มุมมอง ประสบการณ์ และแนวทาง การจัดการวัชพืชโดยวีถีเกษตรกรรมเชิงนิเวศจากต่างประเทศ

โดย นคร ลิมปคุปตถาวร

เกษตรกรชีวพลวัตและนักวิชาการอิสระด้านเกษตรกรรมยั่งยืน

ศูนย์อบรมเกษตรในเมือง บ้านเจ้าชายผัก (ลาดพร้าว 71)

เปิดดวงตา มองมุมใหม่ กับวัชพืช: จากมุมมองและประสบการณ์เกษตรกรรมเชิงนิเวศ

วัชพืชเป็นวัชพืชเฉพาะในมุมมองอันหยิ่งยโสของมนุษย์เท่านั้น เพราะมันขึ้นในพื้นที่ที่เราไม่ต้องการให้มันขึ้น แต่ในธรรมชาติวัชพืชมีบทบาทสาคัญและน่าสนใจ เพราะทนทานต่อสภาพที่พืชที่เราเพาะปลูกทนไม่ได้ เช่น ความแห้งแล้ง ดินเป็นกรด ดินขาดฮิวมัส ขาดแร่ธาตุ หรือมีแร่ธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป

วัชพืชเป็นประจักษ์พยานของความล้มเหลวของมนุษย์ที่พยายามบงการดิน มันขึ้นดาษดื่นในที่ที่มนุษย์ปลูกอะไรไม่ขึ้น เป็นสิ่งบ่งบอกความผิดพลาดของเราและความถูกต้องของธรรมชาติ

วัชพืชมีเรื่องราวมากมายที่ต้องการจะบอกเล่า เป็นวิธีสั่งสอนมนุษย์ของธรรมชาติ เรื่องราวเหล่านั้นช่างน่าสนใจ ถ้าเพียงแต่เรายอมรับฟัง เราจะเข้าใจอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับพลังอันละเอียดอ่อนที่ธรรมชาติ ได้เกื้อกูล เยียวยา ถ่วงดุล และบางครั้งก็หยอกล้อเรา           

วัชพืชมีเรื่องราวมากมายที่ต้องการจะบอกเล่า เป็นวิธีสั่งสอนมนุษย์ของธรรมชาติ เรื่องราวเหล่านั้นช่างน่าสนใจ ถ้าเพียงแต่เรายอมรับฟัง เราจะเข้าใจอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับพลังอันละเอียดอ่อนที่ธรรมชาติ ได้เกื้อกูล เยียวยา ถ่วงดุล และบางครั้งก็หยอกล้อเรา

Ehrenfried E. Pfeifer

ผู้บุกเบิกเกษตรกรรมชีวพลวัตและเกษตรกรรมอินทรีย์ในสหรัฐอเมริกา

จาก Weeds and What They Tell Us ในปี ค.ศ. 1970

คงจะเป็นการดีเป็นอย่างยิ่งหากการศึกษาและวิจัยด้านวัชพืชในประเทศไทยได้มีมุมมองและประสบการณ์เฉกเช่น ดร.เออร์เรนพรีดไฟฟ์เฟอร์นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นทั้งลูกศิษย์และผู้ร่วมงานของรูดอลฟ์สไตเนอร์1และยังเป็นผู้บุกเบิกเกษตรกรรมชีวพลวัตและเกษตรกรรมอินทรีย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเพราะมุมมองและประสบการณ์ของท่านนั้นเปี่ยมไปด้วยความเคารพการเรียนรู้และแสวงหาการทางานตลอดจนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรหรือเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติซึ่งเป็นหลักการหรือหัวใจสาคัญของเกษตรกรรมเชิงนิเวศและเกษตรกรรมยั่งยืนอื่น ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนักวิชาการอย่างดร.ไฟฟ์เฟอร์แล้วยังมีเกษตรกรอีกหลายคนที่เข้าใจธรรมชาติของวัชพืชและสามารถอยู่ร่วมและทำการเพาะปลูกได้เป็นอย่างดีท่ามกลางการดารงอยู่ของวัชพืช อาทิ เช่น คุณชิมเป มูรากามิ เกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมธรรมชาติในเขตอิหงะ และผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ Ainou Kai ในจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นอดีตประธานสมาคมเกษตรกรแห่งเอเชีย (Asian Farmers Association)ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวต่างชาติผู้มีคุณูปการในการบุกเบิกเกษตรธรรมชาติและเกษตรกรรมอินทรีย์ในประเทศไทยอีกท่านหนึ่ง ตั้งแต่ 20 ปีก่อนในการทำฟาร์มเกษตรกรรมนิเวศที่ใช้ระบบการตลาดแบบชุมชนสนับสนุนการเกษตรเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่สวนดวงตะวันเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ได้กล่าวไว้หนังสือ “สู่สำนึกธรรมชาติ คู่มือเกษตรกรรมนิเวศในเขตร้อน” ตำราเกษตรกรรมเชิงนิเวศสำหรับเกษตรกรเล่มแรกๆ ที่มีจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า 

