แปลง . ปลูก . ปัน สวนผักคนเมือง สนับสนุนการเข้าถึงอาหารด้วยการสร้างพื้นที่อาหาร

ทำไมการสนับสนุนสวนผักชุมชนจึงมีความจำเป็นมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน

การปลูกผักในบ้าน สร้างแหล่งอาหารในเมือง หรือการทำเกษตรในเมือง มีความสำคัญต่อเมืองเป็นอย่างมากทั้งในภาวะปกติหรือภาวะไม่ปกติอย่างที่เป็นอยู่ในช่วงเวลานี้ เพราะ“อาหาร” คือหนึ่งในปัจจัยสี่สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน เราต้องกินอาหาร 3 มื้อต่อวัน  เราจึงต้องมี “แหล่งอาหาร” ของเมืองและต้องมีพื้นที่เกษตรในเมือง (urban agriculture) ที่ประเทศไทยไม่ควรถูกมองข้ามอีกต่อไป เพื่อการปรับตัวของเมืองและคนเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และเพื่อประโยชน์อื่นๆ โดยไปโยงอยู่กับการเกิดขึ้นของกลุ่มเคลื่อนไหวทั่วทุกมุมโลกในเรื่องระบบอาหารใกล้บ้าน ระบบอาหารทางเลือก ความมั่นคงทางอาหารในระดับท้องถิ่น การลดการเดินทางของอาหาร ห่วงโซ่อาหารที่เป็นธรรม ความเกื้อกูลและรับผิดชอบต่อกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค และแนวคิดอื่นๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งเกี่ยวโยงและเชื่อมร้อยกันทั้งสิ้น

“กลุ่มคนที่มีความเปราะบาง” เสี่ยงแต่ไม่มีทางเลือก ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19  ประเทศไทยมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ สิ่งที่รัฐบาลและองค์การอนามัยโลกได้ให้วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา คือ หยุดเชื้อ หยุดการแพร่ระบาด ซึ่งการกักตัวเองอยู่ที่บ้านนั้น อาจจะหมายถึงการหยุดงาน ไม่มีรายได้ และไม่มีอาหาร

แปลง . ปลูก . ปัน  สวนผักคนเมือง

สนับสนุนการเข้าถึงอาหารด้วยการสร้างพื้นที่อาหาร  ให้กับชุมชนที่มีความเปราะบางในเมือง จำนวน 30 ชุมชน  

  • ชุมชนที่มีความเปราะบาง หรือองค์กรที่ทำงานดูแล ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 20 ชุมชน
  • ชุมชนที่มีความเปราะบาง หรือองค์กรที่ทำงานดูแล ในจังหวัดเชียงใหม่ 10 ชุมชน

 หลักเกณฑ์การสนับสนุน

  • ชุมชน หรือองค์กรที่ดูแลกลุ่มคนที่มีความเปราะบาง ชุมชนที่มีความเปราะบาง ในที่นี้หมายความถึง กลุ่มคนจนเมือง กลุ่มคนรายได้น้อย  คนตกงานคนที่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้และการเข้าถึงอาหาร
  • การสร้างพื้นที่อาหารของชุมชนนี้ ต้องมีทีมที่มีความมุ่งมั่นจะสร้างพื้นที่อาหารเพื่อดูแลกันและกันในชุมชน อย่างน้อย 8 -10 คน
  • มีพื้นที่สำหรับการปลูกผัก และกิจกรรมด้านการเกษตร อย่างน้อย 100 ตร.ม. ซึ่งเป็นพื้นที่ขั้นต้นที่จะสามารถเพาะปลูกผัก ดูแลคนได้ประมาณ 40 – 60 คน และเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองมีโอกาสที่จะร่วมสร้างพื้นที่อาหารของตนเอง
  • เน้นการลงมือทำ เรียนรู้ พึ่งตนเองด้านอาหาร เพื่อการบริโภค แบ่งปันและดูแลกันในชุมชน
  • เป็นการเพาะปลูกตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีใดๆ ในการเพาะปลูก

การสนับสนุน

  • ปัจจัยการผลิต เช่น ดินหมักพร้อมปลูก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เมล็ดพันธุ์อินทรีย์ อุปกรณ์การทำสวน ที่จำเป็นสำหรับพื้นที่อาหาร 100 ตร.ม.
  • จัดหา และขนส่งปัจจัยการผลิตไปถึงพื้นที่ชุมชน
  • พี่เลี้ยงที่เคยให้คำแนะนำ เพื่อให้ทุกชุมชนสามารถสร้างพื้นที่อาหาร เพื่อดูแลกันและกัน ให้ผ่านพ้นจากวิกฤตนี้ไปได้
  • ชุดความรู้ เทคนิค การบริหารจัดการแปลง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนการเพาะปลูก ผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
  • ทีมติดตาม ประสานงาน ที่จะเคยดูแล อำนวยความสะดวกในด้านการสร้างพื้นที่อาหาร (5 เดือน)

ระยะเวลา

  • 28 เมษายน 63                      เปิดรับสมัคร
  • 8 พฤษภาคม  63                   ปิดรับสมัครชุมชน องค์กรที่สนใจ
  • 10 พฤษภาคม 63                  ประกาศผลชุมชน องค์กรที่ได้รับการสนับสนุน
  • 11 – 30 พฤษภาคม 63         เตรียมพื้นที่ วางแผนการทำงาน
  • 31 พฤษภาคม 63                  ลงแปลงปลูกผัก สร้างพื้นที่อาหาร

สมัครเข้าร่วมโครงการ ดาวน์โหลดใบสมัคร

สนใจดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่นี่  

ติดต่อสอบถาม & ข้อมูลเพิ่มเติม

  • กรุงเทพฯ   มิ้ม 089-641-9283 / ธี 093 -583-3450
  • เชียงใหม่    ผึ้ง 095-129-8448

**สำหรับผู้สนใจทั่วไป สามารถแจ้งรายละเอียด เพื่อแบ่งปันความรู้ และสร้างพื้นที่อาหารไปพร้อมกัน เพราะ “แหล่งอาหาร” ของเมือง เป็นเรื่องสำคัญ