ปกติแล้วภารกิจปันอาหารปันชีวิต วิกฤตโควิด-19 เราจะไม่ทิ้งกัน จะส่งมอบอาหารให้กับกลุ่มคน/ชุมชนเมืองที่มีความเปราะบางด้านอาหารทุกวันศุกร์
.
แต่ในการระบาดระลอก 3 – 4 นี้ บ่อยครั้งมากที่มักเกิดเคสเร่งด่วนเข้ามาขอความช่วยเหลือด้านอาหาร เฉพาะแค่วันศุกร์ที่ผ่านมา – วันนี้ก็ช่วยแบบเร่งด่วนกันไปแล้ว 3 ชุมชน และเมื่อวานเราได้รับการประสานงานจากเครือข่ายผู้หญิงปทุมฯ มี 2 ชุมชนที่ต้องการอาหารแบบเร่งด่วน ประมาณ 200 ครอบครัว ที่ต้องกักตัวและไม่สามารถจัดการเรื่องอาหารได้ทัน
.
และโชคดีที่มีผู้บริจาค เกษตรกรจากเครือข่าย ฟาร์มฝัน ปันสุข ตลาดนัดคนรักอินทรีย์ส่งข้าวสาร อาหารแห้งบางส่วนมาที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ทำให้เราสามารถนำอาหารส่งมอบให้กับเคสเร่งด่วนได้ทันท่วงที แต่ครั้นจะให้ของแห้งก็คงขัดกับหลักการของ กลุ่มปันอาหารปันชีวิต เพราะเราอยากให้คนเปราะบางได้เข้าถึงอาหารสด ผัก ผลไม้อินทรีย์ในช่วงกักตัวด้วยเช่นกัน แต่เราไม่สามารถสั่งซื้อผักจากเกษตรกรได้ทัน
.

สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) จึงเป็นแหล่งผลิตผักสดๆ สำรองสำหรับการช่วยเหลือด้านอาหารแบบเร่งด่วนมาตลอด ตั้งแต่การระบาดรอบแรก ผักสดในสวนแห่งนี้เกือยทั้งหมดจะเก็ยเกี่ยวเพื่อส่งมอบให้กับกลุ่มคนเปราะบางเสมอ

สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) จึงเป็นแหล่งผลิตผักสดๆ สำรองสำหรับการช่วยเหลือด้านอาหารแบบเร่งด่วนมาตลอด ตั้งแต่การระบาดรอบแรก ผักสดในสวนแห่งนี้เกือยทั้งหมดจะเก็ยเกี่ยวเพื่อส่งมอบให้กับกลุ่มคนเปราะบางเสมอ
.
และตอนนี้เรากำลังตัดผักกวางตุ้ง 2 แปลงที่พร้อมให้เก็บเกี่ยว ขนาดแปลงผัก แปลงละ 2 ตารางเมตร รวมทั้งสิ้น 4 ตารางเมตร ได้ผักกวางตุ้งน้ำหนักรวม 13 กิโลกรัม เก็บมะละกอดิบ 1 ต้นในสวน ได้น้ำหนัก 20 กิโลกรัม ทำให้วันนี้อย่างน้อยเราได้ส่งมอบผักสดๆ จากแปลง ให้กลุ่มคนเปราะบางประมาณ 33 กิโลกรัม
และตอนนี้เรากำลังตัดผักกวางตุ้ง 2 แปลงที่พร้อมให้เก็บเกี่ยว ขนาดแปลงผัก แปลงละ 2 ตารางเมตร รวมทั้งสิ้น 4 ตารางเมตร ได้ผักกวางตุ้งน้ำหนักรวม 13 กิโลกรัม เก็บมะละกอดิบ 1 ต้นในสวน ได้น้ำหนัก 20 กิโลกรัม ทำให้วันนี้อย่างน้อยเราได้ส่งมอบผักสดๆ จากแปลง ให้กลุ่มคนเปราะบางประมาณ 33 กิโลกรัม
.
ข้อมูลผลผลิตผักในวันนี้ ช่วยตอกย้ำศักยภาพของการทำเกษตรในเมือง ทั้งในด้านศักยภาพของการผลิตผัก ให้คนเมืองสามารถเข้าถึงอาหาร การบริโภคผักอย่างเพียงพอ รวมถึงบทบาทในการเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญที่ช่วยยกระดับการพึ่งตนเองด้าานอาหารของคนเมืองทั้งในยามปกติและภาวะวิกฤต
.
ในฐานะขององค์กรที่ขับเคลื่อนงานด้านเกษตรในเมือง และความมั่นคงทางอาหาร เราผลักดันให้เกิดพื้นที่เกษตรกรรมในเมือง พื้นที่ผลิตอาหารที่ผนวกเข้าไปอยู่ในชุมชน หน่วยงานต่างๆ มาตลอดระยะเวลาการทำงานกว่า 10 สนับสนุนชุมชนเมืองให้เพิ่มพท.ผลิตอาหาร เข้าถึงการบริโภคผักผลไม้อินทรีย์ และอาหารเพื่อสุขภาวะของคนเมือง ผ่าน
💚การทำสวนผัก สนับสนุนให้คนเมืองรวมกลุ่มทำงาน หนุนเสริมความรู้ เทคนิค ปัจจัยการผลิต ทีมวิทยากร ร่วมสร้างพื้นที่อาหาร กว่า 350 แห่ง
💚เน้นการเปลี่ยนพื้นที่ส่วนกลาง/สาธารณะ/รกร้าง เป็นพื้นที่ผลิตอาหารของชุมชนโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีใดๆ เพาะปลูกพืชพรรณหลากหลาย
💚ทำงานกับผืนดินและธรรมชาติ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์/สมดุลของระบบนิเวศ หมุนเวียนทรัพยากร/ของเสียมาใช้ประโยชน์ เช่น ขยะอินทรีย์ วัสดุเหลือใช้
💚และในช่วงเวลากว่า 10 ปี จากคำถามที่ว่าคนเมืองจะปลูกผักได้หรือ เมืองที่เต็มไปด้วยพื้นปูนและตึกจะปลูกผักได้อย่างไร ในวันนี้ก็เป็นคนเมืองและชุมชนเมืองเองนั่นแหละ ที่ร่วมสร้าง/พัฒนาพื้นที่รูปธรรมเหล่านั้น เกิดพท. ผลิตอาหารหลากหลายรูปแบบโดยกลุ่มคนที่หลากหลายในเมืองโดยเฉพาะคนจนเมือง คนด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าถึงอาหารที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยสวนผักชุมชน
.