Shimpei Murakami

ชาวญี่ปุ่นผู้มีคุณูปการในการริเริ่มเกษตรกรรมอินทรีย์ในประเทศไทยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ AINOUKA จังหวัดมิเอะเกษตรกร และอดีตประธานสมาคมเกษตรกรแห่งเอเชีย

วัชพืชเป็นการปฐมพยาบาลของธรรมชาติ…

“เฉกเช่นผิวหนังของมนุษย์เรา เมื่อเกิดบาดแผลจะเกิดเนื้อเยื่อบางไปหุ้มบริเวณผิวหนังที่ฉีกขาด เพื่อให้เลือดหยุดไหล เมื่อแผลดีขึ้น เยื่อบางๆ นั้นก็หลุดออกไป”

ผืนดินที่โล่งเตียนก็เปรียบเสมือนผิวหนังของธรรมชาติที่ได้รับบาดแผลวัชพืชก็คือผิวหนังบางๆที่ให้การคุ้มครองด้วยการปกคลุมดินเพื่อหยุดยั้งการพังทลายพังพอชอื่นและค้นไม้เริ่มขึ้นวัชพืชก็จะหายไป…    

ดังนั้น บทบาทสาคัญของวัชพืชในธรรมชาติ ก็คือ การอนุรักษ์ดิน มีบทบาทในการยับยั้งการพังทลายของหน้าดิน เวลาฝนตกหนักเราจะสังเกตเห็นน้าโคลนขุ่นไหลหลากจากพื้นที่เพาะปลูกที่ถูกไถพรวน และปราศจากวัชพืชหรือมีวัชพืชขึ้นน้อย ในทางตรงกันข้ามพื้นดินที่มีวัชพืชปกคลุม เราจะเห็นน้ำที่ไหลออกไปเป็นน้ำที่ใสสะอาด ไม่มีการชะล้างหน้าดินออกไป 

นอกจากนี้ วัชพืชยังมีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังมุมมองและประสบการณ์ของคุณชิมเป ที่สอดคล้องกับคุณฮวาง เถียน ควาน และคุณอู๋ สุ่ย หยุน เกษตรกรชาวมาเลเซียและไต้หวันที่ริเริ่มเกษตรชีวพลวัต2ในแปลงขนาดใหญ่ที่สามารถจำหน่ายในเชิงพานิชย์ได้เป็นคนแรกๆ ในกลุ่มประเทศโซนเอเชีย โดยมีข้อสรุปจากประสบการณ์ที่สอดคล้องของทั้งสามคน 

วัชพืช เป็นทั้งเครื่องบ่งชี้และที่มาของความอุดมสมบูรณ์ของดิน

โดยคุณชิมเป ให้ข้อสังเกตว่า วัชพืชแต่ละชนิดมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว บางชนิดชอบขึ้นในดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ บางชนิดขึ้นในดินที่ดีพอประมาณ ลักษณะเหล่านี้ทำให้เราทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ปลูก สภาพความเป็นกรดด่าง ฯลฯ หญ้าคาเป็นวัชพืชที่ชอบขึ้นในดินเร็วมาก จึงเป็นตัวบ่งชี้ว่าดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีวัชพืชอีกหลายชนิดที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เรา

