การล็อคดาวน์ของอามิด : ชาวศรีลังกามีโอเอซิสของตนเองด้วยการทำสวนที่บ้าน

  • การทำสวนที่บ้านกลับมาได้รับความนิยมหลังผู้คนหันมาปลูกผักผลไม้สดกินเองในช่วงมาตรการล็อคดาวน์
  • รัฐบาลที่เคยทำเรื่องสวนผักที่บ้านมาก่อน ได้เริ่มโครงการสนับสนุนการทำสวนผักที่บ้านด้วยชุดเมล็ดผัก 2 ล้านชุด และคำแนะนำต่างๆที่ใช้ในการทำสวนผักที่บ้าน
  • จากการเริ่มคลายล็อคดาวน์ รัฐบาลได้เพิ่มกำลังใจในการทำสวนที่บ้าน ด้วยการเพิ่มความน่าสนใจในการทำสวนผักที่บ้าน เช่น การเน้นให้ประชาชนผลิตอาหารบางชนิดเองแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
  • ขณะที่ประโยชน์หลักๆของสวนผักที่บ้านคือ เพิ่มความมั่นใจในเรื่องความมั่นคงทางอาหารให้กับระดับบุคคลและครอบครัว อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการเป็นกิจกรรมกลางแจ้งที่ช่วยลดความตึงเครียดในครอบครัว

โคลัมโบ – วันที่ 22 เมษายน ประเทศศรีลังกาได้ประกาศล็อคดาวน์ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19  ซึ่งทำให้เกิดการซื้อสินค้าที่จำเป็น อาหารสำหรับการประทังชีวิต แต่ก็มีรายการสินค้าบางอย่างที่มีความต้องการสูงอย่าง ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ กระถางดิน โดยมีประชาชนจำนวนมากที่มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะซื้ออุปกรณ์สำคัญๆสำหรับทำสวนที่บ้าน มาต่อเข้าต่อแถวเข้าคิวกันอย่างเป็นระเบียบ และมีการเว้นระยะห่างตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

สินค้าต่างๆเริ่มขาดตลาดมาตั้งแต่การล็อคดาวน์ ในวันที่ 16 มีนาคม เนื่องจากอาหารที่มาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือ และทางตอนกลางของประเทศ ถูกระงับชั่วคราวจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 ด้วยความคลุมเครือของการขาดแคลนข้าวและผัก ความสนใจการทำสวนผักที่บ้านจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก แม้กระทั่งกับตัวของคนเมือง การปลูกผักที่บ้านจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ New normal

การโปรโมตออนไลน์สวนผักตามบ้าน

ข้อเสนอแนะและคู่มือสำหรับการทำสวนที่บ้านได้เผยแพร่บน Youtube และ Facebook ด้วยการให้คนทั่วไปได้แสดงประโยชน์ของการปรับปรุงดิน การเตรียมการเพาะปลูกในระยะเวลาสั้นๆ ให้แก่โลกได้เห็น

Nuwan Nilamuni สมาชิกคนหนึ่งของรัฐบาลท้องถิ่นในทางตอนใต้ของศรีลังกา ได้สร้างกลุ่มเฟซบุ๊คขึ้นมาร่วมกับเพื่อนร่วมงานตอนปลายเดือนมีนาคม เพื่อสนับสนุนการทำสวนที่บ้านและยังได้สร้างแพลตฟอร์มเพื่อที่จะได้พูดคุย ถกเถียงกันในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยกลุ่มนี้มีสมาชิกถึง 100,000 สมาชิกภายใน 1 เดือน และยังมีกลุ่มอื่นๆอีกมากมายที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดใน social media ตลอดช่วงเวลาการล็อคดาวน์ ขณะที่เพจหรือช่องต่างๆที่มีคอนเทนต์เกี่ยวกับการทำสวน การทำฟาร์มที่มีอยู่แล้วก็ทำลายสถิติเดิมของการเพิ่มขึ้นของผู้ติดตามอย่างมากมายมหาศาล

