เกษตรในเมืองกับการรับมือวิกฤตโควิค: กรณีศึกษาจากเกาะฉงหมิง นครเซี่ยงไฮ้

นับตั้งแต่การระบาดของโควิดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนเมื่อปลายปี 2562 โรคนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกทำให้มีผู้คนมากกว่า 4 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300,000 คนในปัจจุบัน แม้ว่าการสูญเสียชีวิตของมนุษย์จะเป็นความเสียหายที่ร้ายแรงที่สุด แต่การแพร่ระบาดของโรคนี้ได้ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่วโลก ผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงที่สุดจะตกอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่แล้ว รวมถึงเมืองที่ผู้คนอาศัยและทำงานในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งพื้นที่ระบาดก็ยังได้รับผลกระทบจากโควิดเช่นเดียวกัน

Background

เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีคนมากกว่า 24 ล้านคน และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2020 เซี่ยงไฮ้มีผู้ติดเชื้อโควิดไปแล้วกว่า 1,187 ราย โดย 845 รายเป็นเคสที่มาจากต่างประเทศและ 342 รายที่ติดเชื้อภายในประเทศ ตั้งแต่มกราคม 2020 เซี่ยงไฮ้ได้ใช้มาตรการต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบการผลิตทางการเกษตรและอาหารในท้องถิ่น ในงานแถลงข่าวที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2020 เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ได้กล่าวถึงภาพรวมของระบบการจัดหาอาหารของเมืองโดยสรุปไว้ดังนี้

  1. การจัดหาผักป้อนสู้ตลาด ปริมาณการขายส่งผักในเซี่ยงไฮ้ทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 9,000 ตัน / วัน มีแหล่งผลิตพืชผักนอกพื้นที่เมืองกว่า 127 แห่งที่เชื่อมต่ออย่างใกล้ชิดกับตลาดค้าส่งที่สำคัญจากจังหวัดต่างๆ เช่น ไห่หนาน ยูนนาน เจียงซู เจ้อเจียง ซานตง และหนิงเซี่ย แหล่งผลิตอาหารจำนวนมากช่วยทำให้มั่นใจได้ว่า คนเมืองเซี่ยงไฮ้จะมีผักไว้ทานตามฤดูกาลจากฟาร์มที่แตกต่างกันได้ตลอดปี โดยฤดูร้อนก็จะมี กะหล่ำปลีผักกาดหอม และมะเขือเทศที่ผลิตจากแหล่งผลิตในกานซู หนิงเซี่ย เหอเป่ยและจังหวัดอื่น ๆ ได้ป้อนเข้าสู่เซี่ยงไฮ้อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการจัดหาพันธุ์พืชหลักที่มีอยู่อย่างเพียงพอแล้ว Shanghai Vegetable Group ยังได้จัดผักตามฤดูกาลเช่น บ๊กโชย ผักโขม และผักกาดหอมที่จัดหาจากเจ้อเจียง หูหนานและจังหวัดอื่นๆ มาเพิ่มเติมอีกด้วย
  2. การจัดหาเนื้อหมู เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดค้าส่ง เนื้อหมูหลักๆ ในเซี่ยงไฮ้จึงจัดไปที่ผู้ค้าส่งรายใหญ่เพื่อสร้างการเชื่อมโยงของความต้องการสินค้าและการตลาดในระยะยาว และสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่การผลิตเนื้อสัตว์ที่สำคัญทั้ง 16 แห่งในจีน รวมถึงมณฑลซานตง เหอเป่ยและเฮยหลงเจียง ตลาดค้าส่งหลักในเซี่ยงไฮ้สามารถจัดหาหมูได้ประมาณ 10,000 ตัวต่อวัน
  3. ห่วงโซ่อุปทานของอาหารกลุ่มอื่น ผู้ค้าปลีก เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่และผู้ประกอบการด้านอีคอมเมิร์ซอาหารสดในเซี่ยงไฮ้ยังใช้ประโยชน์จากช่องทางการจัดจำหน่ายไว้หลายช่องทางเพื่อให้แน่ใจว่ามีการจัดหาอาหารที่ไม่ใช่วัตถุดิบหลักให้เพียงพอต่ออุปทานสินค้า ส่วนเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่จะจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคหลัก ๆ เช่น เนื้อหมู สัตว์ปีก ไข่ ผักผลไม้ ธัญพืชและน้ำมันได้อย่างเพียงพอ ส่วนกิจการอีคอมเมิร์ซรายใหม่ยังได้เปิดช่องทางการจัดหาเนื้อวัวและเนื้อแกะ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำและผักใบเขียวได้อีกช่องทางหนึ่ง

