“บทบาทเกษตรในเมืองในการรับมือวิกฤต” ตอนที่ 2

วิกฤต COVID -19   ถือเป็นช่วงบททดสอบสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพของเกษตรในเมืองในระดับสากล โดยจะขอชวนไปพิจารณาสถานการณ์ในเรื่องเกษตรในเมืองของต่างประเทศ จากหลายกรณีศึกษาแต่ละที่มีความโดดเด่น  ในช่วงเวลาดังกล่าว

มีองค์กรที่ชื่อว่า RUAF (www.ruaf.org)  ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนเรื่องของเกษตรในเมืองในระดับสากล และทำงานร่วมกับ FAO ในการสังเคราะห์ประสบการณ์ร่วมกันในช่วงของการรับมือกับ  COVID -19  ในระดับเมือง ซึ่งได้สรุปว่า บทบาทเด่นของเกษตรในเมือง มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ตัวของเกษตรในเมือง ไปเชื่อมโยงกับระบบอาหารของเมืองได้ หรือ พูดในอีกแง่หนึ่ง คือ เกษตรในเมืองไม่ใช่เรื่องของการผลิตอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของ Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน ที่เชื่อมโยงเกื้อกูลระหว่างการผลิตที่อยู่ในเมือง อยู่ในชานเมือง และเชื่อมโยงไปสู่ขอบเมืองหรือปริมณฑลเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดตัวระบบอาหารทางเลือกขึ้นมา ซึ่งถ้าไม่เกิดระบบอาหารแบบนี้ขึ้นมา โอกาสที่เกษตรในเมืองจะเป็นแค่การผลิตอาหารขึ้นมา หรือเกษตรในเมืองมองแค่เรื่องเมืองผลิตอาหารเท่านั้น มันก็จะไม่มีพลังพอที่จะรับมือกับวิกฤตได้  

(1)เมืองโตรอนโต้  ประเทศแคนาดา อยากจะขอหยิบยกขึ้นมาพูดถึงก่อน เพราะการดำเนินงานที่โดดเด่นของเมืองโตรอนโต้นี้ เป็นตัวอย่างของการประสบปัญหาที่น้อยมากเกี่ยวกับเรื่องอาหาร และการกระจายอาหาร

ในช่วง Covid-19  เมืองแห่งนี้แทบจะไม่ถูกอินเตอร์รัพท์ (Interrupt) เลย ด้วยเหตุผลที่สำคัญก็คือ เขาใช้ประสบการร์มามากกว่า 30 ปี ในการพยายามผนวกเรื่องของอาหารเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบเมือง  ภายใต้ไอเดีย Circular food economy มานาน (ทำให้เกษตรในเมืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบเมือง) ดูแลโดย Toronto Food Policy Council ซึ่งเป็นสภาอาหารที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเป็นต้นแบบสภาอาหารของโลก และในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีเมืองไหนที่มีสภาอาหารที่เข้มแข็งขนาดนี้  สถาอาหารแห่งนี้มีตัวแทนจากทั้งเทศบาลและพลเมือง

 

การผนวกเรื่องของอาหาร เรื่องเกษตรในเมืองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบเมือง ก็เหมือนกับที่สวนผักคนเมืองทำ คือ การหมุนเวียนเอาขยะอินทรีย์มาผลิตอาหาร การใช้ประโยชน์พื้นที่รกร้างว่างเปล่ามาผลิตอาหารให้กับเมือง เชื่อมโยงไปสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การดูแลระบบนิเวศของเมือง  คือ การทำให้ทุกอย่างเชื่อมร้อยกัน  ไม่ใช่ว่าเรื่องเกษตรในเมืองคือสิ่งแปลกปลอมของเมือง ทั้งนี้ยังมีอีกหลาย Key success factor ที่สนับสนุนให้เมืองโตรอนโต้ไม่ต้องเผชิญกับวิกฤตอาหาร

