เกษตรในเมืองกับการบรรเทาปัญหาความมั่นคงทางอาหารในเมือง: กรณีศึกษาที่ Chicago

ในขณะที่เกษตรในเมืองมีบทบาทในการสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานอาหารในหลายเมืองใหญ่ในอเมริกา ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายของอาหาร ความยั่งยืนและการกำหนดระบบอาหารให้เข้ากับท้องถิ่นมากขึ้น แต่อาจจะไม่เป็นหนทางที่เป็นสูตรสำเร็จที่เราจะคาดหวังว่าสวนผักดาดฟ้า หรือ สวนผักชุมชนตามที่ต่างๆ จะผลิตอาหารป้อนให้แก่คนเมืองส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามมหานครต่างๆ

นั่นคือข้อสรุปของทีมนักวิจัยที่วิเคราะห์ความต้องการทางโภชนาการของคนเมือง Chicago และคำนวณว่าพื้นที่เมืองแห่งนี้จะสามารถผลิตอาหารในเมืองได้มากเพียงใดโดยการเพิ่มการทำเกษตรในเมืองและจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่จำเป็นที่อยู่ตามอาคารหรือพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเพื่อปลูกในพื้นที่ว่างต่างๆ เป็นครั้งแรกที่การศึกษานี้ทำการประเมินที่ดินที่ต้องใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการอาหารของเมือง ในขณะที่ยังต้องพิจารณาถึงความต้องการทางโภชนาการที่หลากหลายแทนที่จะเป็นแคลอรี่หรือปริมาณเท่านั้น

คุณ Christine Costello ผู้วิจัยและเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การเกษตร Penn State ได้กล่าวว่า “มีความกระตือรือร้นอย่างมากทั่วประเทศที่จะทำให้ระบบอาหารและการเกษตรในเมืองทำในพื้นที่เมืองให้มากขึ้น” และกล่าวเสริมอีกว่า “เราต้องการพิจารณาว่าเกษตรในเมืองสามารถมีส่วนช่วยภาวะโภชนาการแก่คนเมืองได้มากเพียงใด – เพื่อค้นหาว่าอะไรที่เป็นไปได้บ้าง – รวมถึงปริมาณที่ดินที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของคนเมือง”

ขณะนี้การระบาดของ COVID-19 ที่ได้เปิดเผยจุดอ่อนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร การให้ความสำคัญและการกำหนดระบบอาหารให้เข้ากับความเป็นเมืองได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ในและรอบเมืองใหญ่ ๆ การตอบคำถามเกี่ยวกับวิธีการที่เกษตรในเมืองสามารถมีส่วนร่วมได้นั้นมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็น คุณ Costello ชี้ให้เห็นถึงการศึกษาที่ล่าสุดพบว่า 30% ของความต้องการผักและผลไม้ของที่ Boston สามารถผลิตได้จากพื้นที่เกษตรในเมืองที่ใช้ดินและบนดาดฟ้าของที่ Boston เอง

ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและฐานะทางเศรษฐกิจ ความต้องการอาหารในเมืองจะเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างความท้าทายอย่างมากในการบรรลุความยั่งยืนในทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม คุณ Costello ได้กล่าว ในขณะที่ ผู้คนก็ยังอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมืองมากขึ้น ในปี 2018 ในสหรัฐอเมริกา ประชากรกว่า 82% อาศัยอยู่ในเขตเมืองโดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 89% ภายในปี 2050

เนื่องจากทั่วประเทศมีความกระตือรือร้นอย่างมากในการสร้างระบบอาหารที่ปรับให้ผลิตในท้องถิ่นและการเกษตรในเมือง นักวิจัยจึงต้องการพิจารณาว่าเกษตรในเมืองสามารถให้สารอาหารได้มากน้อยเพียงใดและต้องใช้ที่ดินเท่าใดเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากร

A vegtable garden in the centre of the city with a large apartment building in the background

จากภาพด้านบน “การเกษตรในเมืองเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจาก การใช้ที่ดินหรือหลังคาที่ไม่ได้ใช้ในการผลิตอาหารในปัจจุบันและสามารถเพิ่มที่อยู่อาศัยและความหลากหลายทางชีวภาพ ปรับปรุงการจัดการน้ำที่มาจากฝนที่ตกหนักและจัดหาผักและผลไม้ ส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ทางโภชนาการที่ดี” คุณ Costello กล่าวอีกว่า “อย่างไรก็ตามผักและผลไม้ไม่มีแคลอรี่โปรตีนหรือสารอาหารสำคัญอื่น ๆ เช่น วิตามินบี 12 เพียงพอที่จะรองรับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างครบถ้วน”

อย่างไรก็ตาม การเพาะปลูกในดินบนชั้นดาดฟ้ามักข้อจำกัด เนื่องจากโครงสร้างหลังคาไม่รองรับน้ำหนักได้อย่างเพียงพอ ซึ่งแปลงดินจึงเป็นข้อจำกัดในพื้นที่ดาดฟ้า คุณ Costello ได้อธิบาย ด้วยเหตุนี้ระบบไฮโดรโพนิกส์หรือสวนผักแนวตั้งอาจเป็นที่นิยมมากกว่า ระบบไฮโดรโพนิกส์เหมาะที่จะผลิตผักใบเขียว เช่นผักคะน้า ผักกาดหอมและสมุนไพร

