เกษตรในเมืองที่ญี่ปุ่นในย่านเดินได้ส่งผลดีต่อสุขภาพและความยืดหยุ่นของระบบอาหารในช่วงการระบาดของ COVID-19

เกษตรในเมืองเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างเมืองที่มีสุขภาพดีและพัฒนาระบบอาหารในเมืองที่ยืดหยุ่นในเวลาที่ไม่แน่นอน  อย่างไรก็ตาม หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องมีจำกัด  การศึกษานี้ยืนยันในเชิงปริมาณถึงความสัมพันธ์ของการเข้าถึงอาหารท้องถิ่นผ่านเกษตรในเมืองกับความเป็นอยู่ที่ดี การออกกำลังกาย และความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในละแวกใกล้เคียงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19  การวิจัยชิ้นนี้ศึกษาที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งระบบอาหารท้องถิ่นขนาดเล็กแพร่หลายในย่านที่ผู้คนเดินไปมาหากันได้  

โดยแนวคิดของย่านที่เดินได้นั้น หมายถึง ผู้คนสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในเมืองในระยะที่เดินได้ (เช่น โมเดลเมือง 15 นาที) กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก  ย่านที่สามารถเดินได้นั้นคาดว่าจะมีส่วนในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการจำกัดการเดินทางของยานพาหนะและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน  นอกจากนี้ การเดินและการขี่จักรยานยังส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่ระบุคุณลักษณะที่สามารถวัดได้ของย่านที่สามารถเดินได้แสดงให้เห็นว่า นอกจากความหนาแน่นของที่อยู่อาศัย ขนาดบล็อก และการเชื่อมต่อของถนนแล้ว สภาพแวดล้อมด้านอาหาร เช่น ระยะทางไปยังสถานที่ขายปลีกอาหาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ปลูกพืชอาหารด้วยตัวเองในสวนผักจัดสรรและผู้ที่ซื้ออาหารท้องถิ่นที่แผงขายของในสวนผักมีความกังวลน้อยลงอย่างมากเกี่ยวกับความพร้อมของอาหารสดทั้งในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินและในอนาคตมากกว่าเกษตรกรในระบบอาหารทั่วไป ในทางตรงกันข้าม ผู้มีสวนผักในครัวเรือนแสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น  ผลลัพธ์นี้อาจเกิดจากความแตกต่างของขนาดและผลผลิตของการเพาะปลูกในสวนผักจัดสรรและสวนผักในครัวเรือน  สวนผักจัดสรรหนึ่งแปลงในโตเกียวสามารถผลิตได้มากเท่ากับหรือมากกว่าการบริโภคผักเฉลี่ยต่อปีต่อครัวเรือนในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม สวนผักในครัวเรือนโดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กกว่าและผลิตอาหารสดสำหรับการบริโภคได้จำกัด ซึ่งอาจส่งผลต่อความกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร

โดยสรุป ความหลากหลายในการเข้าถึงอาหารในท้องถิ่น ตั้งแต่การเพาะปลูกเองไปจนถึงการขายตรงถึงผู้บริโภค มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับตัวแปรด้านสุขภาพและความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สวนผักจัดสรรมีความสัมพันธ์อย่างมากกับความเป็นอยู่ส่วนตัวมากกว่าการใช้สวนสาธารณะในเมือง และมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการบรรเทาความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหารมากกว่าการพึ่งพาผู้ค้าปลีกอาหาร การค้นพบนี้เป็นหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับประสิทธิภาพของการบูรณาการการเกษตรในเมืองเข้ากับย่านที่สามารถเดินได้

Reference

https://www.nature.com/articles/s42949-023-00083-3