  • มี publicly-owned food terminal
  • มี supply management system เกษตรในเมืองต้องเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด
  • เกิด Toronto’s “community of food practice” เป็นเครือข่ายเรื่องอาหารที่เข้มแข็ง เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
  • มี Food banks มาอย่างยาวนาน เช่น FoodShare and the Stop ซึ่งเป็น city-based food bank ที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา  และในช่วง Covid-19 เป็นช่วงเวลาสำคัญเลยที่ได้แสดงให้เห็นบทบาทความสำคัญของการมี Food banks ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการถกเถียงกันว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมี Food banks แต่ในวันนี้เราแทบจะไม่ต้องเถียงกันเลย เพราะวิกฤตนี้ได้ชี้ชัดแล้วว่า มันมีความสำคัญมาก Food banks ได้แสดงบทบาทในการ distribution of food boxes and prepared meals
  • Community Food Centers Canada และ Second Harvest (food recue organization) ช่วยระดมเงินบริจาคมาให้ community-based emergency food services โดยได้เงินบริจาคมามากถึง 20 ล้านดอลล่า เพื่อสนับสนุนการผลิตอาหาร การกระจายอาหารเพื่อช่วยเหลือผู้คนในยามวิกฤต
  • สถาบันสอนทำอาหาร (The Chef School at George Brown College) ช่วยทำอาหารแจกนักเรียน-นักศึกษา

กรณีของเมืองโตรอนโต้  ประเทศแคนาดา จึงเป็นบทพิสูจน์สำคัญที่แสดงให้แห็นว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เรื่องเกษตรในเมือง ถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบเมือง และการพัฒนาเมือง จะช่วยสนับสนุนให้เมืองเหล่านั้นมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัว เผชิญกับวิกฤตได้ดี

 

(2)เมืองกี้โต้ ประเทศเอกาดอร์  ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาเหมือนกับบ้านเรา และเอาเข้าจริงๆ เอกาดอร์ ก็เผชิญกับวิกฤตบ่อยมาก ในช่วงก่อนที่จะเจอกับ Covid-19 ประเทศนี้ก็เจอกับปัญหาทางการเมืองที่รุนแรงมาก และก็เผชิญกับวิกฤต Covid-19 ที่รุนแรงมากเช่นกัน ประชาชนล้มทั้งยืนเลยก็มีอย่างที่เราเห็นภาพข่าวกัน พูดง่ายๆ คือ เขาอยู่บนความวิกฤตมาโดยตลอด  

 แต่เมืองนี้มี “ยุทธศาสตร์อาหารของเมือง” มาก่อนหน้านี้ จึงสามารถทำให้เมืองแห่งนี้มีเกราะป้องกันคนเมืองให้คนเมืองรอดพ้นจากวิกฤตอาหาร แม้จะไม่สามารถทำได้ร้อยเปอร์เซ็น  แต่ความน่าสนใจก็คือ ยุทธศาสตร์อาหารหรือนโยบายอาหารมักจะถูกพูดถึง และก็มักจะถูกตีตกไป ยกตัวอย่างในบ้านเราอาจารย์ก็มีโอกาสได้เสนอนโยบายนี้แก่กรุงเทพมหานคร และเมืองเชียงใหม่เองก็พยายามพูดถึง แต่มันก็กลายเป็นเรื่องอื่นแทน เช่น กลายเป็นเรื่องย่านนวัตกรรม กลายเป็นเรื่องอุตสาหกรรมอาหาร พูดถึงการแปรรูปโดยเอาผลผลิตมาจากชนบทเหมือนเดิม แต่บ้านเรามันยังไม่มีการพูดถึงยุทธศาสตร์อาหารของเมือง ที่พูดถึงทั้งการผลิตอาหารในพื้นที่เมือง ห่วงโซ่อาหาร ระบบอาหารของเมืองทั้งระบบ   ซึ่งเมืองกีโต้ ก่อนวิกฤตเมืองแห่งนี้มี Quito Food Strategy ที่ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเมือง รวมไปถึง

  • การันตีความพอเพียงของสินค้าในตลาดอาหารที่เมืองผลิตได้เอง ประมาณ 1.35 ล้านกิโลกรัมต่อปี และระบบการกระจายสินค้าที่เข้าถึงจากทุกมุมเมือง (อนุญาตให้มีการขนส่งอาหารได้ตามปกติ แม้การใช้ยานพาหนะ ของคนทั่วไปใช้ได้สัปดาห์ละวันเท่านั้น)
  • การควบคุมราคาสินค้าอาหารเป็นไปได้อย่างจริงจัง
  • มีการบริหารคิวอย่างดีในการใช้บริการตลาดสดของเทศบาล
  • ควบคุมความหลากหลายทางชีวภาพ แม้แต่ในยามวิกฤต (ป้องกันการฉวยโอกาส) อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ในช่วงวิฤตก็มักจะเกิดขึ้นถกเถียงเรื่องการผลิต เพื่อตอบสนองกับความต้องการให้ได้มากและรวดเร็ว ก็มักจะมีการพิจารณาว่า จะ GMO ไหม ปลูกพืชเชิงเดี่ยวไหม แต่เมืองกีโต้ให้ความสำคัญเรื่องยุทธศาสตร์ของอาหารไปจนถึงเรื่อง การรักษาความหลากหลายของอาหาร และพันธุกรรมอีกด้วย
  • ควบคุมการเปิด-ปิด ร้านอาหารต่างๆ
  • แบ่งปันอาหารให้กับคนไร้บ้านและแรงงานยากจน ประมาณ 11 ตันต่อสัปดาห์ สามารถระดมอาหารไปแจกผู้คนได้
  • มีบริการขนส่งอาหารถึงบ้านกลุ่มคนเปราะบางที่ติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านทางเทศบาล ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ถ้าประชาชนเข้าไม่ถึงอาหารก็สามารถติดต่อเข้าไปที่เทศบาล และเทศบาลจะจัดส่งอาหารให้ถึงบ้าน
  • นี่คือผลพวงจากการมียุทธศาสตร์และนำยุทธศาสตร์ไปขับคลื่อน จึงทำให้พอมีวิกฤตเกิดขึ้น ประชาชนจึงไม้ได้รับผลผลิตในเรื่องอาหารมากนัก

