัดไปก็ไม่รู้ว่าจะไปในทิศทางไหนและจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง มันจะดีกว่าที่ผู้นำจะเข้าใจในสิ่งที่เราต้องเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกในวันข้างหน้า โดยการทำแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อแต่ละองค์กรสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันต่อวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าได้อย่างทันท่วงที

การรักษาภาคีในแต่ละภาคส่วนและไว้วางใจเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการรักษาให้ระบบอาหารที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันสามารถดำเนินงานได้อย่างปกติในภาวะวิกฤต กิจการก็ควรจะทำการเลือกซัพพลายเออร์และผู้จัดจำหน่ายที่สามารถวางแผนการขายและการดำเนินการร่วมกันได้ การดำเนินงานให้มีความโปร่งใสต่อภาคีเครือข่ายจะช่วยให้การจัดการแบบองค์รวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากการทำงานร่วมกันแล้ว การรายงานและแชร์ข้อมูลเพื่อสื่อสารกันระหว่างภาคีในทุกประเด็น ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ นวัตกรรม และบทเรียนจากการดำเนินงานระหว่างกันก็จะช่วยให้การวางแผนกับภาคีเป็นไปราบรื่นและสามารถปรับแผนการดำเนินการในห่วงโซ่อุปทานอาหารได้อย่างรวดเร็วในอนาคต กิจการที่ลงทุนสนับสนุนการพัฒนากิจการของซัพพลายเออร์ก็ช่วยให้เกิดคุณภาพการทำงานและความไว้เนื้อเชื่อใจกันได้มากขึ้น

เพิ่มความยืดหยุน

ความยืดหยุนห่วงโซ่อุปทานอาหารจะช่วยให้ปรับวิธีการผลิตและการจัดวัตถุดิบให้ตอบสนองต่อความต้องการซื้อขายที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในช่วงวิกฤตการระบาด กิจการที่เห็นโอกาส มีระบบการผลิตที่มีมาตรฐาน และดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติจะปรับตัวได้เร็วกว่ากิจการประเภทอื่น เราจะเห็นได้ว่ามีการปรับโมเดลธุรกิจจากการขนส่งและจัดจำหน่ายตามร้านค้าต่างๆ มาเป็นส่งตรงถึงมือผู้บริโภคมากขึ้น

การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้จะทำให้เราเห็นห่วงโซ่อุปทานชัดเจนมากขึ้น ทำให้สามารถคาดการณ์จุดอ่อนในห่วงโซ่อาหาร แล้วชี้ช่องทางให้กิจการที่เห็นโอกาสได้ปรับตัว อาทิ การวางมาตรการรับมือความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว มีการจัดสรรทรัพยากรไปในจุดเปาะบางตามท้องที่ต่างๆ ได้อย่างตรงจุด โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยี AI หรือ IoT เข้ามาจำแนกพื้นที่ที่มีปัญหาสินค้ากระจายไปอย่างไม่ตรงจุด ทำให้ลดปริมาณขยะอาหารและระยะในการขนส่งอาหาร

ความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งจำเป็นในการเก็บข้อมูลจากทุกจุดเชื่อมโยงทั้งห่วงโซ่อุปทานและการแชร์ข้อมูลเหล่านี้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ในอุตสาหกรรมของ Deloitte ผู้นำมีความเชื่อว่าผู้บริโภคต้องการความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่ผลิตในช่วงโควิดจะมีความปลอดภัยต่อการบริโภค เทคโนโลยีจึงช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจคุณค่าของอาหาร และ ซัพพลายเออร์ก็สามารถสร้างความแตกต่างของคุณภาพสินค้าและควบคุมราคาให้คุ้มต่อคุณภาพที่ได้รับ

การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ ไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้าอัตโนมัติที่สามารถจัดสินค้าให้ตรงตามยอดสั่งสินค้า ในโรงงานแปรรูปที่คนงานมีโอกาสสูงที่จะสัมผัสกันระหว่างทำงาน แต่การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาปรับใช้สามารถลดโอกาสการติดเชื้อจากการสัมผัสและป้องกันคนงานจากการติดเชื้อลงได้

การกระจายความเสี่ยงและลดความซับซ้อนในการผลิตลง

กิจการสามารถลดความเสี่ยงในการดำเนินงานด้วยการกระจายแหล่งปัจจัยการผลิต ซึ่งการจัดหาแหล่งวัตถุดิบในพื้นที่จะช่วยลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากที่ไกลๆ และลดระยะทางในการขนส่งลง ไม่ว่าจะเป็นแง่ของปริมาณของและพื้นที่ เช่นเดียวกับการเพิ่มสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้นซึ่งจะช่วยให้ขายสินค้าตามต้องการที่หลากหลายและปรับตัวตามความต้องการสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤต การกระจายช่องทางในการขนส่งก็ช่วยให้ห่วงโซ่อุปทานดำเนินการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีส่งสินค้าไปตามร้านค้าในภาวะปกติมาเป็นส่งตรงถึงลูกค้าได้ในช่วงการระบาด การลดความซับซ้อนในตัวสินค้าและการผลิตลงก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินการลงได้

บทสรุป

วิกฤตโควิดทำให้พฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการเปลี่ยนไปแบบผลิกฝามือ ส่งผลให้ระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารต้องปรับตัวขนานใหญ่เพื่อรับมือความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่มาพร้อมกับวิกฤตมากขึ้นในอนาคต เราได้เรียนรู้ว่าการรักษาแหล่งพื้นที่อาหารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยเฉพาะกับประชากรที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางที่ประสบภาวะขาดแคลนอาหารมากขึ้นเป็นสองเท่าจากปกติ หรือประมาณ 265 ล้านคนในปลายปี 2020 ดังนั้น การลดการจำกัดการกักตุนสินค้า เพิ่มมาตราการผลิตสินค้า และลดการสูญเสียผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวจึงเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐในการออกนโยบายต่างๆ ให้เอื้อต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในภาวะวิกฤต การเข้ามาของวิกฤตโควิดก็ช่วยให้เราหันกลับมาทบทวนและหันมาแก้ไขให้ระบบอาหารให้มีคุณภาพ เข้าถึงและยั่งยืนมากขึ้นในทุกมิติในอนาคต

Reference

  • Shay Eliaz and Lily Murphy (2020). Deloitte – A Shock to the Food System, Lessons Learned from the COVID-19 Pandemic.