กรณีศึกษาพื้นที่เกษตรในเมืองที่เกาะฉงหมิงของเซี่ยงไฮ้

เกาะฉงหมิงมีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 267 ตารางเมตร มีประชากร 6,760 00 คน เป็นเกาะที่เกิดจากการสะสมและทับถมของตะกอนปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน ระบบนิเวศที่สำคัญบนเกาะ มีลักษณะเป็นพื้นต่ำกว่าระดับน้ำทะเลและเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) ตามธรรมชาติ รวมถึงเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ Chongming Dongtan ซึ่งได้รับการยอมรับในรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติภายใต้อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Site) ด้วยพื้นที่การผลิตทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดและสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาที่สูงที่ในเซี่ยงไฮ้ เกาะแห่งนี้มีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการเกษตร เกาะนี้มีพื้นที่ 25 เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่ชนบทของเซี่ยงไฮ้และเป็นหนึ่งในสี่ของพื้นที่ป่าของเซี่ยงไฮ้และให้ผลผลิตพืชผักและเมล็ดพืชกว่า 1 ใน 7 เลยที่เดียว สำหรับข้าวที่ผลิตจากเกาะแห่งนี้คิดเป็นร้อยละ 22 ของผลผลิตข้าวทั้งหมดของเซี่ยงไฮ้ ในบริบทนี้เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ได้กำหนดให้เกาะฉงหมิงดำเนินมาตรการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตอย่างรวดเร็วผ่านการทำเกษตรในเมืองเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีอาหารที่ผลิตจากท้องถิ่นที่มีเสถียรภาพในช่วงการระบาดของโควิดและการพัฒนาเกษตรกรรมและพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนในหลังวิกฤตโควิด

เซี่ยงไฮ้ได้ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโควิดเท่าที่จำเป็น ซึ่งเผชิญกับการกดดันจากปัญหาของระบบอาหารอย่างรุนแรง ในช่วงเริ่มต้นของการระบาด เซี่ยงไฮ้ได้จัดตั้งกลไกฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและใช้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่เข้มงวดที่สุด แม้ว่าจะได้รับการยืนยันผู้ป่วยจำนวนมากที่ติดเชื้อมาจากพื้นที่อื่น ทางเทศบาลก็ยังคงใช้มาตรการป้องกันและควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเพิ่มเติม

ภายใต้บริบทนี้เทศบาลของเขตฉงหมิงยืนยันที่จะส่งเสริมการพัฒนาเกษตรกรรมสีเขียว นำมาตรการรับมือโรคระบาดมาใช้อย่างรวดเร็วและระดมกำลังการผลิตของพื้นที่ผลิตอาหาร มาตรการเหล่านี้ทำขึ้นเมาเพื่อสร้างแหล่งผลิตทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศที่สูงรอบ ๆ ตัวเมืองเพื่อลดผลกระทบในการผลิต การจัดหาการขนส่ง และการเก็บรักษาอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของเมืองต่างๆ ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีและเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความมั่นคงของระบบอาหารในเมืองเพื่อลดความเสี่ยง

นโยบายฉุกเฉินเพื่อสร้างระบบการผลิตและการจัดหาพืชผักที่มีเสถียรภาพ

เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการตลาดของสินค้าเกษตรและป้องกันการแพร่กระจายของโควิดอย่างเคร่งครัด ภายใต้การประสานงานของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้เขตฉงหมิงได้จัดตั้งจุดทำธุรกรรมสำหรับสินค้าเกษตรจากจังหวัดอื่น ๆ ในระหว่างการหยุดการจัดส่งระหว่างจังหวัด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กะหล่ำดอกและหน่อไม้ฝรั่งได้รับการร้องขอให้เข้าสู่จุดทำธุรกรรมที่กำหนดขึ้นนี้ ด้วยการดำเนินการนี้ ทางเทศบาลได้สนับสนุนการบริหารจัดการยานพาหนะและบุคลากรจากต่างจังหวัด เพิ่มความเข้มแข็งในการควบคุมการป้องกันการระบาดจากการจัดที่เป็นมาตรฐานและป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิดที่เกิดจากขนส่งข้ามจังหวัดอย่างเคร่งครัด