 

(3)เมืองเจียงซู ประเทศจีน เมืองนี้ก็มีความน่าสนใจ แต่ก็ยังเน้นไปที่บทบาทของภาครัฐ เทศบาล ซึ่งเป็นผู้ปกครองของเมืองที่มีบทบาทสำคัญ เทศบาลของจีนจะมีความแตกต่างจากประเทศอื่นๆ คือ ไม่ใช่เทศบาลที่มีความอิสระมากนักจากส่วนกลาง จะมีความเชื่อมโยงกับส่วนกลางมากกว่าประเทศอื่นๆ  อาจจะเรียกว่า เป็นรัฐบาลท้องถิ่น

  • ให้การสนับสนุนทางการเงินผู้ประกอบการรายย่อยที่ทำเรื่องอาหาร ด้านการเกษตรสำหรับใช้นวัตกรรมมาช่วย เช่น เทคโนโลยีใหม่ๆ การทำสวนแนวตั้ง ระบบซื้อขายออนไลน์ ฯลฯ ที่จะช่วยให้เกิดระบบการผลิตอาหาร การกระจายอาหารที่ดีขึ้นในช่วงวิกฤต เมืองเจียงซูมีความน่าสนใจมากในเรื่อง การคิดค้นมาตรการสนับสนุนเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาในช่วงวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว
  • สนับสนุนการเข้าถึงเงินกู้ธนาคารของรัฐ เช่น ฟาร์มระดับครัวเรือน แห่งละ 0.5 ล้านหยวน( 2.5 ล้านบาท) และฟาร์มสหกรณ์แห่งละ ในวงเงิน 4 ล้านหยวน ( 20 ล้านบาท)
  • ช่วยรับรองทางการเงิน สำหรับผู้ประกอบการทางการเกษตรที่มุ่งพัฒนานวัตกรรม ในวงเงิน 10 ล้านหยวน (50 ล้านบาท)
  • ช่วยเหลือเรื่องดอกเบี้ย โดยเอาเงินงบประมาณ 2% ไปอุดให้ดอกเบี้ยต่ำลง
  • ลดค่าประกันความเสียหาย โดยกรณีการปลูกพืชสำคัญ หรือพืชจำเป็นสำหรับการบริโภค ทำประกันให้เลย โดยไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
  • สนับสนุนงบประมาณสำหรับการขายผลผลิตออนไลน์ เช่น ให้ 50,000 หยวน ( 250,000 บาท) ถ้าสามารถขายผลผลิตมูลค่า 1 ล้านหยวน ภายในเมืองได้
  • ช่วยกำหนดมาตรการลดค่าเช่า

 

(4)เมืองเกรละ ประเทศอินเดีย  ซึ่งเป็นเมืองที่มีมิติทางวัฒนธรรมมาก โดยเฉพาะวัฒนธรรมอาหาร และเมืองนี้ก็เน้นบทบาทของรัฐบาล ซึ่งอาจารย์คิดว่า มีความน่าสนใจมาก ที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายมาเลยว่า จะแจกข้าวสารให้ประชาชน ไม่ใช่การไปแจกเงิน แต่มุ่งไปที่การแจกอาหาร ปัจจัยการดำรงชีพเลย