💚เกิดการเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่าง เจ้าของที่ดิน VS คนปลูกผัก/คนจนเมือง
💚ขยายสู่หน่วยบริการอาหาร เชื่อมโยงผัก ผลไม้จากแปลง สู่ครัว ส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้อินทรีย์อย่างเพียงพอ
💚และในวิกฤตโควิด-19 ก็เกิดการพัฒนา พท.อาหารผลิตอาหารแบบเร่งด่วน แต่ต่อเนื่องในกลุ่มคน/ชุมชนเปราะบางด้านอาหารให้เห็นอย่างมากมาย
.

ชุดความรู้ เครื่องมือ สร้างนิเวศเกษตรกรรมในเมือง เพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนเมือง อาจจะต้องประกอบด้วย
(1)การสำรวจและวิเคราะห์พื้นที่
(2)การออกแบบการใช้พื้นที่
(3)การเตรียมปัจจัยการผลิตและการปรับปรุงดิน
(4)การวางแผนการเพาะปลูก
(5)การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว
(6)การปรุง บริโภค ถนอม/เก็บรักษาอาหาร
(7)การพึ่งตนเองด้าน อื่นๆ ในเมือง
(8)การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิต คุณภาพชีวิตในเมือง
.

กรณีศึกษาของสวนผักชุมชน ในโครงการสวนผักคนเมือง และสวนผักคนเมืองมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ก็แสดงให้เห็นโอกาสของเกษตรในเมืองเพื่อระบบอาหารยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร และการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
🔺ศักยภาพของเกษตรในเมือง พื้นที่ 1 ตร.ม. ปลูกผักได้ 2 กก./รอบการผลิต (60 วัน)
🔺หากปริมาณการบริโภคผัก 7.2 กก./คน/เดือน เราจะใช้พื้นที่ปลูกผัก 10 – 15 ตร.ม./คน ก็จะมีผักกินอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง (ต้องมีพื้นที่เหลือสำหรับกิจกรรมอื่นๆด้วย)

🔺ลองตั้งโจทย์ท้าทายว่า ถ้าเมืองมีนโยบาย หรือสนับสนุนการเปลี่ยน พื้นที่รกร้าง เพียง 5,000 ไร่ เมืองจะสามารถ ผลิตผักอินทรัย์ ได้ถึง 48 ล้านกก./ปี ซึ่งเพียงพอสำหรับการเลี้ยงดูผู้คน 500,000 คน/ปี
.

