ทำไมระบบอาหารที่ยั่งยืนถึงจำเป็นในโลกยุคหลังการระบาดของโควิด

ระบบอาหารนั้นมีความจำเป็นในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะว่ามันเป็นแจกจ่ายพลังงานที่ต้องใช้ดำรงชีวิต และใช้ในการทำงาน อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์มหภาคได้เพิกเฉยต่อความเชื่อที่ว่าอุตสาหรรกรมอาหารและการเกษตรนั้นปัจจุบันมีการใช้เครื่องจักรและได้รับเงินอุดหนุนอย่างเข้มข้นเพื่อให้ทั่วโลกได้สมปรารถนาเรื่องอาหาร

“ ปี 2020 จะเป็นปีแห่งการไตร่ตรองระบบอาหารของโลก ”

 ปี 2020 จะเป็นปีแห่งการไตร่ตรองระบบอาหารของโลก แค่ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา COVID-19 ได้ชัตดาวน์ไปมากกว่าครึ่งโลก ภาพของความวุ่นวายในการซื้อของ ร้านชำที่ของบนชั้นว่างเปล่า การรอคิวเป็นไมล์ ๆ ที่ธนาคารอาหาร ทันใดนั้นมันช่วยเตือนเราว่าระบบอาหารนั้นมีความสำคัญอย่างไรในชีวิตของเรา และมีความไม่สมดุลอย่างไรบ้างที่เราต้องเผชิญ

การระบาดครั้งใหญ่นั้นส่งผลถึงอาหาร อย่างไรก็ตามมันไม่เพียงแต่สะท้อนพฤติกรรรมของมนุษย์ในช่วงเวลาฉุกเฉิน พวกเขาเป็นพยานของระบบห่วงโซ่อุปทานของอาหาร ซึ่งมีการรวมศูนย์อำนาจและดำเนินการบนพื้นฐานการจัดหาที่ตรงเวลา แต่ตอนนี้มันมีแนวโน้มที่จะสะดุดเมื่อต้องเผชิญกับแรงกระแทกจากโควิด เช่น ในหลายประเทศไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือบรรจุอาหารเพราะคนงานถูกขัดขวางด้วยขอบแดนแห่งความป่วยไข้ โดยในที่อื่นๆ สต็อคสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกองเป็นภูเขา อาหารจำนวนมากกลายเป็นขยะเพราะว่าร้านอาหาร บาร์ นั้นถูกสั่งให้ปิด ในประเทศที่พัฒนาแล้ว องค์การอาหารและการเกษตรของโลก(FAO) สหประชาชาติ และโครงการอาหารโลก ได้คาดว่า จะมีการระบาดของความหิวโหยและจะส่งผลให้คนอดอยากเป็นสองเท่าในเร็ว ๆ นี้ เว้นแต่จะมีมาตรการออกมา

รัฐที่สุขภาพแย่

รอยแตกในส่วนหน้าของระบบอาหารโลกนั้นเป็นที่ประจักษ์มานานแล้ว อ้างจากข้อมูลล่าสุดของสถานะความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในโลก ปี 2018 นั้นมีคนกว่า 820 ล้านคนที่นอนหิวโหยและหนึ่งในสามของประชาชนทั้งหมดขาดสารอาหารที่จำเป็น ในเวลาเดียวกันคนกว่า 600 ล้านคนถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วน และมีคน 2 พันล้านคนที่มีน้ำหนักเกิน เพราะว่าอาหารที่ไม่มีความสมดุล ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน มะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยโรคเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ปัจจุบันผู้คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและขาดสารอาหารทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด – 19 อย่างไม่เป็นสัดเป็นส่วน ในกรณีเหล่านี้ทั้งหมดค่าผ่านทางที่เหล่ามนุษย์ต้องเสียคือมูลค่าทางเศรษฐกิจก้อนมหึมา รวมถึงการเสียรายได้และการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ

ข้อจำกัดของระบบอาหารนั้นไม่ได้เป็นเพียงการป้อนอาหารให้แก่โลกอย่างดี การผลิตอาหารด้วยการใช้สารเคมีที่มากเกินไป ในวัฒนธรรมระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและการทำปศุสัตว์ที่เข้มข้นบนผืนดิน และที่ทะเลมีการขุดเอาทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ทุกอย่างเสื่อมลงอย่างรวดเร็วมากขึ้น มากกว่าที่พวกเขาสามารถผลิตขึ้นมาใหม่และเป็นสาเหตุกว่า 1 ใน 4 ของปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่มนุษยสร้างขึ้นมา โดยเกือบครึ่งนั้นเกิดจากการทำปศุสัตว์ อ้างจากงานวิจัยวิทยาศาสตร์รวมถึงจาก FAO ที่ระบุว่าอุตสาหกรรมการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์นั้นเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัดสามารถทำให้เกิดการแพร่ของไวรัส เหมือนกับไข้หวัดนกในปี 2009 หรือจะการแพร่ระบาดของแมลงซูเปอร์บัก ที่มีภูมิต้านทานสูง เพราะว่ามันเติบโตและแข็งแรงขึ้นจากยาปฎิชีวนะที่ถูกใช้อย่างเข้มข้นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและต้านทานโรคของปศุสัตว์ ในเวลาเดียวกัน การรบกวนคนที่อาศัยมาก่อนอย่างไม่มีการควบคุมเพื่อที่จะทำฟาร์มและการล่าสัตว์เหมือนเป็นการอนุญาตให้เชื้อโรคร้ายแรง เช่น SARS, HIV, EBOLA นั้นจะสามารถข้ามสายพันธุ์ได้และจะมาติดสู่เราได้