ในแง่มุมเดียวกันนี้ คุณเถียน ได้อธิบายว่า หญ้าคาเป็นหญ้าที่ชอบดินแห้งๆ แข็งๆ จึงมักพบได้ง่าย เกษตรกรมักชอบตัดและถอนรากถอนโคนหญ้าคา แต่แท้จริงแล้ว หญ้าคาขึ้นมาบริเวณนั้นเพื่อมาช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้น ใบหญ้าที่ตกลงมาก็จะช่วยเก็บความชื้นผิวดินให้ แต่ยิ่งเราไปตัดและขนวัชพืชออกมาจากผืนดิน ความชุ่มชื้นก็จะไม่เหลือ ก็เลยยังมีแต่หญ้าคาที่ยังโตได้ เนื่องจากดินมันแห้งและแข็งเกินกว่าพืชชนิดอื่นจะเติบโตได้ 

วัชพืชต่างๆ จึงช่วยทำหน้าที่แผ่ขยายพื้นที่ให้ดินหายใจได้ หรือมีช่องว่างให้เกิดอากาศและน้ำแทรกลงไปได้ จึงสามารถใช้วัชพืชอย่างพืชตระกูลหญ้าและพืชชนิดอื่นๆ ไถกลบหรือปลูกร่วมกับพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดได้ในการปรับปรุงบารุงดิน ดังประสบการณ์ของคุณเถียน

Huang Tien Khuan

เกษตรกรผู้ปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมจากเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรชีวพลวัต

ผู้ฝึกสอนเกษตรชีวพลวัตจากประเทศมาเลเซียและในภูมิภาคเอเชีย

เปลี่ยนหญ้าในแปลงให้กลายเป็นปุ๋ย ไม่ต้องขนปุ๋ยเข้าแปลง

“ตอนที่ผมทำเกษตรอินทรีย์ช่วงแรกๆ ผมก็มักเอาปุ๋ยคอก ขี้วัวมาใช้ในแปลง แต่เมื่อเราสังเกตดีๆ วัวก็กินหญ้าในแปลง แล้วเราจะทำอย่างไรให้หญ้าในแปลงสามารถย่อยสลายกลายเป็นสภาพเดียวกับขี้วัวที่ผ่านระบบย่อยอาหารของวัวไปแล้ว แทนที่เราจะต้องขนหญ้าขนฟางเข้าๆ ออกๆ”

ดังนั้น การพยายามกำจัดวัชพืชโดยการเผาหรือนำเอาออกไปทิ้งนอกไร่นานั้นเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะวัชพืชดูดเอาธาตุอาหารจากดินเพื่อไปผลิตสารอาหาร อย่างคาร์โบไฮเดรตจานวนมาก โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง ธาตุอาหารและคาร์โบไฮเดรตในวัชพืชนั้น สามารถนามาทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยพืชสดเพื่อหมุนเวียนกลับลงไปในดินเพื่อให้ดินมีอินทรียวัตถุและฮิวมัสมากขึ้นและทำให้ดินดีขึ้น

เมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว หากเกษตรกรมีความเข้าใจในการทำการเกษตร เกษตรกรจะเป็นดั่งนักมายากลที่แปรเปลี่ยนเอาผืนดินให้เป็นพืชพรรณที่อุดมไปด้วยอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ดังที่คุณสุ่ย หยุน ได้กล่าวเอาไว้ว่า การสังเกตและเข้าใจดินและสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่มาและกระบวนการสาคัญที่ทาให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง งอกงาม และมีรสชาติดี จะทำให้เราเข้าใจว่าพืชชนิดใดเหมาะกับพื้นที่ของเรา และถ้าพื้นที่ของเรายังไม่ค่อยเหมาะกับพืชตัวนั้น เราจะเข้าใจว่าเราควรจะเสริมสิ่งใดให้กับพืชตัวนั้น เพราะแท้จริงแล้ว สิ่งที่เราทำได้มากที่สุดคือ รักษาและบารุงให้สภาพแวดล้อมเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพราะพืชหาอาหารเองได้ และเขาต้องการหาอาหารเองมากกว่า เราทาหน้าที่เพียงคืนอาหารให้ดินเมื่อเราทาเกษตรเสร็จในแต่ละฤดูกาล การไถกลบปุ๋ยพืชสดที่มีทั้งพืชตระกูลถั่วและวัชพืชหลายชนิด ไม่ต่ำกว่า 20-30 ชนิด จึงเป็นสิ่งสำคัญในการคืนกลับให้กับผืนดิน เป็นเหมือนดั่งทรัพย์ในผืนดินที่ฝากไว้เป็นฮิวมัสหรืออาหารให้กับพืชในการเพาะปลูกของปีถัดไป

 Wu Shui Yun

เกษตรกรผู้ทำเกษตรชีวพลวัตรคนแรกในไต้หวัน

ผู้ฝึกสอนเกษตรชีวพลวัตในภูมิภาคเอเชีย

เข้าใจธรรมชาติ วัชพืชก็ไม่มี

สิ่งที่ดีหรือไม่ดีนั้น ล้วนแต่เป็นการตัดสินโดยตัวเราเอง ธรรมชาติไม่เคยตัดสินว่าอะไรดีหรือไม่ดี ทุกสิ่งในธรรมชาติมีบทบาทและเหตุผลการดำรงอยู่ของเขา เราเพียงต้องเข้าใจว่าทำไมเขาถึงชอบมาอยู่ในผืนนาของเรา”

ภาพการตัดสับปอเทืองและวัชพืชเพื่อเตรียมไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดปรับปรุงดิน(ซ้าย) และภาพดินที่ผ่านการปรับปรุงด้วยปุ๋ยพืชสดกับวัชพืชจนมีโครงสร้างดี (ขวา) ในฟาร์มเกษตรชีวพลวัตของคุณ Ng Tien Khuan ในมาเลเซีย

การมีวัชพืชในแปลง ไม่จำเป็นจะต้องมีผลผลิตต่ำเสมอไป

จากประสบการณ์ของเกษตรกรที่เปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาและการหยั่งรู้ ที่รู้จักและเข้าใจธรรมชาติธรรมชาติเป็นอย่างดี พบว่า การทำเกษตรนั้นสามารถอยู่ร่วมกันกับพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือที่เราเคยเรียกว่า “วัชพืช” ได้ และไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีผลผลิตต่ากว่าการเกษตรที่กำจัดวัชพืชด้วยสารเคมีสังเคราะห์เสมอไป ดังวิถีเกษตรกรรมแบบ “อกรรม” ที่ไม่มีการกาจัดวัชพืช ไม่ใช้กำจัดศัตรูพืช ไม่ไถพรวนดิน และไม่ใส่ปุ๋ยใดๆ อันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวของเกษตรกรรมธรรมชาติตามแนวทางของคุณมาซาโนบุ ฟูกุโอกะ ที่ได้กระตุกมโนสำนึกของเกษตรกรและผู้คนที่สนใจไปทั่วโลก ในช่วงเวลากึ่งศตวรรษที่ผ่านมา       

แม้วันนี้คุณฟูกุโอกะจะได้จากไปแล้ว แต่คุณฟูกุโอกะก็เคยได้พิสูจน์ผลสัมฤทธิ์อันเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลก โดยในไร่นาที่คุณคุณฟูกุโอกะได้เคยทำการเพาะปลูกและดูแลนั้น กลับมีผลผลิตข้าวสูงกว่าผลผลิตเฉลี่ยของประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนมีพืชผักและไม้ผลนานาชนิดขึ้นท่ามกลางพืชป่าและพืชท้องถิ่นที่ขึ้นเอง ที่คนทั่วไปเห็นเป็นวัชพืช 

