อธิปไตยทางอาหาร (Food Sovereignty)

เมื่อชุมชนมีอิสระในการกำหนดระบบอาหารของตนเอง อาหารก็สามารถเป็นหนทางสู่ความเป็นธรรม สุขภาพ และความยั่งยืนสำหรับทุกคนได้

เมื่อผู้บริโภคมีส่วนช่วยให้ชุมชนออกแบบระบบอาหารของตนเอง

อธิปไตยทางอาหาร คือ สิ่งที่เราหมายถึงเมื่อเราพูดถึงการทวงคืนพลังของอาหาร

เมื่อเกษตรกรผลิตอาหารเพื่อประโยชน์ต่อชุมชน ก็สามารถให้สารอาหารและความปลอดภัยได้โดยไม่ทำลายผืนดิน ทำให้เราแข็งแรงขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น และเชื่อมโยงกับผืนดิน วัฒนธรรม และกันและกันมากขึ้น นั่นคือพลังของอาหาร

เมื่อพลังของอาหารถูกกำหนดจากระบบอาหานอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นผลปนะโยชน์ทางเศรษฐกิจ ในขณะที่เกษตรกรและชุมชนผู้ผลิตอาหารดีต่อสุขภาพ เข้าถึงได้สำหรับทุกคนและยั่งยืน ก็ถูกลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับเจ้าของบรรษัทที่ถูกให้สำคัญมากกว่า รายได้ของเกษตรกรจึงลดลง อาหารของเราแย่ลง และโลกก็ได้รับผลกระทบตามมา

นิยามของอธิปไตยทางอาหาร

อธิปไตยทางอาหารเป็นแนวคิดที่คิดค้นขึ้นในปี 1996 โดย La Via Campesina ซึ่งเป็นขบวนการของเกษตรกรทั่วโลก เพื่ออธิบายวิสัยทัศน์ของพวกเขาเกี่ยวกับอนาคตของระบบอาหารที่ดีกว่า

La Via Campesina ให้คำจำกัดความอธิปไตยทางอาหารว่าคือ “สิทธิของประชาชนในการได้รับอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเหมาะสมกับวัฒนธรรม ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้วิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน และสิทธิในการกำหนดระบบอาหารและเกษตรกรรมของตนเอง”

กล่าวอีกนัยหนึ่ง อธิปไตยทางอาหารทำให้ผู้ผลิตและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการออกแบบระบบอาหารของตนเอง โดยยอมรับว่าอาหารเป็นสิทธิและสินค้าสาธารณะ ไม่ใช่สินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) โดยระบุว่าความยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็น และส่งเสริมการใช้ระบบเกษตรนิเวศ นอกจากนี้ ยังรับรู้ถึงการเลือกปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ ที่รวมกันเป็นภาระที่หนักยิ่งขึ้นสำหรับเกษตรกรรายย่อยบางราย เช่น ผู้หญิง ชนพื้นเมือง เยาวชน และเกษตรกร LGBTQ ซึ่งแนวคิดอธิปไตยทางอาหารต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และแบ่งปันที่ดิน เมล็ดพันธุ์ น้ำ สินเชื่อ และทรัพยากรอื่นๆ อย่างเท่าเทียมกัน

7 เสาหลักของอธิปไตยทางอาหาร

เครือข่ายเกษตรกรในเวทีระดับนานาชาติเพื่ออธิปไตยทางอาหารในเมือง Nyéléni ประเทศมาลี ได้กำหนดเสาหลักแห่งอธิปไตยทางอาหารไว้ 6 เสา จากนั้นในปี 2007 โดยสมาชิกของ Indigenous Circle ได้เพิ่มเสาหลักที่ 7 เข้ามาในระหว่างกระบวนการ Food Secure Canada ในการขับเคลื่อนนโยบายอาหารภาคประชาชน

  1. มุ่งเน้นที่อาหารสำหรับประชาชน อาหารไม่ใช่เพียงสินค้าโภคภัณฑ์เท่านั้น ความต้องการอาหารและสิทธิในการได้รับอาหารของประชาชนต้องเป็นแกนหลักในระดับนโยบาย
  2. พัฒนาความรู้และทักษะ เราจำเป็นต้องสร้างความรู้แบบดั้งเดิมโดยใช้การวิจัยเพื่อสนับสนุนความรู้ดังกล่าวและถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อไป ยังรวมถึงการไม่สนับสนุนเทคโนโลยีที่บ่อนทำลายหรือปนเปื้อนระบบอาหารในท้องถิ่น
  3. ทำงานร่วมกับธรรมชาติ เราจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนสนับสนุนของระบบนิเวศและปรับปรุงความสามารถในการฟื้นตัวโดยใช้วิธีการผลิตและการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรเชิงนิเวศที่เน้นความหลากหลายซึ่งจะช่วยปรับปรุงความสามารถในการฟื้นตัวและการปรับตัวของระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  4. ให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องสนับสนุนการสร้างอาชีพที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือการเก็บเกี่ยวอาหาร และเราต้องเคารพการทำงานของพวกเขา
  5. สร้างระบบอาหารท้องถิ่น โดยการลดระยะห่างระหว่างผู้ผลิตอาหารและผู้บริโภค ปฏิเสธการทุ่มตลาด (การขายอาหารของบริษัทขนาดใหญ่ในราคาที่ถูกกว่าเกษตรกรรายย่อย) และความช่วยเหลือด้านอาหารที่ไม่เหมาะสม และปฏิเสธการพึ่งพาอาหารและเมล็ดพันธุ์จากบริษัทที่อยู่ห่างไกลและไม่ต้องรับผิดชอบ
  6. การควบคุมระบบอาหาร ให้อยู่ในมือของผู้ผลิตอาหารในท้องถิ่นและปฏิเสธการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการอยู่อาศัยและแบ่งปันอาณาเขตของพันธุ์พืชท้องถิ่น
  7. อาหารนั้นศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นของขวัญแห่งชีวิต ไม่ควรนำไปใช้อย่างฟุ่มเฟือย ไม่สามารถทำให้เป็นสินค้าได้

ความมั่นคงทางอาหารและอธิปไตยทางอาหารต่างกันอย่างไร

ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)

  • เน้นที่ความสามารถของประชาชนในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ
  • เข้าใจอาหารในฐานะสินค้าที่ซื้อขายกันและความหิวโหยอันเป็นผลจากการผลิตที่ไม่เพียงพอและการขาดการเข้าถึง
  • ไม่ให้ความสำคัญกับวิธีการผลิตและการจัดหาอาหาร
  • มี 4 เสาหลัก ได้แก่ การมีอาหารเพียงพอ (food availability) การเข้าถึงอาหาร (food access) การใช้อาหาร (food use) และความมั่นคงของสามเสาแรก (food stability)

อธิปไตยทางอาหาร (Food Sovereignty)

  • เน้นที่สิทธิของผู้ผลิตอาหารในการกำหนดระบบอาหารในท้องถิ่น
  • ยอมรับสิทธิในการเข้าถึงอาหารและความหิวโหย เป็นปัญหาของการจัดการอาหาร การกระจายที่ไม่เท่าเทียม และความอยุติธรรม
  • ให้เกษตรกรรายย่อยและผู้จัดหาอาหารรายอื่นเป็นแกนหลักของระบบอาหาร และเน้นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและธรรมชาติ

Reference