การล็อคดาวน์ยังคงดำเนินอยู่ ความไม่แน่นอนว่าอีกนานเท่าไหร่กว่าสถานการณ์ต่างๆจะสิ้นสุด ทำให้อาหารที่ถูกมาวางขายบนชั้นต้องมีระยะเวลาการเก็บรักษาได้นานๆ ซึ่งหมายความว่าก็จะมีแต่อาหารแห้งๆจำนวนมาก แต่จะไม่มีผัก ผลไม้ รวมถึงข้าว และการที่ระบบการกระจายอาหารถูกทำให้กระจุกเป็นคอขวดจากผลของการกักตัวถ้าต้องเดินทางข้ามเขต สิ่งเหล่านี้นำประชาชนทำให้คนตระหนักถึงคุณค่าของการลงมือปลูกพืชผักเอง ผลิตอาหารเอง และด้วยประชาชนที่ถูกกักตัวไว้ในบ้าน ไม่สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ การปลูกพืชผักของตนเองจึงกลายเป็นการปลอบใจตนเองที่ดี

สื่อท้องถิ่นได้ทำแคมเปญเบื้องหลัง เช่น ชาเลนจ์ทำสวนที่บ้าน (Home gardening challenge) จากนักกีฬาคริกเกตของประเทศ ผู้ซึ่งเป็นซูเปอร์สตาร์ในแวดวงกีฬาของประเทศ ซึ่งพวกเขาสาธิตให้ดูวิธีการเตรียมแปลงผักหลังบ้านเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจใช้กับผู้คน

ศรีลังกา เป็นเกาะเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียน มีภูมิอากาศหลากหลายสามาถทำเกษตรได้ทั้งปี สวนผักที่บ้านในศรีลังกามีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 13 ของพื้นที่ทั้งหมด ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของสวนผักที่บ้านที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร รัฐบาลได้ทำโครงการ Saubagya ผ่านกระทรวงเกษตรเพื่อจะสนับสนุนสวนผักที่บ้านนับล้านแห่ง

ภายใต้โครงการนี้ ทางการได้กระจายเมล็ดพันธุ์กว่า 2 ล้านห่อไปตามครัวเรือน W.M.W.Weerakoon ผู้อำนวยการทั่วไปของกระทรวงเกษตร บอกกับ Mongabay และยังได้กล่าวต่ออีกว่า

“พวกเราให้ห่อเมล็ดผัก ซึ่งมันหมายถึง ความกล้าในการลองทำสวนผักที่บ้าน ผู้คนสามารถค้นหาสิ่งของอย่างอื่นที่ใช้ในสวน เช่นใบไม้สีเขียว ดังนั้นพวกเขาสามารถขยายสวนของพวกเขาเองได้”

“กระทรวงมีเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืช และการเพิ่มผลผลิต ประชาชนสามารถติดต่อสายฮอตไลน์การเกษตรของกระทรวงเกษตรได้ตลอดเวลา” Weerakoon กล่าว

Weerakoon ยังกล่าวเสริมอีกว่า กระทรวงเกษตรพยายามที่จะสนับสนุนสวนผักที่บ้านหลายครั้งมากๆในอดีตที่ผ่านมา แต่ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย ความสนใจปัจจุบันเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารสำหรับครัวเรือน ที่จะเป็นเหตุให้มีแรงดันจากตัวของเจ้าของสวนผักเอง ซึ่งจะกลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ

การล็อคดาวน์ที่ศรีลังกาได้คลายตัวแล้ว 23 เขตจาก 25 เขต ประชาชนจึงต้องการกำลังใจเพื่อที่จะรักษาความสนใจในการทำสวนที่บ้าน พวกเรากำลังเตือนสาธารณะถึงคุณค่าของการผลิตอาหารด้วยตัวเอง โดยอาหารพวกนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผักที่วางขายตามตลาดที่ปกติจะอุดมไปสารตกค้างจากสารเคมีทางการเกษตร Weerakoon พูดปิดท้าย