Masanobu Fukuoka

ปราชญ์เกษตรกรชาวญี่ปุ่น

ผู้แสดงวิถีเกษตรกรรมธรรมชาติแบบไม่กระทำให้โลกได้ประจักษ์

เกษตรกรรมท่ามกลางวัชพืช

วัชพืชหลายชนิดได้เติบโตขึ้นร่วมกับวัชพืช และพืชคลุมดินจาพวกถั่ว ในที่นาแห่งนี้ เกษตรกรเพื่อนบ้านคาดหมายว่า ทุ่งนาของผมจะเต็มไปด้วยวัชพืชขึ้นรกเต็มพื้นที่ แต่ก็ต่างพากันประหลาดใจที่พบว่าข้าวบาร์เลย์เติบโตได้อย่างแข็งแรงมากท่ามกลางวัชพืชชนิดอื่นๆ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคก็มาที่นี่ด้วยพอมองเห็นวัชพืช ผักกาดน้า และโคลเวอร์งอกเต็มไปหมดทั้งพื้นที่ก็ส่ายหัวออกไปด้วยความพิศวงงงงวย

เมื่อ35 ปีก่อน ตอนที่ผมสนับสนุนให้ปลูกพืชคลุมดินถาวรในสวนผลไม้ ในตอนนั้นสวนทั่วไป ไม่มีใบหญ้าสักใบให้เห็นในสวน หรือในนาสักแห่ง ต่อมาเมื่อมีคนมาเห็นสวนของผมจึงค่อยเข้าใจว่าไม้ผลจะปลูกได้ดีท่ามกลางหญ้าและวัชพืชอื่นๆ

ปัจจุบันสวนไม้ผลที่มีหญ้าปกคลุมกลายเป็นสิ่งธรรมดา ในญี่ปุ่นสวนผลไม้ที่ไม่มีหญ้าขึ้นเลยกลายเป็นสิ่งที่หายาก นาข้าวก็เช่นเดียวกัน ทั้งข้าวเจ้า ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์ สามารถปลูกได้ผลดีท่ามกลางวัชพืชและพืชคลุมดินที่ขึ้นตลอดทั้งปี

 แนวทางในการจัดการวัชพืชโดยวิถีธรรมชาติ จากประสบการณ์จากต่างแดน

แปลงขนาดใหญ่ วัชพืชน้อยลงด้วย ปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชหมุนเวียน และระบบการปลูกพืช

นอกจาก ตัวอย่างเกษตรกรรายบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการจัดการวัชพืชแล้ว ยังมีกลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรที่ทำฟาร์มเกษตรกรรมอินทรีย์และเกษตรกรรมชีวพลวัตในเชิงพานิชย์อีกหลายราย ที่เพาะปลูกพืชไร่นาและพืชสวนในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งมีกลยุทธ์ในการควบคุมวัชพืชที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการผลิตของตน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อน ต้นทุนต่ำและสามารถพึ่งตนเองได้ ก็คือ การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงดิน การปลูกพืชหมุนเวียน และการปลูกพืชตามกันหรือเหลื่อมเวลากัน

