“ปลูก ปรุง กิน” กับผักสลัด

เล่าเรื่องราวของสลัด

สลัดเป็นผักที่มีต้นกำเนิดจากทวีปยุโรป และก็เป็นเมนูผักราดกับน้ำสลัด (dressing) แบบง่ายๆ ที่คนทั่วยุโรปนิยมทานกันมาช้านานตั้งแต่ยุคสมัยอารยธรรมกรีกและโรมัน (Greek-Roman Culture) หรือประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว เมนูสลัดก็มีพัฒนาให้มีความซับซ้อนมากขึ้นตามกาลเวลาและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป Dinner salads หรือ สลัดที่เป็นมื้อเย็นเป็นหนึ่งในเมนูที่บริโภคกันแพร่หลายมากในยุตเรอแนซ็องส์ (Renaissance) หรือ ยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ ซึ่งคนสมัยนั้นเรียกเมนูนี้ว่า “Salmagundi” หรือ อ่านว่า “ซา ลา มา กู ดิ”  ซึ่งเป็นเมนูสลัดที่ผสมผสานผักสลัดกับผักชนิดอื่นๆ รวมถึง หมูสับ ไข่ หัวหอมใหญ่ ซีฟูด คลุกรวมกับน้ำมันและเครื่องปรุงรส (condiments) ดังภาพด้านล่าง

การปลูก

เนื่องจากสลัดมีถิ่นกำเนิดจากทวีปยุโรปซึ่งมีภูมิอากาศแบบเขตอบอุ่น (temperate climate) หรือ มีอากาศที่หนาว อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ -10 องศาในฤดูหนาว และ 30 องศาในฤดูร้อน ฝนตกไม่ชุกมาก จึงไม่แปลก เมื่อเรานำสลัดมาปลูกในเมืองไทยซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอากาศร้อน (โดยเฉลี่ยประมาณ 25-40 องศา) ทำให้เราต้องหมั่นดูแลมากกว่าปกติ หากเราอากาศร้อนเกินไปก็จะทำให้สลัดที่เราปลูกแคระแกร็นได้ เรามาดูกันว่าสลัดสามารถปลูกได้อย่างไร โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกเมล็ดพันธุ์ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว

ขั้นตอนการปลูก

  1. เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ หากนักปลูกต้องการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อก็ควรใช้เมล็ดอินทรีย์ในการเพาะปลูก เราสามารถหาเมล็ดสลัดอินทรีย์ได้จากหลายแหล่งอาทิ วิสาหกิจเมล็ดพันธุ์อีสาน วิสาหกิจเมล็ดพันธุ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นต้น นักปลูกควรเลือกเลือกเมล็ดพันธุ์ใหม่ ไม่ถูกตากแดดหือตากฝนซึ่งจะมีผลต่อการประสิทธิภาพการงอกโดยตรง
  2. การเพาะต้นกล้าก็เป็นวิธีที่คนเมืองนิยมใช้ในการปลูกสลัด เนื่องจากไม่เปลืองเมล็ดและสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่แข็งแรงมาปลูกลงดินได้ ซึ่งวิธีการนี้ก็สามารถเริ่มได้จากการหยอดเมล็ดลงในดินปลูกที่ทำร่องไว้แล้ว จากนั้นกลบด้วยดินบางๆ พร้อมรดน้ำให้ชุ่ม เพียง 1-3 วันก็จะเริ่มเห็นต้นกล้าสลัดแล้ว (ดินเพาะกล้าควรมีความโปร่งและละเอียดสูง เพราะหากดินจับตัวแน่นเป็นก้อน อาจทำให้ต้นกล้างอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ก่อนเพาะกล้า ควรใช้ดินที่ผ่านการร่อนแล้ว) อีกทั้งสถานที่เพาะกล้าควรเป็นที่พลางแสงมีร่มเงา
  3. การย้ายกล้าสลัด จะเริ่มก็ต่อเมื่อต้นกล้าเริ่มออกใบสีเขียวและเบนเข้าหาแสง ซึ่งสถานที่ปลูกควรได้รับแสงแดดในตอนเช้าไปจนถึงช่วงเที่ยงเป็นอย่างน้อย เพราะสลัดเป็นพืชที่ใช้แสงแดดในการเจริญเติบโตสูง เราสามารถย้ายต้นกล้าลงในแปลงปลูกที่เราเตรียมไว้หรือลงในกระถางก็ได้ (หากเป็นกระถางควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์ตั้งแต่ 15 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย) ถ้าหากลงแปลงปลูก ต้นกล้าควรอยู่กันไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย
  4. การดูแลรักษา สิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอโดยช่วงเช้าเป็นการให้น้ำเพื่อการสังเคราะห์แสงและสร้างอาหาร ส่วนช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำเพื่อรักษาความชื่นในดินและไม่ให้อากาศร้อนเกินไปจนสลัดหยุดชะงักการโต
  5. การเก็บเกี่ยวสลัดโดยทั่วไปก็ไม่มีความซับซ้อน โดยสลัดที่เหมาะต่อการบริโภคคือใบที่แผ่ขยายรอบต้นมีความฟู และลำต้นยังไม่ยกตัวสูงขึ้น หากลำต้นเริ่มยกตัวสูงขึ้น ใบก็จะมีรสชาติขมและเข้าสู่ระยะออกดอกที่ยอด การเก็บเกี่ยวสามารถทำไดโดยตัดลำต้นที่อยู่เหนือรากมาทาน หรือหากทานไม่มากก็สามารถตัดใบที่อยู่ล่างสุดมาทานเป็นมื้อๆ ได้จนกว่าลำต้นจะยกตัวสูงขึ้น