  • แจกข้าวสารที่ผลิตในเมือง และพื้นที่โดยรอบ 35 กิโลกรัม สำหรับคนจนเมือง ซึ่งคิดเป็น 11.3% ของคนทั้งเมือง ส่วนคนทั่วไปได้ 15 กิโลกรัม
  • ใช้งบประมาณ 45 ล้านดอลล่า สำหรับแจก Food kits อุปกรณ์สำหรับการพึ่งตนเองด้านอาหาร ซึ่งมี 17 items มูลค่าชุดละ 13 ดอลล่า สำหรับประชาชนในการพึ่งตนเอง

 

(5)เมืองเมเดลลิน ประเทศโคลัมเบีย  เน้นบทบาทของเทศบาล

  • มีโครงการผลิตอาหารของเมือง ด้วยการใช้พื้นที่รกร้างว่างเปล่าเปลี่ยนมาเป็นแปลงผลิตอาหาร เหมือนที่เชียงใหม่ และหลายเมืองกำลังทำอยู่
  • มี municipal program of urban and peri-urban gardens ในช่วงกักตัว ซึ่งผลิตอาหารได้ 20 ตัน
  • และยังทำหน้าที่เชื่อมโยงและกระจายอาหารให้กับคนเปราะบางในเมือง สร้าง food distribution channels สำหรับการกระจายอาหาร มากกว่า 7 ตัน ภายในเมืองต่อวัน

สร้าง digital platform สำหรับ Online Farmer’s Markets มากถึง  120 แห่ง ภายใน 3 วันแรก เข้าถึงคนมากกว่า 12,000 คน โดยกระจายอาหารได้ถึง 8.2 ตัน


(6)เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่เน้นบทบาทของประชาสังคม

  • ผู้ประกอบการทางสังคมที่ผลิตและกระจายอาหารในเมือง รวมตัวกันในนาม the moving feast โดยการช่วยแบ่งปันอาหารที่ผลิตในเมือง การเดินทางของอาหารไม่เกิน 100 ไมล์ (ผลผลิตได้ประมาณ 40% ของความต้องการบริโภคของเมือง) ให้ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงแจกอุปกรณ์การทำสวนและปัจจัยการผลิต (backyard gardening kits)
  • พวกเขายังไปใช้สวนสาธารณะของชุมชนที่มีแต่ไม้ดอกไม้ประดับมาปลูกผัก เพื่อนำผลผลิตไปช่วยเหลือคนในสังคม ซึ่งกำลังกลายเป็น new normal ที่กำลังขยายวงออกไป ซึ่งในอดีตทางออสเตรเลีย ไม่ได้มีวัฒนาธรรมในการปลูกผักในสวนสาธารณะ เหมือนทางฝั่งยุโรป แต่ในยุค Covid-19 เรื่องนี้ได้รับความสนใจและขยายเป็นวงกว้าง  สวนสาธารณะของชุมชนก็จะมีพื้นที่ปลูกผัก  ซึ่งในบ้านเราก็น่าจะมีนโยบายและทิศทางแบบนี้บ้าง คือ ให้ประชาชนคนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่สวนสาธารณะด้วย ไม่ใช่แค่ให้เจ้าหน้าที่ทำได้เท่านั้น
  • พวกเขาเปิดตลาดเกษตรออนไลน์ บนช่องทางชื่อว่า the open food network
  • บางส่วนเป็นเจ้าของร้านอาหาร ตัดสินใจแปลงตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการทางสังคม เช่น ร้าน Fair Feed ซึ่งช่วยคนงานให้มีอาหารกิน และขายอาหารที่เหลือในราคาถูก


(7)เมืองอันตานานารีโว ประเทศมาดากัสการ์  ความน่าสนใจคือ การเน้นบทบาทครัวเรือน

  • ส่งเสริมแต่ละครัวเรือนให้ทำ micro-food system ของตัวเอง ด้วยการสร้าง food flow mapping อย่างง่าย
  • micro-food system ซึ่งเล็กกว่า local- food system มันหมายถึงว่า การที่แต่ละครัวเรือน การเดินทางของอาหารมาถึงครัวของเขามันมาอย่างไรบ้าง ในชีวิตประจำวันเขาพึ่งพาอาหาร การเดินทางของอาหารจากตรงไหนบ้าง แล้วแต่ละครัวเรือนก็จะมี local- food system  ของตัวเอง และบางอย่างก็จะอยู่ภายใต้ local- food system  หรือจะอยู่ในระบบอาหารกระแสหลักก็แล้วแต่
  • แต่ความน่าสนใจคือ ภาคแระชาสังคม หรือ NGO นี่แหละที่เข้าไปสนับสนุนให้แต่ละครัวเรือน ทำ food flow mapping เพื่อให้แต่ละครัวเรือนได้เห็น micro-food system ของตัวเอง แล้วนำข้อมูลตรงนี้ไปวิเคราะห์ช่องว่างของอาหาร การเดินทางของอาหารในภาพรวมของในเมืองเป็นอย่างไร จากความต้องการอาหารจริงๆ ในระดับครัวเรือน