ดังตัวอย่างของเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรชีวพลวัตดีมีเทอร์ออสเตรเลีย (Australian Demeter Bio-Dynamic Agriculture) ที่ส่วนมากเป็นเกษตรกรทำฟาร์มขนาดใหญ่หลายร้อยเฮกตาร์ ทำการปลูกทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หมุนเวียนกับพืชผักหรือพืชไร่ชนิดอื่น ในเขตหน้าฝน ที่ได้มุ่งเน้นการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสดร่วมกับการไถลึกด้วยเครื่องจักรฟื้นฟูดิน (Rehabilitator) ที่มีลักษณะเป็นไถระเบิดดินดาน (Rippers) ที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะร่วมกับการใช้สารปรับปรุงดินที่ผลิตจากการหมักบ่มมูลวัวและสมุนไพรตามแนวทางเฉพาะของเกษตรชีวพลวัต (Biodynamic Preparation) ซึ่งพบว่าพืชเจริญเติบโตแข็งแรงงอกงาม ปราศจากโรคและแมลง มีรสชาติดีและมีคุณภาพสูง และที่สำคัญคือ มีปัญหาจากวัชพืชน้อยลง เนื่องมาจาก (1) พืชสดหลายชนิดรวมถึงวัชพืชเมื่อปลูกร่วมกันจะแข่งขันกันเองและพืชสดที่คัดเลือกมาเป็นปุ๋ยพืชสดจะเติบโตได้เร็วและขึ้นได้หนาแน่นกว่า (2) เมื่อไถกลบปุ๋ยพืชสด วัชพืชก็จะถูกกลบลงไปด้วย (3) การไถลึกและการใช้สารปรับปรุงดินตามแนวทางเกษตรชีวพลวัตช่วยส่งเสริมการย่อยสลายของเศษวัชพืชในดินได้ดีขึ้น (4) การไถกลบปุ๋ยพืชสดช่วยปรับปรุงคุณภาพของดิน ทำให้ชนิดของวัชพืชเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้มีวัชพืชที่กำจัดได้ยากหรือมีปัญหาวัชพืชน้อยลง

ภาพเครื่องฟื้นจักรสำหรับพื้นฟูดิน (Soil Rehabilitator) (สองภาพทางซ้าย) เป็นเครื่องมือหลักในการไถลึกสาหรับการกลบพืชคลุมดินและวัชพืชเป็นปุ๋ยพืชสดในการเตรียมดินของเกษตรกรชีวพลวัตของออสเตรเลีย ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและลดการสะสมของวัชพืชในแปลงไปพร้อมๆ กัน (สองภาพทางขวา)            

นอกจากนี้ เครือข่ายเกษตรกรนักปฏิบัติแห่งไอโอว่า (Practical Farmers of Iowa) ได้แบ่งปันประสบการณ์ว่า การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชตามกัน สามารถใช้ยับยั้งวัชพืชได้ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการควบคุมวัชพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ในแปลงขนาดใหญ่ (Large-acreage) เพราะเป็นการตัดวงจรของวัชพืชไม่ให้เกิดการสะสมเมล็ดวัชพืชในแปลงเพาะปลูก และทำให้พืชที่เราปลูกหมุนเวียนลงไปตามฤดูกาลเข้าไปแข่งขันกับวัชพืช กดดัน ไม่เปิดโอกาสให้วัชพืชเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ โดยเกษตรกรที่ปลูกพืชอินทรีย์ที่เป็นผลผลิตหลักอย่างข้าวโพดและถั่วเหลือง ได้ใช้กลยุทธ์การปลูกพืชหมุนเวียนโดยการปลูกพืชอายุยาวอย่างอัลฟาลฟ่าในฤดูที่มีอากาศเย็น ปลูกธัญพืชขนาดเล็กอย่างข้าวโอ๊ตในฤดูใบไม้ผลิ จนถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ปลูกธัญพืชขนาดเล็กอย่างข้าวสาลีฤดูหนาว ข้าวไรย์ หรือข้าวทริทิเคลี (ธัญพืชชนิดหนึ่งที่ผสมข้ามกันระหว่างข้าวสาลีกับข้าวไรย์) เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก็ปลูกบัควีท (พืชที่นามาทาแป้งโซบะ) เป็นต้น

ตัวอย่างเกษตรกรจากรัฐไอโอว่า แบ่งปันวิธีการจัดการปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดจะปล่อยให้ข้าวโพดยืนต้นและใช้เครื่องบินหว่านข้าวไรย์และหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวไรย์ก็ปลูกบัควีทต่อ ซึ่งการปลูกพืชหมุนเวียนเช่นนี้จะช่วยยับยั้งการเกิดปัญหาจากวัชพืชได้เป็นอย่างดี