ก่อนที่จะปลูกข้าว ทางฉงหมิงได้จัดสถานที่ผลิตผักในพื้นที่ผลิตอาหารอย่างเข้มแข็งเพื่อเร่งการผลิตผักเพื่อให้แน่ใจว่าการผลิตจะไม่หยุดชะงักและเพื่อให้มีสินค้าป้อนสู่ตลาดหรืออุปทานอย่างเพียงพอและราคาอยู่ในระดับที่เสถียร จนถึงปัจจุบันแหล่งปลูกผักขนาดใหญ่และผู้ผลิตรายใหญ่ในทั้งอำเภอกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้ง ในเมษายน ที่เกาะสามารถผลิตผักใบเขียวได้ไม่ต่ำกว่า 530 ตันต่อวัน

ในแง่ของคำแนะนำทางเทคนิคการผลิต เมื่อรวมกับรูปแบบการผลิตพืชผักในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ หน่วยงานด้านการเกษตรของฉงหมิงได้จัดสถานที่ผลิตผักต่างๆ เพื่อจัดแผนการเพาะปลูกผักที่โตเร็ว เช่น ผักขม ผักกาดขาว และบราซิก้า ในช่วงเวลาที่จำกัด พนักงานกว่า 600 คนจากแผนกเทคนิคผลิตพืชผักของฉงหมิงได้ให้คำแนะนำทางเทคนิคและการสนับสนุนทางเทคนิคต่างๆ แก่ผู้ประกอบการฟาร์มผักในเมืองและบุคคลทั่วไปผ่านช่องทางออนไลน์และการลงพื้นที่จริง

เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว ทางฉงหมิงได้ใช้นโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาเสถียรภาพการผลิตและปริมาณการผลิตผักเข้าสู่ตลาดในช่วงป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ขั้นแรก คือ การเปิดตัวนโยบายการประกันราคาผักในระดับพื้นที่การปกครอง (เมืองและเขต) เพื่อส่งเสริมให้พื้นที่เกษตรในเมืองปลูกผักใบเขียว ขั้นที่สอง มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อจัดระเบียบฟาร์มในเมืองเพื่อหว่านและปลูกพืชผักอย่างรวดเร็ว ขั้นสุดท้าย ดำเนินนโยบายสนับสนุนด้านโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจการเกษตรและพื้นที่เกษตรในเมืองให้สามารถทำบริการจัดส่งถึงบ้านได้

การพัฒนาระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนในท้องถิ่น

การระบาดของโควิดได้สร้างความท้าทายต่อระบบอาหารในเมืองทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตอาหาร การส่งเสริมและส่งเสริมการผลิตอาหารในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและการพัฒนาเกษตรกรรมสีเขียวได้กลายเป็นจุดสนใจในการพิจารณาของผู้ดูแลและบริหารเมืองต่างๆ

จากบทสรุปนโยบายของ FAO (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ  : Food and Agriculture Organization of the United Nations) เช่น “ระบบอาหารในเมืองและ COVID-19: บทบาทของเมืองและรัฐบาลท้องถิ่นในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน” ซึ่งออกเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2020“ เมืองและเทศบาลท้องถิ่นระดับแนวหน้าในการสร้างระบบอาหารที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นได้ ” เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม และ “ COVID-19 และบทบาทของการผลิตอาหารในท้องถิ่นในการสร้างระบบอาหารท้องถิ่นที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น” เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา โดยเสนอว่าการพัฒนาการผลิตอาหารในท้องถิ่นสามารถเสริมสร้างช่องทางการจัดหาอาหารที่หลากหลายและเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของเมืองต่างๆ ในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโควิด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างระบบอาหารในเมืองที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นมากขึ้น

วิกฤตโควิดได้เปิดโอกาสให้หลายประเทศสร้างแผนการฟื้นฟูที่จะย้อนกลับและเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคและการผลิตในปัจจุบันไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนสามารถช่วยลดความยากจนและการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวที่ลดการปล่อยคาร์บอน ณ จุดนี้ เซี่ยงไฮ้ได้กำหนดมาตรฐานการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืนและปรับปรุงความสามารถและความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความเสี่ยงต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ COVID-19 เป็นต้น

จาก “รายงานการพัฒนาสีเขียวทางการเกษตรของจีนปี 2019” เกาะฉงหมิงเป็นหนึ่งในพื้นที่บุกเบิกสีเขียวทางการเกษตรแห่งชาติ 20 แห่งในประเทศจีน โดยอัตราการรับรองอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทั้งภูมิภาคสูงถึง 87 เปอร์เซ็นต์และจะถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020 ในบริบทนี้ เทศบาลฉงหมิงได้ออกมาตรฐานข้าวสีเขียวที่ยั่งยืนตามมาตรฐานอาหารสีเขียวของจีน โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการความร่วมมือทางเทคนิคของ FAO (TCP / CPR / 3702)