 

สวนผักของบ้านในเมือง

ขณะที่พื้นที่เขตชนบทนั้นมีที่ดินเพิ่มขึ้นสำหรับการทำสวนผักที่บ้าน ส่วนประชากรคนเมืองถูกจำกัดด้วยปัญหาการขาดแคลนที่ดิน ถ้าคุณไม่มีความตั้งใจและความสนใจจริงๆ Arulkumar Jebamani, ผู้ที่อาศัยในชั้นสองของอพาร์ตเมนต์ใน Bambalapitiya ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองโคลัมโบ ศูนย์รวมของแหล่งเศรษฐกิจ “ฉันมีระเบียงสองระเบียง และดาดฟ้าที่มีหลังคา ฉันเลยใช้กระถางปลูกต้นไม้ในพื้นที่เล็กๆกลางเมือง”

Udaya de Silva  อดีตผู้อำนวยการกระทรวงเกษตร ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการทำสวนผักที่บ้านในประเทศศรีลังกา เชื่อว่าศรีลังกาต้องพยายามที่จะลดการนำเข้าเครื่องเทศที่มีชื่อเสียง เช่น ขิง และ ขมิ้น โดยสิ่งที่ดีที่สุดคือการปลูกสมุนไพรไว้ที่บ้านของตนเอง

“นี่คือเวลาที่ดี ที่จะปลูกขิงและขมิ้นชัน ซึ่งต้องใช้เวลาเติบโตเต็มที่ถึง 8 เดือน ผู้คนจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนธันวาคหรือเดือนมกราคม ”

มียาสมุนไพรจำนวนมากที่ถูกค้นพบในประเทศศรีลังกา โดยเชื่อกันว่ามันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบประสาท “ ผู้คนสามารถปลูกพืชที่เป็นยาของตนเองได้โดยไม่ต้องการความดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เช่น ต้นอินทรีย์ภูเขา และหน่อไม้ฝรั่ง ”  Udaya de Silva  กล่าวเสริม

“ก่อนช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ร้านค้าที่ขายอุปกรณ์สำหรับการทำสวนนั้นไม่มีปุ๋ยขาย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว ผู้คนจึงต้องเรียนรู้การทำปุ๋ยด้วยตนเอง”  Nalika Ranathunga จากคณะการเกษตร มหาวิทยาลัย Ruhuna ผู้ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคพืช เล่าให้เราฟัง

“ของเสียครึ่งหนึ่งในประเทศศรีลังกาถูกทำให้ย่อยสลาย ถ้าในระดับบุคคลเปลี่ยนขยะที่สามารถย่อยสลายได้ให้เป็นปุ๋ย มันจะสามารถลดขยะของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์กับการทำสวนผักที่บ้าน” Ranathunge กล่าว

Ranathunge  ได้บอกกับ Mongabay ว่าการทำสวนที่บ้านนั้นมีคุณค่ามากกว่าการผลิตอาหาร ครอบครัวของเธอนั้นทุกคนล้วนเกี่ยวข้องกับการทำสวนผักที่บ้านของตัวเอง โดยเธอเสริมว่า การทำสวนผักที่บ้านนั้นสามารถเพิ่ม Productive ในการทำงานได้ และยังเป็นออกกำลังกายที่ดีได้อีกด้วย

“ในช่วงเวลาที่ตึงเครียด การทำสวนผักเป็นกิจกรรมที่สามารถรองรับความเครียดและความกดดันของคนปลูกได้ การทำงานด้วยกันนั้นจะนำมาซึ่งความเชื่อมโยงกันในครอบครัว ผ่านกิจกรรมที่สร้างประโยชน์และเป็นช่วงเวลาคุณภาพของครอบครัว อีกทั้งยังผลผลิตประจำปีให้กับเจ้าของสวนอีกด้วย”

ที่มา  : https://news.mongabay.com/2020/05/amid-lockdown-sri-lankans-nurture-their-own-oases-through-home-gardening/