กาจัดวัชพืชพร้อมกับพรวนดิน ด้วยเครื่องจักรที่เหมาะสม

มหาวิทยาลัยแห่งสหกรณ์แคลิฟอร์เนีย ได้เผยแพร่ เครื่องมือทางเลือกสำหรับรถไถและรถแทรกเตอร์ 2 ชนิด ในการกำจัดวัชพืชในแปลงพืชผักอินทรีย์เชิงพานิชย์ (ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแปลงปลูกพืชอื่น ในระยะกล้าได้เช่นกัน) ได้แก่ แบบแท่งบิด (Torsion Weeder) และ แบบนิ้วมือ (Finger Weeder) โดยเครื่องมือกำจัดวัชพืชแบบแท่งบิด จะเป็นแท่งเหล็กยาวที่ลากไปกับพื้นเพื่อพรวนดินบนแปลง ในขณะที่แท่งเหล็กก็สามารถบิดตามแรงสั่นสะเทือนกับการลากไปกับพื้นและเข้าไปในบริเวณใต้ต้นกล้าได้โดยไม่เป็นอันตราย ส่วนแบบนิ้วมือ จะเป็นวงล้อที่มีความยืดหยุ่น มีแท่งคล้ายนิ้วที่เหยียดตรงยื่นยาว

ออกมา เมื่อตั้งวงล้อให้หมุนเฉียงไปตามแถวที่ปลูกพืช นิ้วของวงล้อจะเข้าไปพรวนดินใต้ต้นพืชและกำจัดวัชพืชขนาดเล็กได้ โดยที่นิ้วมือจะไม่ดึงต้นพืชหลักออกมาTorsion Weeder และ Finger Weeder เป็นเครื่องจักรกลทีเหมาะสมในการช่วยพรวนดินและกำจัดวัชพืชในระยะกล้าของพืชที่ปลูก ไม่ให้แย่งน้าและสารอาหาร อีกทั้งยังช่วยให้ดินโปร่งร่วนซุยปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้มากขึ้นด้วย

 

Torsion Weeder และ Finger Weeder เป็นเครื่องจักรกลทีเหมาะสมในการช่วยพรวนดินและกำจัดวัชพืชในระยะกล้าของพืชที่ปลูก ไม่ให้แย่งน้ำและสารอาหาร อีกทั้งยังช่วยให้ดินโปร่งร่วนซุยปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้มากขึ้นด้วย

หลากหลายทางเลือกเพื่อผสมผสานวิธีการจัดการวัชพืชแบบเกษตรอินทรีย์

อลิชา รัปเปิล และ ฮีทเธอร์ ฟรีดริช จากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ ได้แนะนาวิธีการจัดการวัชพืชแบบเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จเอาไว้ว่า จะต้องใช้หลากหลายวิธีร่วมกันมากกว่าจะพึ่งพาวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เปรียบได้กับมีค้อนหลายอันเอาไว้ทุบทลายปัญหาของเกษตรกร ซึ่งสามารถนำมาออกแบบและพัฒนาเป็นยุทธวิธีในการจัดการวัชพืชที่สอดคล้องกับความจาเป็นของการทาฟาร์มของเกษตรกรเอง ยุทธวิธีหรือค้อนที่ใช้ในการจัดการวัชพืช มีอยู่หลายวิธี แบ่งได้ตามขนาดของค้อนหรือยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพในวงกว้างหรือวงจำกัดที่สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามการนำไปใช้ ดังนี้