มาตรฐานข้าวสีเขียวที่ยั่งยืน (ภาคผนวก 1) เป็นมาตรฐานชุมชนที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศที่จดทะเบียนและจัดการโดยสมาพันธ์การผลิตและการตลาดอาหารสีเขียวแห่งเซี่ยงไฮ้ ฉงหมิงซึ่งมีแนวทางปฏิบัติที่ดีและข้อกำหนดทางเทคนิคจากโครงการ FAO TCP สำหรับการผลิตข้าวในท้องถิ่นในเมืองฉงหมิง นอกจากนี้ยังสามารถจัดทำกรอบมาตรฐานทั่วไปเพื่อสนับสนุนความยั่งยืนและแนวทางสมัครใจของ“ สารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยสังเคราะห์ที่ไม่ใช้สารเคมี” ในห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร (โดยเฉพาะข้าว) สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา

โครงการ“ ข้าวเขียวยั่งยืน” เป็นโครงการบุกเบิกระบบการผลิตทางการเกษตรสีเขียวที่ยั่งยืนของฉงหมิง ดังนั้น รัฐบาลท้องถิ่นจึงจัดให้มีโครงการร่วมในการกำหนดมาตรฐานและระบบการรับรอง “ข้าวเขียวยั่งยืน” เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการ FAO TCP การพัฒนาข้าวเขียวอย่างยั่งยืน ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการอาหารหลักประจำวันของคนเซี่ยงไฮ้เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในช่วงการระบาด โดยการจัดระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนของพื้นที่เกษตรในเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความมั่นใจว่าระบบอาหารท้องถิ่นของเซี่ยงไฮ้จะเดินได้อย่างมีเสถียรภาพ

การเปลี่ยนแปลงระบบอาหารผ่านการบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบเป็นหัวใจหลักของวัตถุประสงค์ข้อ 12 ในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) การให้ความสำคัญกับมาตรฐานและการรับรอง China Green Food แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยรัฐบาลท้องถิ่นของเกาะฉงหมิง ในขณะที่มาตรฐาน China Green Food: ในแง่การผลิตข้าว ที่ระบุถึงการควบคุมและลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และร่วมกับระบบการทดสอบสารเคมีตกค้างตามมาตรฐานเกษตรสีเขียวที่ยั่งยืนและการรับรอง และสำหรับองค์ประกอบการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น สิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพการจัดการธรรมชาติ ทรัพยากรและสวัสดิการพนักงาน ฯลฯ และสร้างเงื่อนไขที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ย – อนุญาตให้ขายและใช้เฉพาะสารสกัดกำจัดแมลงและปุ๋ยชีวภาพบนเกาะเท่านั้น

พื้นที่เกษตรในเมืองเป็นแบบอย่างที่ใช้มาตรฐานความยั่งยืนโดยสมัครใจ (Voluntary Sustainability Standards: VSS) ของเกษตรกรรมยั่งยืนและได้ทำ “สัญญา” ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน (Le Velly, 2017) มูลค่าที่รวมอยู่ในภาระผูกพันด้านการผลิตที่รับผิดชอบเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นในคุณค่าที่ผู้บริโภคร่วมกัน ซึ่งก็คือการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ ผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบเหล่านี้มีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาเกษตรในเมืองอาจรวมถึง 1) ประชาชนผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากมาจากเครือข่ายการจัดซื้อภายในกลุ่ม 2) ผู้บริโภครายอื่นที่ซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรที่ได้รับการรับรองผ่านช่องทางสินค้านอกพื้นที่เดิม และ 3) นักท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกระบวนการบริโภคสินค้าและการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สำหรับผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่ผ่านการรับรองการผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่เพียงแต่การสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่การผลิตเท่านั้น แต่ยังรับประกันคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารและสินค้าเกษตรด้วย สำหรับนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเมืองที่สมัครใจและรับรองวิธีการผลิตเกษตรสีเขียวอย่างยั่งยืนสามารถลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากมลพิษจากปัจจัยการผลิตทางการเกษตรระหว่างการเดินทางเข้าไปในพื้นที่เกษตรในเมืองรวมทั้งความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการติดเชื้อโควิด