และการทำเกษตรในเมืองยังมีส่วนช่วยพัฒนาเมืองในมิติอื่นๆ ด้วย เช่น หมุนเวียนการจัดการขยะอาหารมาเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมัก ลดค่าการจัดการขยะของเมือง ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ลดการนำเข้าสารเคมี สร้างให้เกิดพื้นที่สีเขียว(กินได้) ที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วม ทำกิจกรรมต่างๆ สนับสนุนการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะ ลดความเสี่ยงจากโรค NCD ที่ประเทศไทยต้องจ่ายงบประมาณมหาศาลในการดูแลสุขภาพของคนไทย ฯลฯ บทบาทและความสำคัญของเกษตรในเมืองที่สรุปมานี้ น่าจะเพียงพอให้คนเมือง ชุมชนเมือง ตลอดจนผู้บริหารองค์กร รวมถึงผู้บริหารระดับนโยบายได้หันมาเห็นความสำคัญของงานเกษตรในเมือง และการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคงทางอาหารของเมือง และของประเทศไทยอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะตอนนี้วิกฤตโควิด-19 ได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างแจ่มชัดแล้วว่าประเทศไทยมีความเปราะบางด้านอาหาร
.

📣📣และในงานเสวนาออนไลน์เวทีหารือสาธารณะ (National Dialogue) ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ การออกแบบ “ไทยพร้อม” สู่การขับเคลื่อนผักและผลไม้เป็นวาระแห่งชาติ (Reshaping Thailand’s readiness to Encourage Vegetable and Fruit Intake as National Agenda) เอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย “ขับเคลื่อนโยบายและมาตรการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร โภชนาการ และระบบอาหารของประเทศ” โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ได้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับงานเกษตรในเมือง และข้อเสนอทางนโยบายด้านความมั่นคงทาอาหารของเมือง ดังนี้
🎯ผลักดันให้ทุกเมืองมีนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร หรือยุทธศาสตร์อาหารเมือง โดยใช้กรอบการขับเคลื่อนระบบอาหารยั่งยืน 5 ด้าน 1. การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการโดยถ้วนหน้า 2. ปรับเปลี่ยนวิถีการบริโภคเพื่อความยั่งยืน 3. การส่งเสริมระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. ส่งเสริมความเสมอภาคในการดำรงชีวิตและมีกระจายคุณค่าอย่างเท่าเทียม และ 5. การสร้างความยืดหยุ่นปรับตัวได้ในทุกวิกฤตโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง
🎯กทม. อปท และ หน่อยงานที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายสนับสนุนการทำเกษตรในเมือง ทำให้การปลูกผักเป็นวิถีของคนเมือง รวมถึงการเชื่อมโยงที่ดินรกร้างให้กับคนจน คนด้อยโอกาส ฯลฯ เพื่อผลิตอาหาร ทำเกษตรกรรมเพื่อบริโภค และประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
🎯เพิ่มการเข้าถึงที่ดินและการสร้างความมั่นคงในการถือครองที่ดินเพื่อการทำเกษตรในเมือง กำหนดผังเมืองที่ผนวกเกษตรกรรมและพื้นที่อาหาร คำนึงถึงการรักษา/ปกป้องพื้นที่ให้ปลอดภัยจากมลพิษ และความเสี่ยงต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต และความปลอดภัยของอาหาร
🎯กทม. อปท. และรัฐ ต้องมีมาตรการส่งเสริมด้านการเงิน การลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยการผลิต อุปกรณ์ และพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านการจัดการขยะอาหารที่เป็นระบบเชื่อมโยงการผลิตอาหาร เช่น การคัดแยกขยะอาหารเพื่อทำปุ๋ยหมักแทนการฝังกลบแบบเดิม
🎯ต้องมีการจัดทำฐานข้อมูล พื้นที่ผลิต พื้นที่เชื่อมโยงและกระจายอาหาร ปริมาณอาหาร ข้อมูลการบริโภคทั้งในภาวะปกติและวิกฤต ฐานข้อมูลกลุ่มคนเปราะบาง สำหรับบริหารจัดการการช่วยเหลือด้านอาหารในภาวะวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว มีระบบ ทั่วถึง เป็นธรรม
🎯รัฐต้องมีนโยบายสวัสดิการอาหารในรูปแบบที่เหมาะสม รวมถึง อปท. เช่น การมีกองทุนต่างๆ ของชุมชนควรมีสวัสดิการด้านอาหารให้กับคนเปราะบางของชุมชน ให้ชุมชนมีความสามารถในการจัดการตนเอง
🎯สนับสนุนงบประมาณและเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมที่มีความเชี่ยวชาญ เข้าถึงงบประมาณในการขับเคลื่อนระบบอาหารยั่งยืน
ติดตามข้อมูล ชุดความรู้ การขับเคลื่อนงานของโครงการสวนผักคนเมืองได้ที่ www.thaicityfarm.com