การปรุง ไปจนถึง การกิน

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า สลัดจะอร่อยน่าทานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าน้ำสลัด (dressing) มีรสชาติถูกปากหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันน้ำสลัดก็มีหลากรูปแบบให้เลือกทาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำสลัดครีมหรือน้ำสลัดแบบน้ำเชื่อมซึ่งก็ขึ้นกับความชอบของแต่ละท่าน แต่หากท่านเป็นผู้ที่ใส่ใจสุขภาพภาพก็ควรเลือกน้ำสลัดที่มีมันน้อย ภาพด้านล่างเป็น timeline ของการเกิดสลัดในแต่ละยุคตั้งแต่กรีกโรมันจนถึงปัจจุบัน ได้แก่

  • Salad แบบดั่งเดิมตั้งต่ยุคกรีกและโรมัน ก็คือ สลัดที่ผสมผสานผักสัด มะเขือเทศและผักใบเขียวอื่นๆ มีการเติมเกลือและน้ำสลัดเพื่อเพิ่มรสชาติ ต่อมามีการเติมแต่งด้วยดอกไม้ในยุคหลังโรมันล่มสลายหรือยุคกลาง โดยที่ยังไม่มีการเติมเนื้อสัตว์หรือไข่ไก่ลงไปเป็นส่วนผสม
  • Salad ในช่วงยุคกลางที่กินเวลาเกือบ 1 พันปี สลัดก็ไม่ได้มีรูปแบบที่ไม่ต่างเดิม จนมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) เริ่มมีการทดลองปรุงน้ำสลัดให้มีรสชาติที่แปลกใหม่มากขึ้น
  • Grand salad เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17 เป็นสลัดที่เริ่มเติมเนื้อสัตว์ลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ ซึ่งในสมัยนั้น มีเฉพาะกษัตรีย์ คนในราชวงศ์และคนชนชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถทานสลัดเมนูนี้ได้
  • Fruit salad เกิดข้นในปี 1861 เป็นสลัดผลไม้ยุคแรกเริ่ม โดยราดวิปครีมลงไปที่ด้านบนของสลัด และมีการดัดแปลงเป็น fruit cocktail หรือสลัดน้ำเชื่อมนั้นเอง ต่อมามีการพัฒนาด้วยราดวิปคลีมไปทั่วสลัดจนเรียกว่า “Waldorf salad” หรือ เติมคุกกี้ลงไปก็จะเป็น Cookie salad และถูกพัฒนาเป็น Jell-O salad หรือ Jello salad เช่นปัจจุบัน ที่เป็นสลัดวุ้นที่มี geratin เป็นส่วนผสมหลักนั้นเอง
  • Coleslaw เป็นสลัดราดครีมที่ผสมด้วยกระกล่ำกับแครอทที่หันเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นเมนูที่เกิดขึ้นจากชาวดัตช์ ในปี 1770 ซึ่งคนเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน ในยุคแรกน้ำสลัดทำมาจากเนยบัตเตอร์เหลวไม่ก็น้ำส้มสายชูเท่านั้น เราจะเป็นสลัดนี้ตามร้าน KFC หรือใช้ตกแต่งในจานสเต็กอยู่บ่อยครั้ง
  • Chicken Salad เกิดขึ้นในปี 1863 หรือช่วงสมัยสงครามเย็น ซึ่งการเพิ่มลงเนื้อไก่ต้มลงไป ซึ่งในปัจจุบันก็มีการใส่ไก่ทอดลงไปด้วยเช่นกัน ในสมัยนั้นเป็นเมนูที่ทหารนี้ยมทานทานกัน จนมีวลีเด็ดในหมู่ทหารชาวรัสเชียว่า “กล้าเพิ่มรบ กินสลัดก่อน” ซึ่งต่อมา รูปแบบส่วนผสมของผักก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่จะเป็นไปตามเนื้อสัตว์หรือวัตถุอื่นๆ ที่ผสมลงไป อาทิ Tuna salad (สลัดทูน่า) Pasta salad ที่ผสมพาสต้าลงไป และ Taco salad ในปัจจุบันที่มีการเพิ่มเนื้อสัตว์ ผลไม้ ถั่วและธัญญาพืชลงไป
  • Caesar salad หรือสลัดซีซ่า เกิดขึ้นในปี 1924 โดยเชฟชาวอิตาลี ที่น้ำสลัดทำมาจากน้ำมันโอลีฟจนพัฒนาเป็น Cobb salad ที่ผสมผสานด้วยผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์โดยผู้ทานสามารถราดน้ำสลัดได้เท่าไรก็ได้ตามใจชอบ

เมื่อทราบประวัติและความเป็นมาของสลัด จนไปถึงการปลูก ปรุง กินผ่านเมนูสลัดกันขนาดนี้แล้ว ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักปลูกเมืองทุกท่านคงอยากจะปลูกสลัดจนเก็บเกี่ยวมาทำเป็นเมนูสลัดได้หลายเมนูดังที่เขียนไปแล้วข้างต้น อยากรู้ถึงความอร่อยต้องลอง!!!!!!

References

ที่มาของภาพ