 

(8)เมืองไนโรบี ประเทศเคนยา เน้นบทบาทของผู้ได้รับผลกระทบ/คนจนเมืองเอง

  • คนจนเมือง รวมถึงคนไร้บ้าน 35 คน รวมตัวกันผลิตอาหารในพืนที่สาธารณะ ในลักษณะเดียวกันกับ Diggers ในอดีต


มีข้อสรุปสำคัญๆ ที่พอจะเห็นความสำคัญ และแนวทางการรับมือกับวิกฤติของพื้นที่เมือง
ประการแรก : การรับมือกับวิกฤติของพื้นที่เมือง ค่อนข้างจะขึ้นอยู่กับตัวนโยบายของเมืองค่อนข้างมาก  อย่างที่อาหารได้พูดถึงในเกือบทุกเมือง คือ ยุทธศาสตร์อาหารของเมือง หรือ สภาอาหารของเมือง มีบทบาทสำคัญมากในการกำหนดแนวทางของเมืองที่จะรับมือกับวิกฤตได้   สภาอาหารแห่งเมือง มีความน่าสนใจมาก ถ้าเราจะกลับไปช่วยกันสร้างยุทธศาสตร์อาหารของเมือง ให้เกิดขึ้นทั้งการผลิต การเชื่อมโยงและกระจายอาหาร การออกแบบผังเมืองที่สอดคล้อง สนับสนุนการผลิต การเชื่อมโยงและกระจายอาหารของเมือง
ประการที่สอง : เรื่องการผลิตอาหาร การปลูกผักแบบบ้านใครบ้านมัน หรือการสร้างพื้นที่อาหารในเมือง ไม่ได้เป็นไปเพื่อเรื่องของอาหารเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเชื่อมโยงกับชีวิตในมิติอื่นๆ และเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของระบบเมือง  และการผลิตอาหารที่เกิดขึ้นในเมือง ยังจำเป็นต้องหาระบบเชื่อมโยงและกระจายอาหารให้ทั่วถึงกันเข้ามารองรับด้วย  ซึ่งทั้งในกรณีของสวนผักคนเมือง และบทเรียนของต่างประเทศ มีความเหมือน กันคือ ต้องมีระบบเชื่อมโยงและกระจายอาหารทั้งห่วงโซ่ ทั้งจากการผลิตในเมือง ชานเมือง และชนบทเชื่อมโยงกัน เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกรุงเทพมหานคร  เมืองใหญ่ๆ อย่างยโสธร อำนาจเจริญ ที่จังหวัดอยากมีแผนเรื่องอาหาร เราควรจะทำเรื่องยุทธศาสตร์อาหารของเมือง  หรือทำอย่างไรก็ได้ให้อาหารกระจาย
ประการที่ 3 : การมียุทธศาสตร์เรื่องอาหาร ทำให้เรามีปรัชญานำหน้าในการ มีหลักการที่ชัดเจน ไม่ว่าจะมีวิกฤตไหนเข้ามาที่อาจจะทำให้เราไหลไปตามกระแสหรือการชักจูง ปรัชญาหรือหลักการที่เราวางไว้อย่างมั่นคงก็จะช่วยดึงเรากลับมาให้อยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง

 

ผศ.ดร. ปิยะพงษ์ บุษบงก์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในงานสมัชชาความมั่นคงทางอาหารประจำปี 2563  “สร้างสังคมความมั่นคงทางอาหาร เผชิญหน้าวิกฤต”
ระหว่างวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2563 ณ สวนชีววิถี
 

 

ที่มาของรูปภาพจาก

https://whyhunger.org/category/articles/what-a-food-policy-council-can-do/

http://www.fao.org/in-action/food-for-cities-programme/news/detail/en/c/1275076/

https://ruaf.org

https://panorama.solutions/en/solution/quitos-participatory-urban-agriculture-programme-agrupar

http://www.fao.org/in-action/food-for-cities-programme/news/detail/en/c/1276460/

https://newsable.asianetnews.com/coronavirus-india/kerala-govt-free-grocery-kits-what-is-in-the-bag-q8m3wg

https://www.urbanet.info/beyond-urban-city-region-food-systems/

https://cities-today.com/cities-call-on-un-for-food-policy-recognition/

https://movingfeast.net/