Land Sharing แบบฟินๆ @Helsinki – Finland

เมื่อเราพูดถึง Finland ประเทศในโซนยุโรปและมีชื่อเสียงอย่างมากในแง่การศึกษา เด็กนักเรียนของที่นี้จะมีการบ้านให้ทำน้อยมาก และกลับพูดได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ภาษา และเด็กสามารถเลือกเรียนและพัฒนาทักษะที่สนใจได้อย่างอิสระ จึงไม่แปลกที่หลายประเทศจึงนิยมมาศึกษาดูงานพัฒนาระบบการศึกษาที่ Finland เป็นจำนวนมาก นอกจากด้านระบบการศึกษาที่แล้ว ในแง่เกษตรในเมืองที่ Finland เองก็มีความโดดเด่นไม่แพ้ประเทศอื่นๆ ในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ซึ่งครั้งนี้เราจะมาที่ Helsinki เมืองหลวงของ Finland นั้นเอง และเป็นตัวอย่างของเมืองยั่งยืนแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย

Finland ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต และได้รับเอกราชในปี 1917 ซึ่งมีคนเมืองเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และเพิ่มขึ้นเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ ในปี 1960 ในปัจจุบัน 70 เปอร์เซ็นต์ของคนทั้งประเทศได้เข้ามาอาศัยในเมือง เฉพาะที่ Helsinki มีผู้อาศัยอยู่ถึง 600,000 คน ซึ่งคนเมืองเดิมทีก็อพยพมาจากชนบทและมีวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกับเกษตรกรรมเป็นเวลานาน แต่ในเมืองหลวงเองก็หาพื้นที่ทำเกษตรได้ยาก และเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตแบบเกษตรกรให้แก่คนเมืองที่เข้ามาอาศัยใน Helsinki จึงเกิดโครงการพัฒนาเกษตรในเมือง มากขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งสนับสนุนการทำเกษตรเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

  1. Cottage allotments บ้านพักหรือกระท่อมหลังเล็กๆ ที่มีสวนผักรายล้อมบ้าน
  2. Allotment gardens หรือ สวนผักในชุมชน ซึ่งเป็นการจัดสรรพื้นที่ส่วนกลางของชุมชนหรือพื้นที่สาธารณะให้คนเมืองที่ไม่มีที่ดินให้เข้ามาทำเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว
  3. Sack and Box gardening การปลูกผักลงในกระสอบ (sack) หรือกระบะไม้ (box)
  4. Community Supported Agriculture (CSA) ระบบอาหารที่ชุมชนสนับสนุนเกษตรกรรมภายใต้การเอื้อเฟื้อเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค

เมื่อมาดูที่ Helsinki แล้ว ก็เป็นเมืองหลวงที่มีทั้งสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่สีเขียว พื้นที่ยานกลางเมืองแห่งนี้ก็เต็มไปด้วยอาคาร 5 ถึง 7 ชั้น และก็แทรกไปด้วยพื้นที่สีเขียว อาทิ สวนสาธารณะและสวนป่า และเมื่อออกไปจากใจกลางเมืองอาคารก็จะค่อยๆ สูงขึ้น แต่พื้นที่สีเขียวก็จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น และพื้นที่รอบเมือง อาคารและบ้านเรือนแต่ละแห่งก็จะมีพื้นที่สีเขียวเป็นของตนเอง และหลายส่วนของพื้นที่สีเขียวเหล่านั้นก็เป็นพื้นที่ทำเกษตรของคนเมือง Helsinki เช่นกัน

