นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อเสนอแผนกาาพัฒนาเกษตรในเมืองอย่างยั่งยืน

เกษตรบนพื้นที่ขนาดเล็กสามารถพัฒนาได้ในใจกลางเมืองและย่านชานเมืองได้หรือไม่? มีแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำเกษตรในเมืองได้หรือไม่ และสามารถนำแนวทางปฏิบัติดังกล่าวไปใช้แบบเร่งรัดเพื่อส่งเสริมชุมชนให้มีความยืดหยุ่นและพึ่งพาตนเองได้ในท้ายที่สุดหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น การสร้างระบบที่สามารถเร่งการผลิตอาหารในท้องถิ่นโดยไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะมีประโยชน์หรือไม่?

คำถามเหล่านี้คือคำถามที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ซึ่งนำโดยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิทยาศาสตร์อาหารและการเกษตรแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา (UF-IFAS) เผชิญเมื่อพวกเขาเริ่มการศึกษาวิจัยเป็นเวลา 3 ปี

การศึกษาดังกล่าวส่งผลให้เกิดกรอบทางทฤษฎีที่สามารถชี้แนะระบบเกษตรในเมืองได้ ภายในกรอบการทำงาน นักวิทยาศาสตร์ยังพิจารณาแนวทางที่เป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มการนำเกษตรในเมืองมาปฏิบัติใช้ทั่วทั้งภูมิภาคและชุมชน หรือที่เรียกว่าการขยายพื้นที่อาหาร

Dr. Jiangxiao Qiu at the Fort Lauderdale Research and Education Center (FLREC) on Monday, January 24, 2022.

“ความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับการเกษตรในเมืองยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น” คุณ Jiangxiao Qiu รองศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาภูมิทัศน์ที่ศูนย์วิจัยและการศึกษา UF/IFAS Fort Lauderdale (FLREC) และผู้เขียนรายงานกล่าวว่า “การขยายขอบเขตกรอบการทำเกษตรในเมืองของเราทำให้เกิดนโยบายสหวิทยาการและแผนงานการวางแผนที่สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุความยืดหยุ่นและความยั่งยืนของเมืองที่แข็งแกร่ง”

การศึกษาเรื่อง “การขยายการทำเกษตรในเมืองเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาความยืดหยุ่นและความยั่งยืนของระบบนิเวศทางสังคมและธรรมชาติ” ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food นักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมมือกันทำการตรวจสอบการวิจัยที่มีอยู่อย่างเจาะลึกก่อน เพื่อระบุผลกระทบที่ซับซ้อนของการเกษตรในเมืองต่อปัจจัยส่วนบุคคล ชุมชน และสังคม

“ภายในกรอบนี้ เราได้พัฒนาแนวทาง 3 ระยะสำหรับการขยายพื้นที่เกษตรในเมือง แสดงให้เห็นด้วยตัวอย่างในโลกแห่งความเป็นจริง และหารือเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการขยายพื้นที่” เขากล่าว

ในบรรดาประโยชน์ที่ได้รับ เกษตรในเมืองสามารถส่งเสริมอิทธิพลเชิงบวกในการเสริมอาหาร ส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพน้ำ อาจลดรอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint) ส่งเสริมประโยชน์ต่อสุขภาพผ่านการบริโภคผักและผลไม้ และส่งเสริมวิธีในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“ประโยชน์เหล่านี้สามารถแปลไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกด้านความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคม เช่น ความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาชุมชน” Qiu กล่าว ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเปิดเผยในการทบทวนวรรณกรรม ได้แก่ โรคและแมลงศัตรูพืชที่เพิ่มขึ้นต่อพืชผล การสัมผัสกับการปนเปื้อนในดิน และมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม จากแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรในเมือง

“สถานะและปัจจัยทางเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของเกษตรในเมือง และนำไปสู่การกระจายอาหารที่ไม่ได้เป็นสัดส่วน” Qiu อธิบาย นักวิจัยยังเสนอแนวทางหลายขั้นตอนเพื่อแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการที่เป็นไปได้ของการพัฒนาเกษตรในเมืองผ่านกระบวนการที่หลากหลายและการกระทำที่ส่งผลในทางปฏิบัตื

สำหรับระยะที่ 1 นักวิทยาศาสตร์แนะนำให้ขยายความสนใจในการผลิตอาหารโดยการเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคคล ขณะเดียวกันก็เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการมีส่วนร่วม

“อาจเริ่มต้นด้วยความคิดริเริ่มส่วนบุคคลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวและการปฏิบัติระดับรากหญ้า เช่น บุคคลที่เริ่มต้นและมีส่วนร่วมในสวนผักในเมืองและสวนผักชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการอาหารในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหาร และปรับปรุงความเป็นอยู่” Qiu กล่าว “แรงผลักดันสู่การยอมรับอาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเข้าถึงที่ดิน เทคโนโลยี ทรัพยากร ความรู้ และการฝึกอบรม”

ระยะที่ 2 อาจต้องการการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควบคู่ไปกับการสนับสนุนจากชุมชนจากผู้กำหนดนโยบายในระดับต่างๆ ของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการยอมรับ “ด้วยการให้การเข้าถึง ความสะดวกในการใช้งาน และคำแนะนำด้วยการวางแผนการใช้ที่ดิน นโยบายและข้อบังคับของเมือง สิ่งจูงใจทางการเงิน และเงินอุดหนุน จะช่วยส่งเสริมการขยายตัวของพื้นที่เกษตรในเมือง” 

สุดท้ายนี้ กรอบการทำงานระยะที่ 3 ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปรับปรุงศักยภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรในเมือง โดยการจัดหาเครื่องมือและสิ่งจูงใจในการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ ตัวอย่าง เช่น การเข้าถึงเครื่องมือทางการตลาดและการส่งเสริมการขาย การส่งเสริมแหล่งรายได้ที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม และการนำการจัดการและเทคโนโลยีด้านธุรกิจการเกษตรมาใช้

“การขยายพื้นที่เกษตรในเมืองอาจเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาความยั่งยืนระดับโลก และได้รับความสนใจจากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก” Qiu กล่าว “การวิจัยในอนาคตเป็นสิ่งจำเป็นในการทดสอบและดำเนินการตามกรอบและเส้นทางนี้เพื่อขยายขนาดพื้นที่เกษตรในเมืองและสร้างระบบเมืองที่เป็นธรรมทางสังคมและยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”

ผู้ร่วมมือในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฟลอริดาคนอื่นๆ พร้อมด้วยตัวแทนจากมหาวิทยาลัย Central Florida มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ Urbana-Champaign มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก มหาวิทยาลัยมิชิแกน มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา

Reference