15 ข้อที่ทำได้เลยในการลดขยะอาหาร และกลายเป็นฮีโร่สำหรับอาหาร

พวกเราต่างมีส่วนร่วมในการประหยัดอาหารของโลกนี้

สำหรับคนจำนวนมากในโลก เศษขยะอาหารได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การซื้ออาหารที่มากเกินมากกว่าที่เราต้องการเวลาไปตลาด ซื้อผักผลไม้มาเหลือทิ้งที่บ้าน

พฤติกรรมในชีวิตประจำวันเป็นการเพิ่มแรงกดดันไปสู่ทรัพยาการธรรมชาติของเรา และความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของเรา เมื่อเราทิ้งขยะอาหาร เราทิ้งค่าแรงไปด้วย เราทิ้งการลงทุน และทรัพยากรที่ต้องใช้อย่างแน่นอน อาทิ น้ำ เมล็ดพันธุ์ วัสดุปลูก อีกมากมาย นี่แค่ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ไม่นับรวมค่าขนส่ง ค่ากระบวนการต่าง ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ การสร้างขยะเศษอาหารได้เพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการจัดการกับวิกฤติ climate chane

มันเป็นปัญหาใหญ่มาก ในความเป็นจริง ทั่วทั้งโลก มีอาหารที่ยังสามารถกินได้ถูกทิ้งหรือกลายเป็นขยะทุก ๆ วัน ระหว่างการเก็บเกี่ยวและการขายปลีกแบบเดี่ยว ๆ โดยอาหารที่ผลิตได้ประมาณร้อยละ 14 ทั่วโลกถูกทำให้เสียหาย หรือกลายเป็นขยะเป็นจำนวนมากในระดับการซื้อขายปลีกและระดับการบริโภค

ส่วนของอาหารที่สูญเสียมาตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ไม่รวมถึงส่วนที่อาหารสูญเสียในระดับผู้ค้ารายย่อย แต่เรานับส่วนที่เป็นขยะอาหาร ขยะเศษอาหาร เราสามารถสร้างความแตกต่างด้วยการแก้ไขต้นตอของปัญหานี้ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกคนตั้งแต่เกษตรกรผู้ผลิตไปจนถึงลูกค้า และเจ้าของร้านค้า ที่จะสามารถช่วยกันยุติปัญหานี้ได้

การลดอาหารที่สูญเสียและขยะอาหารมีความจำเป็นอย่างมากในโลก ในยามที่มีคนหิวนับล้านคนทั่วโลกอยู่ทุกวัน เมื่อเราลดขยะอาหาร เราจะเคารพในอาหารที่ไปไม่ถึงคนที่หิวโหยนับล้าน

มันขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันของเราเพื่อสร้างพฤติกรรมการลดขยะในชีวิต

นี่คือคำแนะนำง่าย ๆ ในการเชื่อมต่อใหม่อีกครั้งกับอาหาร และสิ่งที่เราต้องการเปลี่ยนแปลง

1. ดัดแปลงอาหารให้ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น และยั่งยืนยิ่งขึ้น

ชีวิตคือการแข่งขันกับความเร็ว และการเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสามารถถือเป็นความท้าทาย แต่มื้ออาหารที่ต่อสุขภาพไม่จำเป็นต้องซับซ้อน อินเตอร์เนตเต็มไปด้วยสูตรอหารที่ต่อสุขภาพทำได้เร็ว และคุณสามารถแชร์ต่อไปให้แก่เพื่อนและครอบครัวของคุณ

2. ซื้อเท่าที่คุณต้องการ

วางแผนทำอาหาร ทำรายการซื้อของ และยึดตามนั้น และหลีกเลี่ยงการซื้อที่ถูกกระตุ้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการลดขยะอาหาร คุณยังลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย

3. เลือกผัก ผลไม้ น่าตาที่ไม่ต้องสวยงาม

อย่าตัดสินอาหารด้วยรูปลักษณ์มัน!  ผลไม้ที่รูปร่างประหลาดและมีตำหนิมักถูกทิ้งขว้าง เพราะว่ามันไม่ได้ตามมาตรฐานความสวยงามทั่วไป แต่ไม่ต้องกังวล รสชาติมันเหมือนกัน ใช้ผลที่โตเต็มที่ทำของหวาน น้ำผลไม้หรือน้ำปั่นได้

4. เก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง

ย้ายของที่แช่เย็นนานกว่าไปไว้ข้างหน้าตรงที่หยิบได้สะดวก และเอาอันที่แช่ใหม่ไปไว้ข้างหลัง ใช้ภาชนะที่เก็บอากาศได้มิดชิด เก็บอาหารไว้ในตู้เย็น และดูให้มั่นใจว่าไม่มีแมลงอยู่ข้างใน

5. ทำความเข้าใจฉลากของอาหาร

มันมีความแตกต่างอย่างมากระหว่าง “ควรบริโภคก่อน” และ“วันหมดอายุ”
อาหารที่ยังคงปลอดภัยที่จะบริโภคหลังวันที่ระบุ จะใช้คำว่า “ควรบริโภคก่อน” ในขณะที่ “วันหมดอายุ” นั้นบอกว่าอาหารนั้นไม่ปลอดภัยอีกต่อไปหลังจากวันที่ระบุ ตรวจสอบฉลากอาหารว่ามีส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น Trans fats สารกันบูด และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและเกลือ

6. เริ่มจากเล็ก ๆ

เวลาทำอาหารที่บ้านให้ลองทำในปริมาณที่น้อยลงกว่าที่เคย หรือไปร่วมกันแชร์อาหารจานใหญ่ในภัตตาคาร

7. รักอาหารที่กินเหลือ

ถ้าคุณไม่ได้กินทุกอย่างที่คุณทำ นำของที่เหลือไปแช่เย็นหรือใช้ของเหลือในการทำเมนูอื่น ๆ ในมื้อถัดไป

8.นำขยะอาหารมาใช้ประโยชน์

แทนที่จะขว้างขยะอาหารทิ้ง นำไปทำปุ๋ย มันเป็นหนทางในการนำคุณค่าทางอาหารกลับลงไปสู่ดิน และเป็นการลดร่องรอยคาร์บอน

9. เคารพในอาหาร

อาหารเชื่อมต่อกับเราทั้งหมด การเชื่อมต่อกับอาหารอีกครั้งโดยการรู้กระบวนการในการผลิตอาหาร อ่านเรื่องราวการผลิตอาหารและพยายามหาเกษตรกรของคุณ

10. สนับสนุนผู้ผลิตอาหารท้องถิ่น

ด้วยการซื้อของในท้องถิ่น คุณได้สนับสนุนครอบครัวของเกษตรกรและธุรกิจขนาดเล็กในชุมชนของคุณ คุณยังได้ช่วยต่อสู้กับปัญหามลพิษที่เกิดจากการส่งของด้วยรถบรรทุกหรือพาหนะอื่น ๆ

11. รักษาจำนวนปลา

กินปลาชนิดที่มีจำนวนมาก เช่น ปลาทู หรือปลาแฮร์ริ่ง ดีกว่ากินปลาที่มีการบริโภคเกินจำนวนปลาไปมากอย่างปลาทูน่า หรือปลาค็อด เราควรซื้อปลาที่จับมาตามธรรมชาติ หรือที่เพาะเลี้ยงแบบยั่งยืน เช่น ปลาที่มีป้ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

12. ใช้น้ำให้น้อยลง

พวกเราไม่สามารถผลิตอาหารโดยปราศจากน้ำ ขณะที่มันมีความสำคัญแต่เกษตรกรกลับมีน้ำใช้เพาะปลูกน้อยมาก การลดขยะอาหารก็เป็นวิธีการในการรักษาทรัพยากรแหล่งน้ำเพื่อสงวนไว้เพาะปลูกได้มากขึ้น ยกตัวอย่างการลดการใช้น้ำได้แก่ การปิดน้ำขณะที่แปรงฟัน หรือซ่อมท่อน้ำที่รั่วซึม

13. รักษาดินและน้ำของคุณให้สะอาด

ขยะบางอย่างที่มาจากครัวเรือนนั้นเป็นพิษอย่างเห็นได้ชัด และไม่ควรทิ้งรวมกันลงในถังขยะปกติ
ขยะที่อันตราย เช่น แบตเตอรี่ สี โทรศัพท์มือถือ ยา สารเคมี ปุ๋ย ยาง หมึกพิมพ์ เป็นต้น ขยะเหล่านี้สามารถรั่วซึมลงไปในดินและแหล่งน้ำ ตอนนี้มันกำลังทำลายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จะมาผลิตอาหารให้แก่เรา

14. กินถั่วแลกผักให้มากขึ้น

สัปดาห์ละครั้ง พยายามกินอาหารจำพวกถั่ว หรือธัญพืชโบราณอย่าง ควินัว

15. การแบ่งปันกันคือการรักษา

การบริจาคอาหารนั้นจะช่วยลดการเกิดขยะ ยกตัวอย่าง เช่น แอพพลิเคชั่นสามารถเชื่อมต่อเพื่อนบ้าน ชุมชน กับธุรกิจท้องถิ่นที่ซึ่งอาหารของเราจะได้รับการแบ่งปัน ไม่ใช่การโยนทิ้ง

ในวันที่ 29 กันยายน 2020 ที่ผ่านมา เราได้เฉลิมฉลองการถือปฏิบัติครั้งแรกของวันสำคัญในระดับสากลว่าด้วยการตระหนักถึงการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร นอกจากนี้วันนี้ยังเกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 ทั่วทั้งโลก ซึ่งทำให้เกิดการตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนและปรับสมดุลวิธีการผลิตและบริโภคอาหารของเรา การสูญเสียที่น้อยลง การกินที่ดีขึ้น และการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างโลกที่ปราศจากความหิวโหย

การเปลี่ยนแปลงนิสัยประจำวันของเราเพียงเล็กน้อยสามารถสร้างผลกระทบอย่างมากทั่วโลก.
เริ่มปฏิบัติ.
หยุดการสูญเสียอาหารและของเสีย.
สำหรับผู้คนและเพื่อโลกใบนี้.

ที่มา : http://www.fao.org/fao-stories/article/en/c/1309609/?fbclid=IwAR3xQqucl95oouR24cqt9tR4vgb7UR28gD_D_NvshXbBvumm0juNf8yDtO0