Siirtolapuutarhat พื้นที่สวนผักที่เก่าแก่ที่สุดของ Helsinki ตั้งแต่ปี 1918 ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรในรูปแบบขออง land sharing รูปแบบหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน มีสวนผักทั้งหมด 9 สวน มีแปลง allotments ถึง 1,962 แปลงในรูปแบบ cottage allotments ซึ่งสวนผักแห่งนี้อยู่ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งพื้นที่สวนผักเหล่านี้ได้ถูกบรรจุเข้าไปในแผนพัฒนาเมืองร่วมกับสวนสาธารณะ และเรียงรายไปตามทางเดิน จนมักถูกเรียกติดปากว่า ทางลูก pear และ strawberry เป็นต้น แปลงปลูกมีขนาดเฉลี่ย 3,000 ตารางฟุต และพื้นที่สวนแห่งนี้จะไม่อนุญาตให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้ อีกทั้งห้องน้ำสาธารณะก็อยู่ห่างจากแปลงเพาะปลูกอยู่มาก ดังนั้น การเดินทางด้วยจักรยานจึงเป็นทางเลือกที่คนเมืองนิยมใช้ในการเดินทางสัญจร และ allotments แต่ละแห่งก็จะชวนให้ผึ่งเข้ามาทำรังซึ่งให้มรดกทางวัฒนธรรมและสุนทรียศาสตร์แก่ชุมชน ภาพด้านล่างเป็นชุมชนสวนผักกระท่อมในย่าน Vallilan ซึ่งรัฐและเอกชนได้จัดสรรพื้นที่ให้แก่ผู้อพยพหรือคนไร้บ้านให้เข้ามาอยู่อาศัยและทำเกษตรเพื่อลดค่าครองชีพ

สวนผักที่เก่าแก่รองลงมาก็อยู่ที่ Viljelyspalstat ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษ คือ “plantation plots” หรือ “แปลงปลูกพืชผัก” นั้นเอง ซึ่งเป็นสวนผักชุมชนที่ถูกตั้งขึ้นจากแผนพัฒนาเทศบาลเมืองในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ในรูปแบบ allotment gardens เพื่อให้ผู้อาศัยในชุมชนสามารถเข้ามาทำเกษตรในแปลงปลูกหรือพื้นที่ส่วนกลางที่เทศบาลเป็นเจ้าของพื้นที่ แปลงปลูกเหล่านี้อยู่บนสัญญาเช่าพื้นที่ระยะยาวโดยเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งผู้เช่าสามารถเข้ามาทำเกษตรในแปลงแห่งนี้ได้นานเท่าไรก็ได้ตราบที่เท่าจ่ายค่าเช่าอยู่ และเนื่องจากอัตราค่าเช่าแปลงนี้ต่ำ ทำให้คนเมืองที่อยากเข้ามาทำเกษตรต้องรอคิวเป็นเวลาหลายปี ด้วยระบบการจัดการดังกล่าว ทำให้ไม่มีการแย่งชิงพื้นที่กันระหว่างเกษตรกรด้วยกันและไม่เกิดความตึงเครียดในแง่การใช้พื้นที่ ทำให้การทำสวนแห่งนี้เป็นเต็มไปด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลาย นักปลูกท่านหนึ่งเปรียบแปลงผักของเธอเสมือนห้องนั่งเล่นแห่งที่สอง โดยทั่วไปเทศบาลจะไม่อนุญาตให้นำอุปกรณ์ถาวรเข้ามาตั้งในพื้นที่ เราจงมักไม่เห็นเตาบาร์บีคิวหรือเก้าอี้นั่งในสวนผัก ทุกๆ เย็น นักปลูกก็จะเข้ามาปลูกผักและพักผ่อนภายในสวน และลดความเครียดจากการทำงาน

ในปี 2010 สวนในรูปแบบ sack gardening ก็ได้ริเริ่มทำกันแพร่หลายมากขึ้นจากการผลักดันจากชาวรากหญ้าและองค์กรทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงผลกำไรที่ชื่อว่า Dodo ได้พัฒนาการทำสวนด้วยกระสอบให้สามารถทำได้ในพื้นที่ใดก็ได้ใน Helsinki และการทำสวนด้วยวิธีนี้ นักปลูกสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องใช้แปลงปลูกขนาดที่ใหญ่มากนัก สัญญาเช่าพื้นที่จึงไม่นานมาก และนักปลูกท่านอื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องรอคิวขอเช่าแปลงปลูกนานมากนัก ซึ่งหากเราจะทีปลูกผักใน allotments ในพื้นที่ส่วนกลาง ต้องต่อคิวรอนับพันคนกว่าจะได้ที่ปลูกผัก ภาพด้านล่างเป็น allotments ภายใต้โครงการของ Dodo ที่จัดสรรพื้นที่ทำสวนผักกระสอบตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทิ้งขยะ ที่จอดรถ ริมทางรถไฟในย่าน Kalasatama