บทสรุป

การดำเนินมาตรการควบคุมโควิดอย่างรวดเร็วและผลกระทบต่อการฟื้นฟูปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในจีน อาจทำให้ประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะเกาะและบริเวณปากแม่น้ำมีประสบการณ์ในการพัฒนาการเกษตรควบคู่ไปกับการหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคตลอดจน เกี่ยวกับวิธีเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบอาหารในเมืองระหว่างและหลัง COVID-19 ในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของโลก วิธีการเลี้ยงประชาชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนพร้อมกับความท้าทายอย่างมากในการพึ่งพาผลผลิตที่นำเข้าและสินค้าที่ไม่ใช่อาหารหลัก จึงขอเรียกร้องให้เซี่ยงไฮ้ดำเนินการที่สร้างสรรค์และยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารในช่วงโควิดระบาด ดังนั้นมาตรการที่เซี่ยงไฮ้ใช้แสดงให้เห็นว่าการทำฟาร์มในเมืองมีบทบาทสำคัญในระบบอาหารท้องถิ่นในช่วงที่โควิดระบาดและหลังช่วงโควิดระบาด

  • การสร้างความมั่นใจในการจัดหาผลผลิตทางการเกษตรจากระบบอาหารในท้องถิ่นและส่งเสริมให้พื้นที่ผลิตอาหารในเมืองดำเนินการทำการเกษตรเชิงนิเวศต่อไป (เช่น อาหารสีเขียวของจีน) มีความสำคัญต่อความมั่นคงของระบบอาหารในเมืองและการดำรงชีวิตของประชาชน เซี่ยงไฮ้ได้กำหนดระบบและแผนเชิงกลยุทธ์ในแง่ของนโยบายบูรณาการการสนับสนุนทางการเงินและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้แก่พื้นที่เกษตรในเมืองตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
  • แม้ว่าในช่วงแรกของการปิดเมืองจะเป็นเรื่องยากที่จะรักษามาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมระดับสูงสำหรับการทำเกษตรในเมือง เซี่ยงไฮ้ก็แก้ปัญหาอย่างรวดเร็วเพื่อกู้คืนมาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพสูงในช่วงโควิดระบาดในระยะหลัง เพื่อบรรเทาความต้องการในท้องถิ่น ลดช่องว่างและแรงกดดันต่อการผลิต การจัดหาสินค้า การขนส่งและการจัดเก็บผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรระหว่างเมืองต่างๆในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีและเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นต่อผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด
  • สำหรับเกาะฉงหมิงที่มีประสบการณ์ในการส่งต่อบทเรียน ได้เรียนรู้สำหรับรัฐกำลังพัฒนาของเกาะ ได้แก่ 1) รักษาอุปทานของอาหารที่ไหลเวียนกับภายนอก 2) จำเป็นเพื่อรักษาการค้าแบบเปิดและวงจรโซ่โลจิสติกส์ 3) เพิ่มระดับการสนับสนุนให้กับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ 4) รับประกันการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและราคาไม่แพงจากเกษตรกรรวมถึงผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมงสำหรับทุกคน 5) ลงทุนในระบบอาหารที่ยั่งยืนและยั่งยืนในระยะยาว และ 6) หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งการฟื้นตัวให้กับคนในเมืองและชนบท

ประสบการณ์ของฉงหมิงแสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในการพัฒนาเกษตรเชิงนิเวศที่มีความยั่งยืน ไม่ควรถูกขัดขวางโดยวิกฤตโควิด หรือวิกฤตอื่น ๆ เนื่องจาก สิ่งนี้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเมืองและระบบอาหารในภูมิภาค ในช่วงเวลา COVID-19 ซึ่งส่วนใหญ่มีดังต่อไปนี้:

  • จากมุมมองด้านความมั่นคงทางอาหาร รูปแบบการผลิตเกษตรและระบบมาตรฐานความยั่งยืนที่มากขึ้นสามารถทำได้ในเมืองใหญ่ๆ อย่างเซี่ยงไฮ้ โดยมีอาหารทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการราคาไม่แพงและเข้าถึงได้เพิ่มมูลค่าตราสินค้าและประกันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ
  • จากมุมมองด้านสุขภาพ ประการหนึ่ง การลดความเสี่ยงของสารเคมีทางการเกษตร ปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำและระบบนิเวศบริเวณปากแม่น้ำ ตลอดจนอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์บนเกาะ) เพื่อลดโอกาสในการสัมผัสกับสัตว์ป่า (นกและค้างคาว ฯลฯ ) และลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคของจากสัตว์สู่คน
  • จากมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม การลดผลกระทบของการผลิตทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย และเพิ่มรายได้อื่น ๆ ของเกษตรกรอย่างรวดเร็ว รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบชุมชนในชนบทหลังการระบาดโควิด ตัวอย่างเช่น ในช่วงวันหยุดวันชาติจีนในสัปดาห์แรกของตุลาคม เกาะชงหมิงมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 515,100 คน เพิ่มขึ้นกว่า 285 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบปีที่แล้ว

References