
ขณะนี้หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ประสบปัญหาประปามีรสชาติกร่อย เนื่องจากสภาวะภัยแล้งและน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้มีน้ำเค็มผ่านเข้าระบบน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา
วันนี้แอดมิน เลยมีโอกาสขอความรู้จากเหล่ากูรูเกษตรในเมือง เกี่ยวกับผลกระทบที่จะมีต่อเกษตรกรรมในเมือง เพราะส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาในระบบการเพาะปลูก ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์มาบอกต่อด้วยจ้า.กูรูด้านเกษตรในเมือง ให้ข้อมูลลว่า น้ำประปาเค็มในช่วงนี้จะมีทั้งผลเสีย และผลดีกับพืชผัก ผลไม้ที่เพาะปลูกอยู่ในขณะนี้ ดังนี้
….ผลเสีย เมื่อเราใช้น้ำประปาที่มีความเค็มมากกว่าปกติรดน้ำผัก ที่อยู่ในกลุ่ม
ผักสลัด จะเห็นชัดเจน ขอบใบไหม้ ใบมีจุดสีน้ำตาล

ผักชี ต้นเริ่มเหลือง แสดงอาการจากใบอ่อนก่อน
พืชตระกูลแตง จะหยุดการเจริญเติบโต ออกดอกเร็ว ลำต้นไม่ยืด
ในกลุ่มผักสลัดจะเป็นน้ำเค็มจะส่งผลเสียหายรุนแรงกับ กรีนโอ๊ค กรีนคอลรอล บัตเตอร์เฮด
แต่ผลดี หรือข้อดี ก็จะอยู่ในกลุ่มที่กำลังเพาะปลูก
คะน้า เคล ใบจะเขียว และหนา
มะเขือเทศจะติดลูกดก ผลกรอบหวาน
เมล่อน แตงโม ถ้าโตเต็มที่ หรือติดลูกอยู่ ทำให้รสชาติหวานกว่าปลูกปกติทั้งนี้กูรูทั้งสองท่าน แนะนำว่า
การแก้ไขระยะสั้น พยายามรดน้ำลงดิน ไม่ให้โดนใบ น่าจะลดปัญหาจากการสัมผัสโดยตรงไปได้บ้าง หรือเอาน้ำดื่มมาผสมน้ำเจือจาง ก่อนรด และ น้ำประปาจะเค็มมากช่วงเช้า แต่เย็นจะความเค็มจะลดลง ฉะนั้นช่วงเช้า เราควรรองน้ำทิ้งไว้จากช่วงเย็น เผื่อมาใช้ตอนเช้า
การแก้ไขในระยะยาว คือการทำให้ดินมีอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสเพียงพอ CEC และความเป็นคอลลอยด์ของฮิวมัสก็จะช่วยลดผลกระทบของโซเดียมและคลอไรด์ในดินเค็มไปได้
อีกอย่าง น้ำเค็มแก้ยากกว่าดินเค็มนะ เพราะดินเค็ม ยังใช้น้ำล้างดิน หรือพืชคลุมดินช่วยได้ แต่น้ำเค็มล้างไม่ได้นะ จะทำให้ยิ่งสะสมความเค็มมากขึ้น ต่อให้ยิ่งรดน้ำ ดินก็ยิ่งเค็ม .
อย่าลืมสังเกตอาการของพืชผักในแปลงกันด้วยนะคะ