ส่วนสวนผักในรูปแบบกระบะ (box garden) ของที่ Helsinki ก็มีขนาดเฉลี่ยอยู่ที่ 10 ตารางฟุต และเป็นตัวอย่างการปลกผักในพื้นที่จำกัดเป็นอย่างดี โดยทั่วไป นักปลูกจะนิยมปลูกผัก Kale และ Swiss chard ในกระบะ เนื่องจากเป็นผักที่หาซื้อค่อนข้างยากในซูเปอร์มาร์เก็ต

ส่วนกิจกรรมเกษตรในเมืองรูปแบบสุดท้าย คือ กิจกรรม Kaupunkilaisten oma pelto หรือแปลได้เป็น “city residents own field” หรือ คนเมืองเป็นเจ้าของแปลงปลูกผัก และดำเนินการด้วยระบบ CSA ในปี 2011 ภายใต้ชื่อ Herttoneimi CSA โดยตั้งอยู่ที่ Vantaa ซึ่งเป็นเมืองที่ติดกับตอนเหนือของ Helsinki พื้นที่เกษตรจะลอมรอบด้วยป่าและที่ดินของเพื่อนบ้านรอบๆ และเนื่องจากพื้นที่แห่งนี้อยู่ใกล้รันเวย์สนามบินนานาชาติ Helsinki สมาชิกโครงการ CSA จึงเช่าพื้นที่และจ้างเกษตรกรมาเพาะปลูกเพื่อป้อนผลผลิตให้แก่สมาชิก

อีกทั้งสมาชิก CSA ทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรม talkoot ไม่ต่ำกว่า 14 ชั่วโมงในแต่ละฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่ง talkoot ก็เป็นกิจกรรมคลายๆ กับการลงแขกลงแรงเหมือนกับเกษตรกรไทยในอดีตนั้นเอง โดยกิจกรรมนี้มีตั้งแต่การเพาะปลูกไป การเก็บเกี่ยวจนถึงระบบการจัดการภายในกลุ่ม ผลผลิตที่ได้ก็ได้รับการรับรองว่าเป็นสินค้า organic หรือ biodynamic ซึ่งสินค้าที่ส่งตรงจากท้องถิ่นค่อนข้างหาได้ยากใน Helsinki แม้กระทั้งตลาดเกษตรเองก็จะเป็นพ่อค้าคนกลางที่นำสินค้าจากพื้นที่อื่นมาขายเสียมากกว่า ระบบการกระจายอาหารจึงไม่ต่างจากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายของชำเท่าไร

เพื่อลดความเครียดจากการทำงานและมีความต้องการเข้าถึงอาหารที่ผลิตในท้องถิ่นที่ไม่สามารถหาซื้อได้ในร้านสะดวกซื้อทั่วไปใน Helsinki คนเมืองจึงหันมาทำเกษตรในพื้นที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักในแปลงผักที่แบ่งจากเจ้าของบ้าน การทำสวนผักในพื้นที่ที่ทางเทศบาลจัดสรรมาให้นักปลูกที่ไม่มีที่ดินเข้ามาทำเกษตร การทำแปลงผักในถุงกระสอบที่ช่วยลดระยะเวลาในการเช่าพื้นที่ลงและเปิดโอกาสให้นักปลูกท่านอื่นเข้ามาเช่าต่อได้ รวมไปถึงการเช่าพื้นย่านชานเมืองเพื่อนำผลผลิตมาแบ่งปันให้แก่สมาชิกภายใต้ระบบ CSA ดังนั้น คนเมือง Helsinki จึงเป็นนักปลูกเมืองที่มีความ active มากแห่งหนึ่งของโลก

References