จากการศึกษา นักวิจัยได้คำนวณที่ดินที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของ Chicago และชุมชนที่อยู่ติดกัน ทั้งที่มีและไม่มีการผลิตอาหารจากการเกษตรในเมือง ซึ่งพวกเขาได้ประเมินอยู่ 2 วิธี โดยใช้ผลตอบแทนเฉลี่ยจากวิธีการทำเกษตรในเมืองและแบบดั้งเดิม และ เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตสารอาหารที่จำเป็นโดยใช้ที่ดินที่เล็กที่น้อยเท่าที่จะเป็นไปได้

Environ. Sci. Technol. 2021.55:2684-2694

จากภาพด้านบน ซึ่งแสดงพื้นที่ทับซ้อนที่นักวิจัยใช้ในการประมาณจำนวนประชากรซึ่งสัมพันธ์กับที่ดินภายในรัศมีที่กำหนดจากจุดศูนย์กลางของ Chicago ทีมงานได้ประเมินความต้องการสารอาหารทั้งหมดของคนเมือง Chicago โดยใช้ความต้องการสารอาหารในอาหารประจำวันที่แนะนำโดยศูนย์นโยบายและการส่งเสริมโภชนาการของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา มีการพิจารณาสารอาหารถึง 28 อย่าง อาหารที่รวมอยู่ในการศึกษาได้รับการคัดเลือกโดยพิจารณาจากความนิยมของระบบเกษตรกรรมของอเมริกาและคุณภาพทางโภชนาการในปัจจุบัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ประเมินจำนวนที่ดินที่ต้องการสำหรับสินค้าที่ผลิตจากปศุสัตว์แต่ละชนิดโดยใช้สูตรตามคำแนะนำของ USDA และการวิจัยก่อนหน้าของคุณ Costello นักวิจัยที่ได้สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพืชผลและปศุสัตว์ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และใช้ข้อมูลสินค้าคงคลังแห่งชาติเพื่อประเมินทั้งพื้นที่เพาะปลูกและทุ่งหญ้าที่ใช้สำหรับสินค้าอาหารสัตว์แต่ละกิโลกรัม (ประมาณ 2 ปอนด์) ของสินค้าอาหารสัตว์

จากการศึกษาใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อกำหนดความพร้อมใช้งานประเภทที่ดินและรวมข้อมูลของ USDA เกี่ยวกับผลผลิตของพืชที่ปลูกตามปกติในช่วง 10 ปีย้อนหลัง ข้อมูลผลผลิตทางการเกษตรในเมืองที่ใช้ดินสำหรับฤดูปลูกปี 2015 และ 2016 ซึ่งมาจาก Columbia Center for Urban Agriculture ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐ Missouri

เมื่อไม่นานมานี้ มีผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science and Technology ชี้ให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ที่การใช้สินค้าโภคภัณฑ์และการผลิตทางการเกษตรในเมืองทั่วไปในปัจจุบันเพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของคนเมือง Chicago ในรัศมีไม่เกิน 400 ไมล์เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกและทุ่งหญ้าที่มีอยู่ แม้ว่าอาจให้วิตามินดีและวิตามินบี 12 ไม่ได้ตามหลักโภชนาการก็ตาม

corn cultivation in residential areas in the middle of the city

ในการศึกษานักวิจัยได้คำนวณที่ดินที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของ Chicago และชุมชนที่อยู่ติดกันโดยมีและไม่มีการผลิตอาหารจากการทำเกษตรในเมือง ด้วยการเสริมวิตามินดี ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไปรัศมีที่ต้องการจะลดลงเหลือ 110-140 ไมล์ ด้วยการเสริมวิตามินบี 12 รัศมีลดลงเหลือ 40-50 ไมล์ การรวมเกษตรกรรมในเมืองทำให้รัศมีลดลงอีก 6-9 ไมล์และเพิ่มความหลากหลายของอาหารที่มีอยู่

“งานศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการรวมรายการสารอาหารทั้งหมด เมื่อการประเมินความเป็นไปได้ของระบบอาหารในท้องถิ่น” คุณ Costello กล่าว “การเสริมธาตุอาหารหลักหรืออาหารเสริมที่อาจลดพื้นที่ดินที่จำเป็นต่อความต้องการทางโภชนาการของคนเมืองลงอย่างมาก” เกษตรในเมืองจึงมีส่วนช่วยให้เมือง Chicago ลดการนำเข้าอาหารจากพื้นที่ชนบทลงและช่วยให้คนเมืองสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านอาหารได้ในระดับหนึ่ง แต่ว่าอาจป้อนให้คนเมืองได้ทั่วถึงทุกคน เนื่องจาก ข้อจำกัดในด้านปริมาณพื้นที่และความหนาแน่นของประชากรสูง

References