การรีเซตเศรษฐกิจ

การสร้างเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่หลังจากวิกฤติโควิด – 19 นั้นให้โอกาสที่เฉพาะมากในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารโลกและสร้างความยืดหยุ่นรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และอาหารสุขภาพสำหรับทุกคน เพื่อที่จะทำให้เกิดขึ้นได้หน่วยงานของสหประชาชาติอย่าง FAO  โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ การทำงานร่วมกันของหลาย ๆ รัฐบาลเพื่อสู้กับวิฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กองทุนสากลเพื่อพัฒนาการเกษตร และโครงการอาหารโลก โดยรวมแล้วระบบอาหารนั้นมีการเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ 4 อย่าง :

•  การฟื้นฟูห่วงโซ่อุปทานของอาหาร  ห่วงโซ่อุปทานของอาหารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีความสำคัญในการลดความเสี่ยงของความไม่มั่นคงทางอาหาร การขาดสารอาหาร ความผันผวนของราคาอาหาร และสามารถสร้างงานได้อย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ชนบทเป็นการเสริมพลังให้ผู้ผลิตขนาดเล็กและผู้ค้าปลีก และผู้ค้าหลักในกระแส ในระบบเศรษฐกิจอาหารสามารถช่วยสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานของอาหาร

• อาหารสุขภาพ การควบคุมการบริโภคของสัตว์และอาหารที่แปรรูปที่มากเกินไปในประเทศที่ร่ำรวยกว่าและพัฒนาการเข้าถึงอาหารที่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ในประเทศที่จนกว่าจะสามารถพัฒนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการใช้ที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้เข้าถึงได้ทั่วทั้งโลก และตัดช่องทางการปล่อยคาร์บอน การกำหนดเป้าหมายใหม่ ในการใช้เงินอุดหนุนทางการเกษตรเพื่อเปลี่ยนไปสู่การผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ การเก็บภาษีอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การจัดแนวการจัดซื้อ โครงการการศึกษาและระบบการดูแลสุขภาพที่มุ่งไปสู่การผลิตอาหารที่สามารถทำให้เราบรรลุผลความสำเร็จนื้ในการทำงานระยะยาว ในแง่นี้มันจะสามารถลดค่าการดูแลรักษาพยาบาลทั้งโลก ลดความไม่เท่าเทียม และยังช่วยเรารับมือกับสภาพแวดล้อมการระบาดใหญ่ในครั้งต่อไปด้วยประชาชนที่มีสุขภาพดีมากยิ่งขึ้น

• การปฎิรูปการทำเกษตร การเปลี่ยนไปสู่การปฏิรูปการทำเกษตรบนที่ดินและในมหาสมุทรโดยเชื่อมต่อกับระบบอาหารท้องถิ่นที่แข็งแรงในแต่ละภูมิภาคที่สามารถรักษาดินของเรา อากาศของเรา น้ำของเราได้ และยังเพิ่มการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและงานในท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้มันสามารถจะบรรลุผลได้โดยการสนับสนุนการทำฟาร์มแบบยั่งยืน มีการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาด และการปรับกฏระเบียบทางการเงินเพื่อเป็นการปรับระดับให้เกษตรกรรายย่อยและยั่งยืนสามารถกลายเป็นเกษตรกรรายใหญ่และจริงจังกันมากขึ้น

•  การอนุรักษ์ การผสมพันธุ์ให้น้อยลงของสัตว์เพื่อรองรับการเปลี่ยนไปสู่อาหารที่มาจากพื้นเป็นหลักในประเทศที่มั่งคั่งกว่า คือคีย์ในการรักษาระบบนิเวศที่เก่าแก่ ความพยายามในการอนุรักษ์สอดคล้องกับข้อเสนออันล่าสุดของสมัชชาสิ่งแวดล้อมที่ตั้งโดยสหประชาชาติ ในการทำกรอบการทำงานเพื่อที่จะปกป้องโลกของพืชและสัตว์ ร่วมกับมาตรการที่ชัดเจนในการจัดการกับการค้าสัตว์ป่านั้นจะเป็นศูนย์กลางของการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มการกักเก็ลคาร์บอน ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ในอนาคต

ระบบอาหารอยู่ที่ทางข้ามแยกของมุนษย์ สัตว์ เศรษฐกิจ สุขภาพจากสิ่งแวดล้อม การเพิกเฉยต่อสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบด้านสุขภาพและด้านการเงินมากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการเพิ่มขึ้นของประชากรทั่วโลกด้วยการจัดลำดับความสำคัญของระบบอาหารใหม่ ให้มีจุดมุ่งหมายในการก้าวไปด้านหน้า พวกเราสามารถทดแทนเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมในการมุ่งไปข้างหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพอากาศปารีส เพราะว่า Winston Churchill ครั้งหนึ่งเคยกล่าวว่า

“สุขภาพที่ดีของประชาชนคือสินทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ประเทศมีได้”


ที่มา : https://blogs.imf.org/2020/07/14/why-sustainable-food-systems-are-needed-in-a-post-covid-world/