เรียนรู้ที่จะใช้วิธีที่เหมาะสมในการจัดการวัชพืชแบบเกษตรอินทรีย์

ชาร์ลส โมห์เลอร์ และ ซู อัลเลน จอห์นสัน สองนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ธแคโรไลนา เป็นบรรณาธิการและคณะผู้แต่ง “คู่มือการวางแผนการปลูกพืชหมุนเวียนสาหรับการเกษตรอินทรีย์” ได้เผยแพร่คำแนะนาวิธีการจัดการวัชพืชและผลของวิธีการต่างๆ ได้แก่ พืชคลุมดิน การไถพรวน การทำแปลงแบบล่อให้งอกแล้วไถกลบอีกครั้ง ระบบน้าหยด การคลุมดิน การย้ายปลูก การคัดเลือกพันธ์ การเพิ่มความหนาแน่นในการปลูก การรักษาและทาความสะอาดแปลงเพาะปลูก เพื่อนำไปใช้พิจารณาเป็นทางเลือกในการจัดการวัชพืชอย่างเหมาะสม ดังต่อไปนี้

ไม่มีวัชพืชอีกต่อไป มีแต่พืชอาสาสมัคร

ในวิถีเกษตรกรรมเชิงนิเวศ ที่เป็นรากฐานของเกษตรกรรมยั่งยืนเสมอมา ต่างก็มีวิธีคิด วิธีปฏิบัติและวิธีให้คุณค่าต่อเกษตรกรรมว่าเป็นการทางานกับธรรมชาติ โดยอาศัยกลไกธรรมชาติและทรรศนะที่เข้าถึงและเข้าใจความเชื่อมโยงอันเป็นหนึ่งเดียวกันของชีวิต ระบบนิเวศ ธรรมชาติ หรือแม้แต่จักรวาล ถึงที่สุดแล้วพืชที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนพืชที่เราปลูก และเติบโตได้เองในแปลงเพาะปลูกของเรา อาจไม่ได้เรียกว่าวัชพืชหรือพืชที่ต้องกำจัดออกไปอย่างไร้ค่าหรือถูกนิยามว่าเป็นศัตรูพืชอีกต่อไป ดังเช่น กลุ่มนักปฏิบัติที่สนใจในวิถีชีวิตและเกษตรกรรมที่สอดคล้องกันกับธรรมชาติด้วยความวัฒนาถาวร หรือ เพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture) เรียกตนเองว่า ชาวเพอร์มีย์ (Permies) ก็ได้บัญญัติ คาเรียกขานและนิยามใหม่ให้กับวัชพืชว่า เป็น “พืชอาสาสมัคร (Volunteer Plant)” ที่อาสามาช่วยรักษาหน้าดิน ปรับปรุงดิน สร้างระบบนิเวศและเสียสละตนเพื่อสอนเราให้รู้จักและเข้าใจเกษตรกรรมและธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น ดวงตาของเราจึงได้ถูกเปิดออกให้มองเห็นโลกแห่งเกษตรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเพื่อนใหม่ที่เคยมีชื่อว่า “วัชพืช” นี้นี่เอง

“…เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมมิใช่แค่การเพาะปลูกพืชผล
หากแต่เป็นการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งการเป็นมนุษย์…”
มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • น้ำอยู่บนฟ้า อากาศอยู่ในดิน. Tiva, Areeya. [20175 December]. Retrieved from https://www.facebook.com/search/posts/?q=areeya%20tiva%20%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2&epa=SERP_TAB
  • Alternative Cultivators for Organic Vegetable Production. UCANR. [201914 November]. Video posted to https://www.youtube.com/watch?v=I4kzebMG6rE
  • Crop Rotation on Organic Farms: A Planning Manual. Mohler and Johnson. 2009. NRAES-177
  • Crop Rotation for Weeds Suppression-Organic Weed Control. Practcal Farmers of Iowa. [201914 November]. Video posted to https://www.youtube.com/watch?v=RRXRMUAXkk0
  • Lessons from Nature: A Guide to Ecological Agricutlure in The Tropics. [Online]. Available: http://asianfarmers.org/wp-content/uploads/2015/07/Lessons-from-Nature-Shimpei-Murakami.pdf. [2019]
  • Organic Weed Management. Alisha Rupple and Heather Friedrich. [Online]. Available: https://www.slideshare.net/OrganicTraining/organic-weed-management . [2019]
  • Weeds and What They Tell Us. Ehrenfried E. Pfeiffer. 1970. Floris Book