การเกิดวิกฤต COVID-19 ได้สร้างผลกระทบต่อระบบอาหารในทุกระดับไปทั่วโลก โครงสร้างระบบอาหารสมัยใหม่ต้องปรับตัวขนานใหญ่ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ภาครัฐและเอกชน การเผชิญวิกฤตในครั้งนี้ทำเราตระหนักได้ว่าเรากำลังเผชิญความไม่แน่นอนสูงขึ้น ทำให้แผนและนโยบายที่วางไว้ต้องหันกันมาทบทวนกันใหม่ทั้งหมด’ COVID-19 กับการเขย่าระบบอาหารรูปแบบใหม่อย่างมโหราฬ ระบบอาหารรูปแบบใหม่ (modern food system) ที่เราพึ่งพาก่อนวิกฤตโรคระบาดจะเข้ามา ได้เคยถูกยกย่องว่าเป็นระบบอาหารที่ป้อนอาหารให้แก่พลเมืองโลกไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้อย่างมาก ซึ่งลดการขาดสารอาหารจากร้อยละ 50 ของประชากรโลกในปี 1945 มาอยู่ที่ร้อยละ 10.8 ในปี 2017 ระบบห่วงโซ่อุปทานได้ถูกออกแบบให้มีการกระจายอาหารอย่างรวดเร็วและทันต่อความต้องการของผู้บริโภคตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ด้วยระบบโลจิสติกสที่ทันสมัย อย่างไรก็ตาม อาหารในราคาถูกและสะดวกสบายจากระบบดังกล่าวก็นำมาซึ่งราคาที่ต้องจ่ายจากห่วงโซ่ที่ยาวและซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและค่าใช้จ่ายแอบแฝงที่มากับผลทางจริยธรรม การเข้ามาของโควิดส่งผลห่วงโซ่อุปทานของระบบอาหาร (Modern food system value chain) ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำดังนี้ ภาคการผลิต (Production) ประกอบด้วยฟาร์ม เกษตรกร ผู้ผลิตอาหาร รวมไปถึงผู้ทำปัจจัยการผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย อาหารสัตว์ เป็นต้น แหล่งผลิตอาหารหลายแห่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาแรงงานจากนอกประเทศ วิกฤตครั้งนี้ทำให้ฟาร์มหลายแห่งขาดแคลนแรงงาน อาทิเช่น ที่เยอรมันและฝรั่งเศสขาดแรงงานไปกว่า 200,000 คน ที่สเปนก็ขาดแรงงานกว่า 150,000 คนเช่นกัน การขาดแคลนแรงงานทำให้ผลผลิตที่จะป้อนสู่ตลาดลดลง รวมไปถึงการควบคุมเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิตก็ลดลงเช่นกัน […]